ก่อนอื่น มาฟังเหตุผลของหนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเรื่องรับคำร้องให้วินิจฉัยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ....
นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณที่มีนักวิชาการออกมาแสดงความเห็นว่า การทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกินขอบเขต ใช้อำนาจก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติ และการออกคำสั่งดังกล่าวนั้น เข้าลักษณะที่อาจถูกถอดถอนได้ว่า
" เมื่อมีคนร้องขึ้นมาว่า การแก้รัฐธรรมนูญนั้นมันผิดหลักการ เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ ซึ่งเราตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ต้องมาพิจารณาว่า จริงหรือไม่
ไม่ได้เป็นการไปขั้ดขวางไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการอยากทราบความชัดเจนในการดำเนินการ ว่าผิดหลักการตามที่ผู้ร้องร้องมาหรือไม่ หากไม่มีคนร้อง ศาลก็ทำไม่ได้
ดังนั้นการดำเนินการออกคำสั่งไปนั้น เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งก็ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญไว้ชัดเจน
ส่วนใครเห็นว่าเราทำเกินอำนาจหน้าที่ อยากจะถอดถอนก็ไม่ได้ว่าอะไร และรัฐธรรมนูญก็ให้สิทธิ์ไว้ก็ดำเนินการไปตามขั้นตอนไป อีกทั้งที่เห็นว่าเป็นการก้าวก่าย ก็เป็นเพียงความเห็นของนักวิชาการ หรือใครก็มีความเห็นได้ ไม่ได้ว่าอะไร และขอยืนยันว่า เราดำเนินการตามอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้"
เอาละ....ทีนี้ขอทุกท่านตั้งสติให้จงดี มาดูสิว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ว่าให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญไว้จริงหรือไม่ และโดยวิธีใด
มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำดังกล่าว
(หมายเหตุ คัดมาเฉพาะวรรค 1 กับวรรค 2 ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจรับวินิจฉัย)
1) ถามว่า....ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่วินิจฉัยเรื่องนี้ไหม....
คำตอบคือ....มีจริงๆ เห็นกันจะจะ....ให้อำนาจไว้ชัดเจน !
2) แต่ถามว่า สามารถรับวินิจฉัยจากผู้ยื่นซึ่งเป็นรนายหมูนายแมวที่ไหนก็ได้เลยใช่ไหม
คำตอบคือ....ไม่ได้ เพราะต้องยื่นให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็ขขริงตามวรรคสองของรัฐธรรมนูญมาตรา68 ก่อน จึงมีคำว่า และ เป็นคำเชื่อมสาระสำคัญของเจตนารมณ์
เจตนารมณ์ที่ว่าคือ ต้องการให้อัยการสืบข้อเท็จจริงก่อน
หากไม่ประสงค์ให้มีการสืบข้อเท็จจริงผ่านอัยการดังกล่าวแล้ว คงไม่มีคนบ้าสติแตกที่ไหนเขียนระบุให้มีการเสนอเรื่องให้อัยการฯ และอัยการยื่นคำร้องต่อศาลฯอีกทอดหนึ่ง
ทีนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่บอกว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจพวกท่านให้รับวินิฉัยเรื่องนี้ได้นั้น ตรงไหนในรัฐธรรมนูญที่ระบุว่ารับเรื่องจากนายหมูนายแมวได้โดยตรงทันที
ท่านแถหรือเปล่าขอรับ !
แถเพื่อต้องการเล่นงานรัฐบาล ตามความที่ปรากฏในวรรค 3 และ 4
หากเจตนาซ่อนเร้นเช่นนั้นจริงตามเป้าหมาย คมช เดิมที่แต่งตั้งพวกท่าน ก็ขอเรียนว่าที่ผ่านๆมายังไม่เข็ดอีกหรือ....เพราะ...
ยุบพรรคไปก็เท่านั้น ไม่อาจยุบจิตวิญญาญของคนที่รักประชาธิปไตยได้เลย
ยุบวันนี้ คนที่ถูกตัดสิทธิ์ ก็คนแถวสามแถวสี่ คนแถวหนึ่ง และนายกรัฐมนตรีก็ยังคงมีอยู่ตามเดิม
สิ่งที่ได้คือความสะใจของคน ปชป. สะใจของอำมาตย์
แต่ประเทศชาติเละตุ้มเป๊ะแน่ เพราะคนที่สนับสนุนเพื่อไทยคงทำใจยากที่เห็นการแถของพวกท่านนำมาสู่การยุ่งเหยิงของบ้านเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า
ถามจริงเหอะ พวกท่านแกล้งโง่สอบตกภาษาไทยหรือเปล่าที่รับวินิจฉัยเรื่องนี้แบบรับตรงจากผู้ร้อง แทนที่จะรับจากอัยการ ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
แก้ไขเมื่อ 04 มิ.ย. 55 13:35:08