***สภาผู้แทน ฯ สามารถปฏิเสธคำสั่งศาล รธน.กรณีระงับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่***
|
 |
นั่งฟังหลาย ๆ ฝ่าย โดยเฉพาะจากฝั่งเสื้อแดง รวมถึงนักวิชาการด้านกฎหมายหลาย ๆ ท่าน ที่เขาพูด ๆ มา ผมก็เกิดคำถามตามมา ว่า สภา ฯ สามารถปฏิเสธคำสั่งศาล รธน.ที่ให้ระงับการพิจารณาไว้ก่อนได้หรือไม่
ประเด็นที่จะนำมาเสนอก็คือ
1. ศาล ฯ มีอำนาจในการรับเรื่องหรือไม่
ตอบ...ผมไปดูในมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ฯ ซึ่งอยู่ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ที่ผมนั่งอ่าน ๆ หลาย ๆ มาตราในหมวดนี้ เจตนารมย์ของผู้ร่าง (ก็คือกลุ่มคนที่ คมช.เลือกมานี่แหละ แต่ประเด็นนี้ผมจะไม่เอามาพูดในนี้) ก็คือ ต้องการให้คนไทย ร่วมรักษารัฐธรรมนูญ ที่อาจจะถูก "ฉีก" จากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใด ๆ ก็ตาม โดยใช้ "ทุกวิถีทาง" (ดูตรงนี้ให้ดี) เพื่อให้อำนาจมา
ใน ม.68 ศาล ฯ "มีอำนาจ" ในการรับเรื่อง...แต่.....
2). ศาล ฯ พิจารณาจากอะไร ที่กลุ่มคนนั้น ๆ (ในที่นี้คือ สภา ฯ ) จะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย..??
วิเคราะห์: เพราะ...ระบอบประชาธิปไตย คืออำนาจของปวงชน ซึ่งประชาชนได้มอบผ่านในการเลือกตั้ง สภา ฯ ชุดนี้มาแล้ว
ใน ม.68 วรรค 1 ตอนท้ายบอกว่า.."เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ"
ผมก็เกิดคำถามเหมือนกันกับจตุพรพูดเมื่อวานที่เมืองทองว่า...ทุกวันนี้ฝ่ายที่เสนอแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ฝ่ายที่มีอำนาจอยู่หรือ..
ในข้อนี้ มีคำถามอีกมาก ที่จะถาม แต่จะยกมีอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ศาล ฯ ท่านทราบได้อย่างไรว่า การแก้ไข รธน. ที่จะเกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง?
เพราะ...สสร. ยังไม่ได้ตั้งเลย..หน้าตาคนที่จะมาออกแก้หรือร่าง รธน. เป็นใครยังไม่ทราบ แล้วท่านทราบก่อนได้ยังไงว่าใครจะมาร่าง?
3). จากข้อหนึ่งคำตอบที่ว่า ศาล ฯ มีอำนาจในการรับพิจารณา...แต่...
แต่..ต้องผ่านการพิจารณาของอัยการสูงสุดก่อนเท่านั้น ว่า เรื่อง (ที่จะล้มรัฐธรรมนูญ) มันจริงเท็จแค่ไหนก่อนมิใช่หรือ ศาล ฯ ถึงจะไปพิจารณาได้
**เพิ่มเติม ข้อนี้
มีคนบอกว่า มีผู้ไปร้องอัยการสูงสุดแล้ว..แต่อัยการสูงสุดเงียบ ก็เลยเอาไปร้องกับศาล ฯ โดยตรง
จากข้อนี้..ในกระบวนการยุติธรรมปรกติ....พนักงานสอบสวนไปจับกุมผู้ต้องหามา..แล้วก็ทำสำนวนส่งอัยการก่อน แล้วอัยการมีมติให้ฟ้อง ศาลยุติธรรมถึงจะมีคำสั่งตัดสินได้
แต่หากพิจารณากระบวนการในการรับเรื่องมา น่าจะผิดขั้นตอนของการรับ...ก็ในเมื่ออัยการ ฯ ยังไม่สั่งฟ้อง..ศาล ฯ จะรับเรื่องมาได้ยังไง? อันนี้ไม่เข้าใจ
4).สรุป ในความเห็นก็คือ มาตรา 68 กระบวนการพิจารณาจึงไม่น่าจะเข้าข่ายตั้งแต่วรรค 1 เป็นต้นมา..และในวรรค 2 เองก็ไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากอัยการสูงสุด
ในท่อนสุดท้ายของวรรค 2 จึงน่าจะสั่งให้ผู้พิจารณาร่าง (คือสภา ฯ ) ระงับการกระทำไม่ได้
ถามว่าทำไมไม่ได้
เพราะ วาระที่สภา ฯ กำลังจะพิจารณา เป็นวาระ 3
(ความรู้: ในการพิจารณากฎหมาย ขั้นตอนคือ
ยกร่าง ->เสนอสภา ฯ ->สภารับ ->พิจารณาวาระ 1 รับหลักการ (ถ้าสภาไม่รับก็ตกไป แต่นี่สภารับไปแล้ว) -> พิจารณาวาระ 2 แปรญัตติ (ขั้นนี้ สภา ฯ เขาก็พิจารณาเป็นรายมาตราอยู่แล้ว และก็ไม่เห็นมีใครท้วงเลยว่าจะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ) -> สภาพิจารณาวาระ 3 ลงมติ -> ลงมติเสร็จ ยังต้องไปผ่านวุฒิสภาอีกสามวาระเหมือนกัน ถ้าผ่าน ค่อยมีการเลือก สสร.)
สองวาระผ่านไป...เท่าที่ศึกษามาดู เขาแก้ไขในส่วนของ มาตรา 291 เพื่อที่จะเปิดช่องให้การตั้ง สสร. ซึ่งประเด็นพวกนี้ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเขาผ่านมาแล้ว
***เพิ่มเติมในวรรคข้างบน
ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้สภา ฯ "ต้องพิจารณาวาระ 3" คือ "ลงมติ" ว่าจะรับหรือไม่รับ "ภายใน 15 วันนับจากวันลงมติในวาระ 2 ผ่าน"
หมายถึงว่า สภา ฯ เขาก็ทำตามกฎหมายระบุไว้ทุกอย่าง การจะมา "ระงับ" ให้เขา "พัก" การกระทำไว้ก่อน อาจจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญเสียเอง
********
ทีนี้สุดท้าย ต่อคำถามตามหัวข้อกระทู้นี้ ว่า สภา ฯ มีสิทธิในการปฏิเสธคำสั่งศาล รธน. หรือไม่
ผมคิดว่าทุกท่านคงจะมีคำตอบเองในใจอยู่แล้ว -----------------------------------------------------------
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมฝากไว้อยู่สองเรื่องให้สังคมไทยได้พิจารณากันก็คือ
1. สิ่งที่พันธมิตร ฯ กดดันให้สภา ฯ ไม่ให้ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะหากย้อนอดีตไปไม่นาน, ศาลแพ่งเคยสั่งให้พันธมิตร ฯ ออกจากทำเนียบรัฐบาล มีคำสั่งศาลชัดเจนไปติดหน้าประตู แต่พันธมิตร ฯ ไม่ทำตาม โดยเรียกการกระทำว่า "อริยะขัดขืน"นั้น
สภา ฯ มีสิทธิ์ทำ "อริยะขัดขืน" ตามอย่างมาตรฐานพันธมิตร ฯ ได้หรือไม่
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯ อยู่ที่ไหนครับ
ส.ส.ปาหนังสือใส่ประธาน ฯ, ส.ส.บีบคอเพื่อนสมาชิก ฯ ฝากให้ท่านผู้ตรวจการ ฯ เปิด Youtube ดูหน่อยเป็นไร ----------------------------------------------
แก้ไขเมื่อ 03 มิ.ย. 55 19:16:16
แก้ไขเมื่อ 03 มิ.ย. 55 18:15:34
จากคุณ |
:
ขนมต้ม
|
เขียนเมื่อ |
:
3 มิ.ย. 55 17:40:29
A:180.183.248.26 X:
|
|
|
|