ปัญหาแรกที่ต้องพิจารณา คือ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจฝ่ายตุลาการหรือไม่?
ตามรัฐธรรมนูญ2550 หมวด ๑๐ เรื่องศาล ศาลรัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ในส่วนที่ ๒ ในขณะที่ศาลยุติธรรม บัญญัติไว้ในส่วนที่ ๓
ในทางรัฐศาสตร์ อำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ องค์กรหลักของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภา โดยมีประมุข คือ ประธานสภา องค์กรหลักของฝ่ายบริหารคือ คณะรัฐมนตรี โดยมีประมุข คือ นายกรัฐมนตรี ในขณะที่องค์กรหลักของฝ่ายตุลาการ คือ ศาลยุติธรรม โดยมีประมุข คือ ประธานศาลฎีกา
ศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีสภาพเป็นเพียงศาลพิเศษ เช่นเดียวกับศาลภาษีอากร ศาลครอบครัว ศาลเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ศาลทหาร ซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของศาลยุติธรรม เนื่องจากมีบัญญัติอำนาจหน้าที่ไว้เฉพาะในรัฐธรรมนูญ
จะเป็นเพราะความบิดเบี้ยวในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือเพราะเหตุใดก็ตาม แต่กลายเป็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นองค์กรหลักทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ที่บัญญัติว่า
สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง
ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่อำนาจฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นอำนาจหลัก แต่เป็นอำนาจพิเศษในรัฐธรรมนูญ เพื่อตีความรัฐธรรมนูญเท่านั้น เดิมมีฐานะเป็นเพียงตุลาการรัฐธรรมนูญ ต่อมามีการยกฐานะเป็นศาล เพื่อจะได้อ้างอิงว่าเป็นอำนาจฝ่ายตุลาการ
กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไปยังสภาให้ระงับการพิจารณารับหลักการในร่างพรบ.แก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎรไว้ก่อน จึงไม่ใช่เป็นการขัดแย้งกันระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ
หากแต่เป็นอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญ
อำนาจนิติบัญญัติจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม เนื่องจากไม่ใช่เรื่อง สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 27 ดังกล่าว
หากศาลรัฐธรรมนูญยืนยันความเห็นและคำสั่งของตน ว่าเป็นกรณี สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีสิทธิตัดสิน เพราะตนไม่ใช่องค์กรหลักหรืออำนาจหลักตามรัฐธรรมนูญ ทั้งยังเป็นคู่กรณีไม่อาจตัดสินเองได้ จึงต้องนำคดีไปสู่ศาลยุติธรรม ให้อำนาจหลักตามรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตัดสินซึ่งสามารถฟ้องได้ทั้งทางแพ่งและอาญา
แต่หากจะถือว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจฝ่ายตุลาการ สภาก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเช่นกัน เพราะหากมีการขัดแย้งกันระหว่างอำนาจหลักตามรัฐธรรมนูญ ก็ต้องนำมาตรา ๓ ที่บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย มาใช้บังคับ นั่นคือ กลับไปให้ประชาชนตัดสิน ด้วยการลงประชามติ
จากคุณ |
:
เติ้ง1234
|
เขียนเมื่อ |
:
5 มิ.ย. 55 12:07:28
A:124.121.245.214 X:
|
|
|
|