กรณีนายเรืองไกรยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงให้ยุบพรรค ปชป. ตามมาตรา 68 และทีมกฎหมาย ปชป.ยืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องได้ ตามข่าวดังนี้
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่รัฐสภา นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย แถลงว่า กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ยุบพรรค ปชป.ตามมาตรา 68 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญสองมาตรฐานหากศาลยกคำร้อง แต่โชคดีที่ศาลได้รับคำร้องไว้ ตนยืนยันว่าศาลมีอำนาจรับคำร้องได้ จากกรณีมีผู้ทราบเหตุมีการกระทำล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นสิทธิพิทักษ์และป้องกันรัฐธรรมนูญ
นายวิรัตน์กล่าวว่า เหตุที่มีการร้องเนื่องจากเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 เป็นวันที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 เห็นชอบให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการให้ความเห็นชอบดังกล่าว มี ส.ส.ที่เคยสังกัดพรรคพลังประชาชน (พปช.) พรรคชาติไทย (ชท.) และพรรคมัชฌิมาธิปไตย (มฌ.) ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ทำให้ ส.ส.ใน 3 พรรคที่ถูกยุบพรรคยังไม่มีพรรคการเมืองสังกัด แต่ ส.ส.ทั้ง 46 คนที่ยังไม่มีพรรคสังกัดยังคงมีสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.อยู่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (8)
...........
ทีนี้ มันก็ต้องมีเรื่องตลกสิเจ้าคะ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๖ บัญญัติไว้ว่า
"สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ
(๘) ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น"
ก็แปลว่า บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 106(8) ที่บอกว่า "ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง"
หากยึดตามการตีความที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 68 ที่ว่า "ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว" ว่า คือการยื่นได้สองทาง คือยื่นต่ออัยการสูงสุดก็ได้ หรือยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงก็ได้ นั้น
ก็แปลว่า ส.ส.ที่โดนยุบพรรคนั้น ได้สิ้นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ไปแล้วโดยสมบูรณ์ ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 106(8)
เพราะมาตรา 106(8) ย่อมตีความได้สองทางเช่นเดียวกันมาตรา 68 คือ สิ้นสมาชิกภาพเพราะพรรคโดนยุบ หรือไม่สามารถหาพรรคใหม่สังกัดได้ภายในหกสิบวัน
จริงไหมคะท่านตลกศาลรัฐธรรมนูญ
จะแถไปมุมไหนอีกคะ ?
อลเวงเพราะการตีความ การทำผิดรัฐธรรมนูญ

แก้ไขเมื่อ 14 มิ.ย. 55 22:07:01