ข้อสังเกตุ ถึงความเป็นจริงในกรณี อดีต สส.จตุพร กับ ปชช.ทั้งประเทศ
|
 |
สำหรับโชคชตาทางการเมือง ของนักการเมือง อย่างเช่น อดีต สส.จตุพร ที่ถูกตัดสิทธิ์ เพราะไม่ไปเลือกตั้งตามกฎหมายกำหนด (ขาดสมาชิกภาพ) หรือถึงกับ อดีตนายกและ สส. สมัคร เพราะถูกตีความกรณี ทำอารหารในโทรทัศน์ เป็นฐานะลูกจ้าง โดยคำพิพากษาของ ศาลรัฐธรรมนูญ อันมีสิทธิอำนาจ โดยชอบธรรมตาม รธน.๕๐ สิ่งเหล่านี้ถ้าจะมองผิวเผิน ก็อาจมองได้ว่า เป็นเพียง ความเสื่ยงและความเป็นไปได้ของบุคคลที่มีส่วนผูกพันธ์กับอำนาจหน้าที่การเมือง หรือเรียกว่า ชตากรรม ส่วนบุคคล นั่นเอง จากสภาพการณ์เช่นนี้ ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ ที่จะแบ่งขั้วความเห็นแตกต่าง ระหว่าง กลุ่มผู้สนับสนุน และกลุ่มผู้ปฎิเสธ บังเกิดขึ้น โดยทั้งสองกลุ่มเมื่อเทียบกับจำนวน ปชช. ทั้งประเทศก็จะสรุปได้ว่า เป็นเพียง ส่วนน้อยที่พยายามเอาชตากรรมส่วนบุคคล มาเป็นกรณีแข่งขันทางการเมือง เท่านั้น ครับ
สิ่งที่อยู่เบื้องหลัง ก็คือ บุคคล ที่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น สส. โดยได้มาจากการใช้สิทธิให้คะแนนเสียง กับผู้ลงสมัครเลือกตั้ง ที่ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรอง คุณสมบัติสมควร รวมทั้งสภาพการของการได้มาซึ่งคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันหมายถึงว่า บุคคลที่เป็น สส. คือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนเฉพาะกาล (๔ ปี) ของและจาก ประชาชน นั่นเอง ฉนั้นการตัดสิทธิ์การรับหน้าที่เป็นผู้แทน (สส.) ไม่ใช่แต่เฉพาะเป็นการริดรอนสิทธิอำนาจส่วนบุคคล แต่ด้วยจากการเป็นผู้แทน ก็ต้องถือได้ว่า เป็นการริดรอนสิทธิ์ของผู้ให้ สิทธิในการเป็นผู้แทนทั้งหมดไปโดยปริยาย พร้อมกันไปด้วย เหตุผลที่สมควรของการถอน สิทธิอำนาจให้เป็น ผู้แทน (สส.) ของผู้สมัครใจมอบหมายให้ (ปชช.) ก็คือ ผู้ได้สิทธิ์ (สส.) ได้มาด้วยพฤติการทุจริต หรือเป็นการหลอกลวงฉ้อกล เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงเลือกตั้ง อย่างไม่ชอบธรรม นั่นเองครับ
การควบคุม ให้ เลือกตั้งให้เป็นไป โดยสุจริตและชอบธรรม ก็คือการมี คณะกรรมการเลือกตั้ง ที่มีบุคคลิค ยุติธรรมและเป็นกลาง กับผู้ใช้สิทธิให้คะแนนเลือกตั้ง และผู้ขอใช้สิทธิรับเลือกตั้ง จากสภาพการใน สอง กรณี คือกรณี ผู้สมัครลงเลือกตั้ง ที่ให้ข้อมูลคุณสมบัติ ถึงที่เกิด กทม. ประเทศไทย และ นิวคาสเซ็ล ประเทศอังกฤษ รวมทั้ง การปกปิดการมีสองสัญชาติ ไม่ถือว่า เป็นการทุจริต กับการแสดงคุณสมบัติเพื่อให้ได้มาซึ่ง การเป็นผู้แทน (สส.) แต่ในอีก กรณี คือกรณี ที่ด้วยเหตุสุดวิสัยไม่สามารถมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ ถือว่าเป็นกรณี ขาดคุณสมบัติ การเข้ารับสมัครเป็นผู้แทน (สส.) และทำให้เป็นผลถึงการขาด สมาชิกภาพ หลังจากที่ได้ผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปแล้ว อันแสดงถึง การขาด บุคคลิค ยุติธรรม และความเป็นกลาง ของผู้ที่รับหน้าที่เป็นผู้ ควบคุมการเลือกตั้ง เท่านั้น ยังเป็นการปฎิบัติและละเว้น อำนาจหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย เป็นผลกับการรัดรอนสิทธิ์อย่างร้ายแรง ต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง อีกด้วย คำถามอยู่ที่ว่า ปชช. มีคณะกรรมการเลือกต้ังตามเจตนารมณ์ ของเขาหรืไม่ ครับ ?
ความชอบธรรม ของ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเพียงลักษณะ ของระบบอนุญาโตตุลาการ หรือเรียกว่า ศาลตีความ ถึงแม้ว่าจาก รธน.๕๐ จะให้สิทธิอำนาจในการพิพากษาตัดสิน ครอบคุมถึง การตัดสิทธิหรือให้อำนาจ ตามลักษณะ ศาลแพ่ง และศาลอาญา ก็ตาม แต่ตามหลัก ของกระบวนการยุติธรรมปรกติ (สากล) ขาดระบอบการ พิจารณา สามขั้นตอน คือชั้นต้น ชั้นอุทรณ์ และชั้นฎีกา เป็นเหตุให้ไม่สามารถ ให้ความยุติธรรมสมบูรณ์แบบ กับคู่คดี ในภาคปฎิบัติได้ เช่นเดียวกัน กับศาลฎีกาแผนกคดีการเมือง ที่จากลักษณะ เป็นระบบศาลพิจารณาความอาญา ที่ตัดตอนระบบขั้นตอน ให้เหลือเพียง ชั้นสูงสุด คือ ชั้นฎีกา ส่วนมาตราฐาน ของ กระบวนการยุติธรรมปรกติ (สากล) ได้แบ่งระดับขั้นตอนการพิจารณา ใน สาม ระดับขั้นตอน คือศาลชั้นต้น จะพิจารณาตามข้อมูลและพยายหลักฐาน (เนื้อคดี) ศาลฎีกา จะพิจารณาผสมรวม กับข้อมูลพยานหลักฐาน ที่มิได้อยู่ในกรอบพิจารณาในศาลขั้นต้น (สอบคดี) และในชั้นฎีกา จะพิจารณาการใช้ความหมาย และตีความ ตามกฎหมายที่นำมาใช้พิจารณาตัดสิน หรือลงอาญา ครับ
ปัญหา ที่เป็นผลสูญเสีย สิทธิอำนาจอันชอบธรรม ของ ปชช. จากสภาวะคดีต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น ไม่น่าจะเป็น ชตากรรม ส่วนบุคคล เท่านั้น แต่เป็นความผิดปรกติ ของระบบ ที่กระทบกระเทือนถึง ผู้อยู่ภายใต้ รธน. และนิติกฏหมาย ทั้งสิ้น ในเมื่อการให้สิทธิ์อำนาจในการเป็นผู้แทน ก็สามารถถูกริดรอนตัดสิทธิ์ ทำให้ความหมายของการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ก็ไม่เป็นประโยชน์ และการยึดใช้ กระบวนยุติธรรม ที่ขาดความเป็นปรกติ ก็ทำให้ความเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม เสื่อมสลายลงไป ฉนั้นถ้า ฝ่าย รบ. ที่ไม่ได้รับมอบอำนาจเพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล ก็สมควรที่จะต่องมีการปรับปรุงแก้ใข เพื่อผลประโยชน์กับ สังคมและ ปชช.ทั้งประเทศ ครับ
จากคุณ |
:
พลายทมิฬ
|
เขียนเมื่อ |
:
21 พ.ค. 55 00:57:50
A:217.225.225.209 X:
|
|
|
|