พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๘ การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวน
กรรมการการเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามคนจึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งคนใด
ไม่อาจมาประชุมได้ ให้จดแจ้งเหตุนั้นไว้ในรายงานการประชุม
การลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก เว้นแต่การลงมติวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่
หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง ให้ใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการ
การเลือกตั้งที่มาประชุม โดยประธานในที่ประชุมและกรรมการการเลือกตั้งที่มาประชุมต้องลงคะแนนเสียงเพื่อมีมติและ
ให้กรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ในกรณีที่ใช้คะแนนเสียงข้างมากถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการการเลือกตั้งไม่มาประชุม
ให้กรรมการการเลือกตั้งที่มาประชุมเลือกกรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ทั้งนี้
หลักเกณฑ์และวิธีการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
1.ว่าด้วยการประชุมของกกต.ต้องมาประชุมไม่น้อยกว่า3ใน4ของจำนวนกรรมการและไม่น้อยกว่า3คนคณะกรรมการมี5คน
มาประชุม4คน ไม่น้อยกว่า3คนถือว่าเป็นองค์ประชุมได้
2.การลงมติให้เลือกตั้งใหม่ต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า4ใน5ของจำนวนกกต.ที่มาประชุม<---- เขาไม่ได้หมายความว่า
เสียงต้องเป็น4ใน5คน แต่เป็น4ใน5ขององค์ประชุม องค์ประชุมครั้งนี้4คน คะแนนเสียง 4ใน5ขององค์ประชุม4คน
ก็ต้องเป็น3เสียงใน4เสียงของที่ประชุม
3.กกต.คนหนึ่งมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน เท่ากับว่าการลงมติครั้งนี้จะต้องมี4เสียง
4.การประชุมครั้งนี้องค์ประชุม4คน ต้องได้คะแนน 3ต่อ1ถึงจะเป็นเสียงข้างมากและถือเป็นคะแนนเสียง4ใน5ขององค์ประชุม
แต่องค์ประชุม4คนคะแนนเสียงย่อมมีโอกาสออกได้2ทางคือ 3ต่อ1และ2ต่อ2
5.ในกรณีใช้เสียงข้างมากถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงขี้ขาด
ระบุไว้ชัดเจนประธานมีสิทธิตามกฎหมายสามารถออกเสียงเพิ่มเป็นเสียงชี้ขาดได้
6.การประชุมครั้งนี้4คน คะแนนเสียงออกมา2ต่อ2ประธานใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนดออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่ง
เป็นเสียงชี้ขาดเท่ากับได้เสียงข้างมากชี้ขาดการลงมติการประชุมครั้งนี้ ถูกต้องตามข้อกำหนดกฎหมายทุกประการ ไม่ได้ผิด ไม่ได้ละเมิดตรงไหน