อธิบายตรรกะเรื่องพวกนี้ได้ยังไง โดยไม่ขัดแย้ง
|
 |
รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด ใหญ่สุด สำคัญสุด ใครล้มล้างหรือสนับสนุนให้ล้มล้างมีโทษประหารชีวิต
ทหารยึดอำนาจล้มล้างรัฐธรรมนูญ - ผลคือผิด 100% ตามเหตุที่อ้าง แต่ผลต่อมาคือ นิรโทษกรรมให้ตัวเองไม่มีโทษทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มีคน(นักวิชาการ สื่อมวลชนส่วนหนึ่งที่ออกทีวีประจำ)บอกว่าไม่เป็นไร ไม่ผิด เขาทำนิรโทษกรรมให้ตัวเองไปแล้ว เขาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่แล้วเอาตามของใหม่แล้วกัน ของเก่าผ่านไปแล้ว
ของใหม่ก็ตั้งกฎเหมือนของเดิมคือ ห้ามล้มล้าง ใครทำหรือสนับสนุนถือว่าผิด โทษถึงประหาร ถ้ามีเด็กหรือใครถามว่า ยึดอำนาจล้มล้างรัฐธรรมนูญมันผิดหรือไม่ผิดแน่ คุณจะตอบว่า... ? แล้วคนล้มล้างนิรโทษกรรมให้ตัวเอง มันผิดหรือไม่ผิด คุณจะตอบว่า... ?
หรือเรามีเงื่อนไขว่า ถ้าทหารล้มล้างรัฐธรรมนูญคือไม่ผิด นิรโทษกรรมทหารคือไม่ผิด แต่ ถ้านาย X ล้มล้างหรือทำการนิรโทษกรรมให้ตนเองคือผิด แล้วมันเขียนในรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ถ้าเขียนก็ถือตามนี้มีเหตุอธิบายได้ ถ้าไม่เขียนไว้จะอธิบายด้วยอะไร แล้วจะสรุปถูกผิดเรื่องนี้กันยังไง ?
-------------------
บางคนอธิบายด้วยหลักอื่น ๆ คือหลักรัฐศาสตร์ว่า ทหารเข้ามาไล่คนโกง ถือว่าทำถูก คำถาม - อะไรคือหลักประกัน 100% ว่าคนที่จะถูกไล่คือคนโกง ใครจะรับรองผลการตรวจสอบว่าจริงหรือผิดภายหลัง ? - ถ้าอ้างหลักจริยธรรม คุณธรรม แต่ไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายไม่ได้เขียน คำถามคือ ใครตัดสินเรื่องนามธรรมเช่น จริยธรรม คุณธรรม ที่กฎหมายไม่ได้ระบุ เช่น โอนหุ้นอย่างถูกกฎหมายให้คนใช้ อะไรใช้วัดว่ามันคือผิดจริยธรรม ผิดคุณธรรม แต่ถูกกฎหมาย คุณพิสูจน์เรื่องพวกนี้กันยังไงว่าถูกหรือผิด ? - จะแก้ข้อขัดแย้งการล้มล้างโดยทหารและนิรโทษกรรมให้ตนเองว่าถูกได้อย่างไร โดยอ้างเหตุว่าทหารเข้ามาไล่คนโกง แล้วถ้าคุณยอมรับกฎนี้ทำไมไม่เขียนระบุชัดเจนในรัฐธรรมนูญใหม่หรือก่อนหน้านี้ ? - ถ้านาย A ไปฆ่านาย B โดยนาย A อ้างว่านาย B เป็นคนเลวต้องฆ่าทิ้งอย่างเดียวไม่มีทางเลือกอื่นใดแล้ว เราสามารถให้นาย A ไม่ต้องรับผิดหรือนิรโทษกรรมนาย A ได้หรือไม่ จะให้สิ่งที่นาย A ทำถือว่าถูกด้วยหลักอะไร เพราะอะไร ?
ถ้าจะอ้างรัฐศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา ก็ควรประกาศยอมรับหรือแก้กฎหมายหรือแก้รัฐธรรมนูญทำให้รัฐศาสตร์เป็นนิติศาสตร์ไปเสีย เพือจะได้ไม่มีการอ้างนามธรรมบางอย่างที่เลื่อนลอยไร้ตัวตน พิสูจน์หรือจับต้องไม่ได้ เช่น ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม มากล่าวหาโจมตีกัน
-------------------
เรามักให้ความหมายกันว่า ประชาธิปไตยคือให้คนมีส่วนร่วมแล้วให้เสียงส่วนใหญ่ตัดสิน เผด็จการคือเสียงส่วนน้อยบังคับหรือเป็นฝ่ายตัดสินใจแทนเสียงส่วนใหญ่ - การเล่นพวกพ้อง กับ การโหวตหาเสียงส่วนใหญ่ ต่างกันยังไง ? - พวกมากลากไป กับ เสียงส่วนใหญ่โหวตชนะ ต่างกันยังไง ? - ถ้าคุณคิดว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกว่าถูกหรือผิด ทำไมไม่เขียนสิ่งที่ถือว่าถูกหรือผิดตายตัวลงไปในกฎหมายแต่แรก และห้ามประท้วงในสิ่งที่ต้องถือการโหวตเสียงส่วนใหญ่ ? ตัวอย่างสมมติ กินเหล้าผิดศีล 5 หรือผิดศีลธรรม นักการเมืองต้องหรือควรมีศีลธรรม แต่ไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญห้ามนักการเมืองกินเหล้า ถ้านักการเมืองกลุ่มหนึ่งรวมกันโหวตด้วยเสียงส่วนใหญ่ว่าให้กินเหล้าในห้องพักหรือโรงอาหารรัฐสภาได้ คำถามคือ เสียงส่วนน้อยจะประท้วงว่าเสียงส่วนใหญ่ผิดหรือเผด็จการรัฐสภาได้อย่างไร เพราะมีการยอมรับแต่แรกว่านักการเมืองกินเหล้าได้ ? หรือจะประท้วงต่อต้านเสียงโหวตส่วนใหญ่ในเรื่องที่ก่ำกึ่ง สรุปไม่ได้ชัดเจน เพื่อให้มีการโหวตหาข้อสรุปจากเสียงส่วนใหญ่ได้อย่างไร ในเมื่อเราละไว้ให้เสียงโหวตตัดสิน ? - เผด็จการสภาเสียงข้างมากคืออะไร ? - ทหารยึดอำนาจแล้วด้วยกำลังโดยมีเสียงส่วนน้อยสนับสนุนแล้วนิรโทษกรรมให้ตนเอง กับ ฝ่ายการเมืองที่เสียงส่วนใหญ่เลือกตั้งเข้ามาแล้วจะให้ให้มีนิรโทษกรรม ต่างกันอย่างไร อะไรถูก อะไรผิด ใครทำเพื่อตนเอง ใครหนีความผิด ?
-------------------
ใครอธิบายได้เอารางวัลโนเบลไปเลย นักตรรกศาสตร์ทั้งโลกก็ยังไม่น่าจะหาคำตอบได้เลย แล้วพวกอาจารย์มหาลัยทุกวันนี้ด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์สอนนักศึกษาเรื่องพวกนี้กันยังไงทุกวันนี้ ?
จากคุณ |
:
jobtodo
|
เขียนเมื่อ |
:
3 มิ.ย. 55 04:43:05
A:111.84.137.173 X:
|
|
|
|