 |
ไหนๆแล้ว ลองมาฟังความเห็นต่างของ..ผู้ทรงคุณวุฒิดูบ้างว่าเขาเห็นต่างกับ ตลก.ศาลรธนชุดนี้อย่างไร..กับ ม.68 ที่เป็นข่าวอยู่
เป็นบทความของ อ.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตกรรมการ ป.ป.ช. อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การตีความมาตรา 68 วรรคสอง ว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วย จะตรงกับการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ไม่สอดคล้องกับการตีความตามหลักนิติศาสตร์, ภาษาศาสตร์, เจตนารมณ์ของ ส.ส.ร.ผู้ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 68 ตลอดจนแนวบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วางไว้แต่เดิม ทั้งบทบัญญัติมาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญสั่งการตามมาตรา 68 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ เฉพาะกับบุคคล และพรรคการเมืองเท่านั้น
การสั่งตัวบุคคลคือประธานรัฐสภาก็ดี หรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก็ดี แต่ผลแห่งการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญย่อมเกิดแก่รัฐสภา ซึ่งมิใช่บุคคลหรือพรรคการเมือง แต่รัฐสภาเป็นสถาบันซึ่งใช้อำนาจนิติบัญญัติอันเป็นอำนาจสูงสุด หนึ่งในสามของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยน่าจะกระทำมิได้
อนึ่ง ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 1 ซึ่งบัญญัติไว้ตามมาตรา 253 ถึงมาตรา 265 ศาลต้องใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.ต้องเป็นที่พอใจของศาลว่าคำฟ้องมีมูล และมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ เหตุดังกล่าวกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255
2.มาตรา 254 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า "โจทก์จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง" หมายความว่า ศาลจะสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวเองไม่ได้ต้องมีคำฟ้องและมีคำร้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
3.การมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวศาลจะมีคำสั่งด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งและต้องไต่สวนก่อนออกคำสั่งเสมอ (ส่วนใหญ่ศาลจะยกคำร้อง, โดยเฉพาะถ้าขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน) ที่สำคัญต้องให้ได้ความ ตามข้อ 1
จากคุณ |
:
แมวน้ำสีคราม
|
เขียนเมื่อ |
:
22 มิ.ย. 55 20:52:59
A:180.180.94.163 X:
|
|
|
|
 |