Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ฟัง อ. สุรพล นิติไกรพจน์ แล้ว ผมเห็นด้วยแล้วหละ ติดต่อทีมงาน

อาจารย์ อธิบายว่า การรับเรื่องร้องเรียนการแก้ไข รธน ตาม ม 68 ของศาล เป็นดุลพินิจของศาล เพราะการตีความกฏหมายต้องตีความเพื่อให้ใช้ปฏิบัติโดยผู้มีอำนาจใช้กฏหมายในขณะนั้น คงไม่สามารถไปดูตามอักษรและเจตนารมณ์ของผู้เขียนกฏหมายได้เสมอไป เพราะถ้ากฏหมายนั้นเขียนมาแล้วเป็นร้อยปี การตีความเพื่อใช้กฏหมายก็ต้องตีความเพื่อให้ใช้ได้ในปัจจุบัน (ผมเองคิดว่าภายใต้เงื่อนไขว่ามันต้องไม่ขัดหลักเบื้องต้นของกฏหมาย)

กรณีการรับเรื่องร้องเรียนของศาลโดยตรงจาก "บุคคลที่ทราบ" โดยไม่ผ่านอัยการก็เป็นดุลยพินิจของศาลที่ว่าเรื่องที่ร้องสำคัญมาก ศาลใช้ดุลยพินิจรับเรื่องไว้ไต่สวนก่อน ย่อมทำได้ไม่ขัดกฏหมายแต่อย่างใด

ผมเปรียบเทียบว่าในกีฬาวอลเลยบอล กฏกติกากำหนดให้ผู้เล่นที่เป็นหัวหน้าทีมเท่านั้นที่สามารถเข้าไปโต้แย้งการตัดสินกับกรรมการได้ สมมุติ กรรมการตัดสินว่าบอลโดนผู้เล่นลูกทีมคนนึงออก จึงให้คะแนนฝ่ายตรงข้าม แต่ทีมไม่เห็นด้วยต้องให้หัวหน้าทีมเท่านั้นที่มีสิทธิไปโต้แย้งพูดคุยกับกรรมการ แต่ทั้งนี้ผมเชื่อว่าคงไม่ได้หมายความว่ากรรมการไม่มีสิทธิจะเรียกผู้เล่นคนอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่หัวหน้าทีม) มาถามความเห็นหรือชี้แจง

ดังนั้นกรณีดุจเดียวกันศาลมีอำนาจที่จะรับคำร้องโดยตรง เพราะท้ายที่สุดอำนาจในการวินิจฉัยก็คือศาลนั่นเอง

แก้ไขเมื่อ 08 มิ.ย. 55 22:59:29

จากคุณ : burapong29
เขียนเมื่อ : 8 มิ.ย. 55 22:21:40 A:1.2.173.254 X:




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com