Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
******************* รอยกรรม ******************* ติดต่อทีมงาน

ไม่มีใครมีอำนาจอยู่ค้ำฟ้า
และรอยเกวียนนั้นตามติดล้อเกวียนไปเสมอ

1
ปลดและจำคุก กกต. คณะที่มาจากการเลือกตั้ง
เพราะให้หันหลังออกหน้าห้องลงคะแนนเลือกตั้ง
(เพื่อป้องกันการถ่ายรูปบัตรที่ลงคะแนนแล้ว หรือเอาบัตรที่กาไว้มาเวียนเทียน เพื่อไปรับเงินซื้อเสียง)
ถือว่าไม่เป็นการปิดลับ

2
สั่งยุบพรรคไทยรักไทยในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550
จากคำให้การของพยานว่า
เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า หากมีพรรคเดียวลงสมัคร
ต้องได้คะแนนเลือกตั้งมากกว่ายี่สิบเปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิ
จึงมีการจ้างพรรคเล็กไม่ให้ร่วมการกระทำกับพรรคการเมืองหนึ่ง
ที่แพ้เลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วอ้างว่าบอยคอตไม่ยอมลงเลือกตั้ง
ในวันเลือกตั้งที่ 2 เมษายน 2549 และในวันเลือกตั้งซ่อมที่ 23 เมษายน 2549
โดยเลือกตั้งซ่อมสำหรับเขตที่มีผู้สมัครพรรคเดียวแล้วได้คะแนนไม่ถึง 20 % ของผู้มาใช้สิทธิ
โดยพรรคการเมืองหนึ่งชักชวนพรรคอื่น ๆ ที่ยากจะชนะเลือกตั้งได้เช่นกัน ให้ร่วมมือด้วย
อ้างจะให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตาม มาตรา 7 โดยขอพระราชทาน
ซึ่งในหลวงทรงปฏิเสธ มีพระกระแสรับสั่งให้ลงเลือกตั้ง

3
เพิ่มโทษให้มากขึ้นจากเดิมที่ไม่มีโทษตามกฎหมาย
เพิ่มโทษให้ถอนสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งหมด 111 คน ห้ามลงเลือกตั้ง 5 ปี
ตามกฎหมายของคณะรัฐประหาร ที่ย้อนหลังให้เหตุการณ์ในอดีต มีโทษเพิ่มมากขึ้นจากเดิม
โดยที่ข้อห้ามอย่างมหันต์ของการบัญญัติกฏหมายของสากลโลก คือห้ามออกกฏหมายย้อนหลัง
ให้เหตุการณ์ที่ไม่เคยเป็นความผิดในอดีต หรือไม่เคยมีกฏหมายเอาผิดในอดีต

4
ในเวลาต่อมาภายหลังกว่าสองปี พยานที่กล่าวหาในคดียุบพรรค
สารภาพว่ารับจ้างมาเป็นพยานเท็จกล่าวหาพรรคไทยรักไทย

ตุลาการรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร ปฏิเสธการรื้อฟื้นคดี
ด้วยเหตุผลว่าไม่อาจย้อนผลกลับคืน

5
ตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งปลดนายกรัฐมนตรีสมัคร พรรคพลังประชาชน จากคดีสอนทำกับข้าวทางรายการทีวี รับเงินค่าจ้าง ถือว่าเป็นลูกจ้าง

ไม่ปลดตุลาการรัฐธรรมนูญ จากคดีสอนกฎหมายทางรายการวิทยุและห้องเรียน แม้รับเงินค่าจ้าง ไม่ถือว่าเป็นลูกจ้าง ถือว่าเป็นการให้ความรู้

6
ตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชนเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551
ด้วยข้อหามีพยานให้การว่าได้รับเงินซื้อเสียง

7
ถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนรวม 109 คน ห้ามลงเลือกตั้ง 5 ปี

8
ตุลาการรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร สั่งปลดนายกรัฐมนตรีสมชาย จากคดียุบพรรคพลังประชาชน

9
โทษฉกรรจ์ของทักษิณ จำคุกสองปีไม่รอลงอาญา

กระบวนการพิพากษาที่จัดตั้งขึ้นจากคณะรัฐประหาร
สั่งลงโทษทักษิณอย่างหนัก ถือเป็นความผิดร้ายแรง จำคุกสองปี ไม่รอลงอาญา
ในวันที่ 21 ตุลาคม 2550
จากการเซ็นชื่อในฐานะสามี ยินยอมให้ภรรยาจ่ายเงินซื้อที่ดิน
ซึ่งเป็นหนี้เสียจากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540
ที่ประกาศขายอย่างเปิดเผยโดยกองทุนฟื้นฟู
โดยไม่มีใครสนใจซื้ออยู่เป็นเวลานาน เนื่องจากห้ามสร้างอาคารสูง
ที่ซึ่งกฤษฎีกาตอบข้อซักถามก่อนซื้อว่าไม่ผิดกฏหมาย
กองทุนฟื้นฟูแจ้งต่อสาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ ว่า กองทุนฟื้นฟูได้ประโยชน์ ไม่มีความเสียหายใด
จน คตส. จากคณะรัฐประหารต้องดำเนินการให้กองทุนฟื้นฟูแจ้งเอาโทษทักษิณ
ซึ่งกองทุนฟื้นฟูก็ดำเนินการโดยระบุว่าเป็นการแจ้งตามความประสงค์ของ คตส.

มีการพยายามชวนเชื่อว่า ที่ดินควรมีราคาหลายพันล้านบาท ไม่ใช่ 772 ล้านบาท
โดยตั้งราคาประเมินขึ้นเอง และรวมเอาพื้นที่คลองและถนนสาธารณะเข้ามารวมไว้ด้วย
กองทุนฟื้นฟูซื้อมา 107 ล้านบาท ประกาศขายหลายครั้ง ไม่มีใครซื้อ
จนกระทั่งคุณหญิงพจมานสนใจ จึงมีผู้สนใจตาม
โดยได้สอบถามหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและกฤษฎีกา ได้รับการยืนยันว่าสามารถเข้าประมูลได้
ซึ่งคุณหญิงพจมานประมูลไปในราคาสูงกว่าทุกรายคือ 772 ล้านบาท
กองทุนฟื้นฟูฯ ได้กำไร 665 ล้านบาท
ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติ ไม่เกิดความเสียหายใดต่อประเทศ เปิดเผย โปร่งใส ตรงไปตรงมา
แต่จำคุกสามีผู้ซื้อ 2 ปี ฐานเป็นนายกรัฐมนตรีมีส่วนได้เสียในอำนาจที่กำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ
โดยที่กองทุนฟื้นฟูฯ อยู่ในอำนาจกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อยู่ในอำนาจกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ของนายกรัฐมนตรี


โทษจำคุกสองปี ไม่รอลงอาญา
เปรียบเทียบกับคดีต่างๆ ของผู้แอบอ้างเสื้อเหลืองที่รอลงอาญานับครั้งไม่ถ้วน
และคดีฮุบที่ดินส่วนรวม ที่ดินป่าสงวน ต่างๆ ของประเทศ ครั้งต่างๆ
เอาไปฟรีๆ ที่ไม่เคยมีใครต้องโทษ
เป็นอย่างไร ?

เกินกว่าความยุติธรรมไปหรือไม่ ?

10
“ยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท”

จากคดีต่างๆ โดยใช้เหตุว่าผู้ต้องหาไม่อยู่ในประเทศแล้ว จึงยังไม่พิจารณาให้แล้วเสร็จลุล่วง
มีการตั้งคดีดักรอไว้ ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ว่า
อาจเพื่อหากคดีที่ดินรัชดาเกิดมีการคลาดเคลื่อนในการใช้จัดการกับทักษิณ
แต่กลับพิจารณายึดทรัพย์ไปก่อน โดยพิจารณาว่า
มูลค่าหุ้นทั้งหมดของเครือชินวัตรก่อนทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเท่ากับ 3 หมื่นล้านบาท
มูลค่าหุ้นทั้งหมดของเครือชินวัตรที่ขายไปให้แก่กลุ่มเทมาเสกเท่ากับ 7.6 หมื่นล้านบาท
ถือว่าจากคดีต่างๆ ของทักษิณ ทำให้มูลค่าของหุ้นเครือชินคอร์ปเพิ่มขึ้น 4.6 หมื่นล้านบาท
เป็นสิ่งมิควรได้ (ไม่ได้ระบุว่าทุจริต) พิพากษายึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท

โดยที่ คตส. ที่ตั้งขึ้นจากคณะรัฐประหารมาดำเนินการสอบสวน
เห็นว่าควรยึดทั้งหมด 7.6 หมื่นล้านบาท โดยทฤษฏีวัวกินหญ้า จึงยึดวัวทั้งตัว
ซึ่ง คตส. ออกระเบียบจ่ายสินบน 25 % ของทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้แจ้งเบาะแสเป็นประโยชน์
แต่ถูกเปิดโปงและถูกวิจารณ์อย่างหนักในเว็บบอร์ดจนถูกจับตามอง
ว่าจะมีผู้เป็นหน้าม้า มารับสินบน แล้วเอาไปแอบแบ่งกันเองหรือไม่ ?

มูลค่าหุ้นของเครือชินคอร์ปเพิ่มขึ้น 2.6 เท่า จาก 3 หมื่นล้านบาทเป็น 7.6 หมื่นล้านบาท
หากเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากวันที่ก่อนเข้าเป็นรัฐบาล 8 กุมภาพันธ์ 2544
ถึงวันที่ขายหุ้นทั้งหมดของเครือชินวัตร 23 มกราคม 2549
กลุ่มธุรกิจต่างๆในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากทักษิณ ชินวัตร เข้าบริหารประเทศ
มูลค่าธุรกิจต่างเติบโตขึ้น 2 ถึง 6 เท่า เป็นส่วนใหญ่ จากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น
มูลค่าธุรกิจของกลุ่มปูนซีเมนต์ไทย กลุ่ม ปตท. กลุ่ม ทีพีไอ กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เติบโตขึ้น 5-6 เท่า
ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเป็นเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาทของกลุ่มชินวัตรเป็นเรื่องปกติ
และไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายแต่อย่างใดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ

เมื่อเศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่ง เป็นส่วนหนึ่ง
ร่วมกับการประกอบการของธุรกิจนั้นเองในเวลาประมาณ 5 ปี เป็นอีกส่วนหนึ่ง
และอื่นๆ เช่น ผลจากการลงทุนของนักลงทุนและกองทุนต่างๆ จากทั่วโลก
ที่ทำให้มูลค่าธุรกิจต่างๆ ของประเทศในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น
รวมถึงมูลค่าธุรกิจของครอบครัวชินวัตร
การยึดทรัพย์ทักษิณแท้จริงเป็นการยุติธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้ง
หรือเป็นการโค่นล้มทางการเมือง หรือเป็นการปล้นทักษิณ
หรือเป็นอย่างอื่นใดกันแน่ ?
ด้วยเหตุผลว่าผู้ต้องหาไม่อยู่ในประเทศแล้ว
จึงลงโทษยึดทรัพย์ครอบครัวชินวัตรไปก่อน แต่เหลือโทษจำคุกเพิ่มจากคดีอื่นๆ เก็บรอไว้
เป็นต้นว่า
คดีโทรศัพท์มือถือ
คดีดาวเทียม
คดีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
คดีหวยบนดิน
คดีให้เงินกู้แก่พม่า
คดีก่อการร้าย

"คดีโทรศัพท์มือถือ"
เปลี่ยนจากจ่ายรายเดือนเป็นใช้บัตรเติมเงิน และใช้โครงข่ายร่วม
ลดอัตราค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้รัฐลง พร้อมลดราคาค่าใช้โทรศัพท์ลง
ทำให้คนใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้นทันที ในปี 2546 จาก 2 ล้านเลขหมาย เป็น 8 ล้านเลขหมาย
ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะจำนวนคนใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้นหลายเท่า
ทั้งทำให้ประชาชนได้ใช้โทรศัพท์มือถือในราคาถูก
และธุรกิจต่างๆ มีต้นทุนสื่อสารราคาถูก สะดวกมากขึ้น จนธุรกิจต่างๆ เติบโตขยายตัวอย่างมาก
ผลของเหตุการณ์นี้ มีส่วนอย่างสำคัญต่อ GDP ของประเทศ
ที่ซึ่ง GDP ของประเทศขยายตัว 28.85 % สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในปี 2546
หรือเท่ากับ 6.7 % จากฐานปกติ เป็นอันดับ 31 ของโลก
รายได้ที่รัฐได้จากอัตราเดิม
คืออัตราตอบแทนเดิมคูณจำนวน 2 ล้านราย
รายได้ที่รัฐได้จากอัตราใหม่
คืออัตราตอบแทนใหม่คูณจำนวน 8 ล้านราย
เพราะว่าจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
แม้อัตราตอบแทนใหม่จะน้อยกว่าอัตราตอบแทนเดิม
แต่รายได้ที่รัฐได้จากอัตราตอบแทนใหม่กลับมากกว่ารายได้ที่รัฐได้จากอัตราตอบแทนเดิม
เป็นอย่างมาก
แต่ คตส. กลับพิจารณา
โดยเอาอัตราตอบแทนเดิมคูณด้วยจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดรวมทั้งที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเงื่อนไข
เทียบกับอัตราตอบแทนใหม่คูณด้วยจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดรวมทั้งที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเงื่อนไข
แล้วบอกว่ารัฐเสียหาย

"คดีเปลี่ยนค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต"
รัฐได้เงินไปใช้ทันที ไม่ต้องรอ TOT และ CAT ส่งให้ตอนสิ้นปี
ทั้งได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องถูกหักเงินเป็นค่าโบนัสและสวัสดิการของ TOT และ CAT
ในสถานการณ์ที่การกล่าวหา การกล่าวโทษ การใส่ร้ายป้ายสี อคติ ฝุ่นตลบ
คงเป็นในอนาคตกาลข้างหน้าอีกยาวไกล ที่ฝุ่นจาง
วิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตจะปรากฏต่อสังคม
ดังเช่น
กรณีประมูลค่าสัมปทานระบบสื่อสาร 3 จี โดยเอกชน
หากเป็นภาษีสรรพสามิต เอกชนดำเนินการได้ทันที ยังคงจ่ายให้รัฐในรูปภาษี
การพัฒนาของประเทศไม่ต้องหยุดชะงักติดขัดอย่างที่กำลังเป็นอยู่
แข่งขันกันอย่างเสรี ไม่ผูกขาด จะทำให้ประชาชนสามารถเลือกใช้ในราคาถูกมีคุณภาพ
ผลประโยชน์ถึงมือประชาชนโดยตรง
ไม่ใช่โดยอ้อมจากค่าสัมปทานที่นักการเมืองจะจัดสรรมาให้ประชาชน
ที่ไม่แน่ว่าจะทั้งถูกบวกเพิ่ม ทั้งถูกเบียดบัง ไปแค่ไหน
หรือไม่ ?

"คดีดาวเทียม"
ถือว่าเอาดาวเทียมสำรองที่ดีกว่าที่กำหนดในสัญญามาให้แทน
เป็นการผิดสัญญา ถือว่าการให้ใช้แทนได้เป็นการเอื้อประโยชน์ผู้รับสัมปทาน
ใช่หรือไม่ ?
(คงเป็นทำนองเดียวกับเอาคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Window
มาให้แทนคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Dos ที่ล้าสมัย ตกรุ่น ไม่มีผลิตขายแล้ว
ถือว่าผิดสัญญา ถือว่าการให้ใช้แทนได้เป็นการเอื้อประโยชน์ผู้รับสัมปทาน
หรือคงเป็นทำนองเดียวกับเอาโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
มาให้แทนโทรศัพท์รุ่นขนาดกระติกน้ำแขวนเอว ที่ล้าสมัย ตกรุ่น ไม่มีผลิตขายแล้ว
ถือว่าผิดสัญญา ถือว่าการให้ใช้แทนได้เป็นการเอื้อประโยชน์ผู้รับสัมปทาน
เปรียบเทียบเช่นนี้ ถูกต้องไหม ?)
การทำดาวเทียม ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า มีดาวเทียมใช้ เป็นของตนเอง
รัฐได้ค่าสัมปทาน มีรายได้จากค่าใช้ดาวเทียม ไปจุนเจือประเทศชาติ
ถ้าครอบครัวชินวัตรไม่ทำดาวเทียม
ประเทศเสียโอกาส และก็ไม่ได้อะไร
ถ้าครอบครัวชินวัตรทำดาวเทียม
ประเทศไม่เสียอะไร แต่ได้ค่าสัมปทาน ได้ค่าใช้ดาวเทียม ได้ใช้ดาวเทียม ได้ความเจริญก้าวหน้า
เป็นคุณูปการต่อชาติ หรือไม่ ?
สมควรช่วยกันส่งเสริม สนับสนุน ให้การช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก
ไม่สมควรขัดขวาง กลั่นแกล้ง กดขี่ เอารัดเอาเปรียบ
ในความเป็นจริง ไม่เพียงขัดขวาง กลั่นแกล้ง กดขี่ เอารัดเอาเปรียบ ยังทำลายล้าง
หรือไม่ ?

ทำไม ประเทศไทยจึงเอื้อประโยชน์สารพัดให้ต่างชาติ เพื่อเชื้อเชิญให้เขามาลงทุน ?
ทำไม คนไทยไม่ช่วยคนไทยด้วยกันเอง อย่างที่ช่วยต่างชาติด้วย ?
เป็นที่รู้กันดีว่า
ประเทศญี่ปุ่น เขาสนับสนุน ช่วยเหลือ เอื้อประโยชน์ ให้คนญี่ปุ่นของเขาเอง อย่างยิ่ง
ประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญก้าวหน้ายิ่ง
ทำไม ประเทศไทยต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้คนไทย ?
กรณี ปรส. เป็นตัวอย่างอันเจ็บปวด
ที่รัฐบาลของพรรคที่ไม่สามารถเอ่ยนาม ฝากแผลเป็นไว้แก่ประเทศไทย หรือไม่ ?
ที่ประเทศไทยต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้คนไทย
ไม่ขายทรัพย์สินของคนไทยให้คนไทย
อ้างเหตุผล ไม่ให้คนไทยเสียนิสัยจากการทำธุรกิจขาดทุนแล้วซื้อคืนได้ในราคาถูก
ทั้งที่ความจริงแล้ว คนไทยไม่ได้ทำขาดทุนเอง แต่ถูกทำให้ขาดทุน
โดยนโยบายผิดพลาดของพรรคการเมืองใด ที่เปิดช่องโหว่ให้โจมตีทางเศรษฐกิจ ?
เป็นการขายสมบัติชาติอย่างแท้จริง ด้วยราคาแสนต่ำ
หรือไม่ ?
มีคนปกติทั่วไปสักคนไหมบนโลกนี้
ที่ไม่ประกอบอาชีพ ทำธุรกิจ มีทรัพย์สิน มีครอบครัว มีญาติมิตร
ที่อำนาจการเมืองไม่มีผลมากระทบเกี่ยวข้อง
ต่ออาชีพ ธุรกิจ ทรัพย์สิน ครอบครัว ญาติมิตร ของบุคคลผู้นั้น
สำคัญอยู่ที่ว่า เกี่ยวข้องอย่างเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่ประเทศชาติ
ได้ประโยชน์จากการสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติ
หรือได้ประโยชน์จากการสร้างโทษให้ประเทศชาติ

"คดีหวยบนดิน"
การดำเนินนโยบายหวยบนดิน
แก้ปัญหาการขายสลากเกินราคาได้อย่างแยบยล
แก้ปัญหาหวยใต้ดินอย่างได้ผล จนหวยใต้ดินแทบจะสาบสูญ
แก้ปัญหาอิทธิพลมาเฟียและอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับหวยใต้ดินได้อย่างลุล่วง
ก่อรายได้นำไปใช้อุดหนุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส อันจะงอกเงยผลแก่ประเทศอย่างไม่รู้จบ
ก่อรายได้นำไปใช้แก่สาธารณะประโยชน์
ป้องกันผู้ไม่รักดีลุ่มหลงการพนันให้มีทางระบายออกอย่างยากที่จะหายนะเช่นการพนันอื่น
ให้คนจนได้มีทางผ่อนคลายความทุกข์จากความหวังแม้จะลมๆแล้งๆ
แต่ก็เป็นความสุขเล็กๆน้อยๆของคนที่ไม่สามารถแสวงหาความสุขใส่ตนได้อย่างผู้มีอันจะกิน
สิ่งดีๆในความเป็นจริงของโลกไม่ใช่ในอุดมคติเช่นนี้ ถูกทำลายลง
เพียงเพื่อทำลายผลงานความสำเร็จงดงามไม่ให้ปรากฏคงอยู่
หรือไม่ ?

"คดีให้เงินกู้แก่พม่า"
ได้ดอกเบี้ยจากพม่า
ประเทศเพื่อนบ้านมีพรมแดนติดกันเป็นมิตรกับไทย
ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของพม่า
ได้กำหนดเงื่อนไขที่พม่าต้องซื้อของจากไทย
(เป็นเงื่อนไขที่ทุกชาติในโลกควรทำแก่ชาติตน แต่อาจต้องยกเว้นประเทศไทย)
และพม่าก็ไม่ได้ซื้อสินค้าจากกลุ่มชินวัตรเพิ่มจากเดิมที่เคยซื้ออยู่แล้วแต่อย่างใด

11
ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์

ตุลาการรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร
พิพากษาตัดสินคดีทุจริต 29 ล้านบาท และ 258 ล้านบาท
ของพรรคประชาธิปัตย์

ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ “ไม่ถือ” ว่าเป็นนายทะเบียนแจ้ง แต่เป็นประธาน กกต. แจ้ง
ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ “ถือ” ว่าเป็นนายทะเบียนแจ้ง แต่แจ้งเกินกำหนดไม่ให้ชักช้า ภายใน 15 วัน
โดยที่นายทะเบียนพรรคการเมืองและประธาน กกต. เป็นบุคคลคนเดียวกัน

แล้วพรรคประชาธิปัตย์โกงหรือไม่โกง ?
หรือไม่ว่าจะโกงหรือไม่โกง ก็ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ?
หรือไม่ต้องตัดสินว่าประชาธิปัตย์โกงหรือไม่โกง ?
หรืออย่างไร ?

ทำไมจึงให้ความสำคัญยิ่งกับประเด็นรอง
แต่กลับไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก ?

12
พรรคประชาธิปัตย์พยายามตามล่าเอาโทษผู้เผยแพร่คลิป
ในส่วนของการเป็นผู้เผยแพร่คลิปแอบถ่าย
แต่ไม่ได้พิจารณาในส่วนสาระใดๆในคลิปว่าเป็นอย่างไร

13
ตุลาการรัฐธรรมนูญ 3 คน
เป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 2550

14
ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้หนึ่งกล่าวขอให้ประชาชน
รับรัฐธรรมนูญ 2550 ของคณะรัฐประหาร ไปก่อน
แล้วมาแก้ไขภายหลังได้

15
ตุลาการรัฐธรรมนูญออกคำสั่งระงับสภาให้ชลอการพิจารณากฏหมายเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550

โดยที่อำนาจสูงสุดของประเทศมี 3 อำนาจคือ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ อำนาจนิติบัญญัติ
การที่อำนาจตุลาการออกคำสั่งต่ออำนาจนิติบัญญัติ
เป็นการที่อำนาจตุลาการละเมิดอำนาจนิติบัญญัติหรือไม่ ?

ที่ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญคณะนี้
จัดตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร
ที่ซึ่งคณะสมาชิกสภาผู้แทนที่เสนอให้พิจารณากฎหมายเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
มาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น

16
ตุลาการรัฐธรรมนูญส่งตัวแทนไปแจ้งต่อศาลอาญา
ให้ศาลอาญาถอนประกันนายจตุพร พรหมพันธ์

17
ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550
ตุลาการรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดีได้
ต่อเมื่อผ่านอัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว หรือไม่ ?

18
การจะดำเนินการให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์พรรคเพื่อไทยตามนโยบายที่หาเสียงเลือกตั้งไว้
เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550
ตามที่มีผู้เกี่ยวข้องในคดีออกมากล่าวว่า
จะเป็นการพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน
หรือไม่ ?

19
ถ้าตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง
จะเอาโทษ สส. และ สว. ที่เสนอร่างกฎหมายเพื่อเลือกตั้ง สสร.
และยุบพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ?

20
การดำเนินการทั้งหมดจนกระทั่งยุบพรรคไทยรักไทย
แท้จริงเป็นการรัฐประหารรูปแบบใหม่
โดยใช้ตุลาการที่จัดตั้งโดยคณะรัฐประหาร
หรือไม่ ?

แก้ไขเมื่อ 06 ก.ค. 55 04:27:26

จากคุณ : วษณ
เขียนเมื่อ : 5 ก.ค. 55 17:29:33 A:27.55.2.242 X:




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com