เมืองไทยวันนีี้ ผลไม้พิษ..องค์กรอิสระ
|
 |
เรื่องจากปก จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 366 ประจำวัน จันทร์ ที่ 2 กรกฏาคม 2012 คอลัมน์/บทความ - เรื่อง ผลไม้พิษ..องค์กรอิสระ โดย ทีมข่าวรายวัน
ถ้าต้องกลับไปเข้าคุกอีก จะเดินเท้าจากอนุสาวรีย์ประชา ธิปไตยไปเรือนจำ และจะอดอาหารในเรือนจำ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) ยืนยันหากศาลอาญาถอนประกันตัวตามที่ศาลรัฐธรรมนูญยื่นคำร้องเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งยังเดินทางไปศาลรัฐธรรม นูญ โดยยื่นหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงการกระทำของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจโดยมิชอบและกระ ทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนอย่างมาก
นายจตุพรยืนยันว่า ไม่ได้กดดันศาล แต่ศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่กดดันตนตลอดเวลา การยื่นถอนประกันตัวชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจึงถือเป็นหนังสือเถื่อน เพราะหน้าที่การขอยื่นถอนประกันตัวชั่วคราวต้องเป็นของอัยการที่เป็นโจทก์ในคดี ศาลรัฐธรรมนูญเหมือนจงใจที่จะขยายอาณาเขต เช่น กรณีกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และการที่ศาลรัฐธรรมนูญงดการชี้แจงเรื่องการถอนประกันตัวก่อนหน้านี้ โดยอ้างว่าจะเป็นการล่วงอำนาจของศาลอาญานั้น นายจตุพรกลับเห็นว่าการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่เป็นการล่วงอำนาจศาลอาญา
จตุพร ตั้งคำถามศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนหนังสือที่นายจตุพรยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ถาม 3 ประเด็นคือ 1.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจใดในการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวของตนต่อศาลอาญา เพราะสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่พยานในคดีที่ตนขอปล่อยตัวชั่วคราว และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นคู่ความในคดีที่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งโดยทั่วไปต้องยื่นโดยพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในคดีตามกฎหมายอาญา
2.อยากทราบว่ามีข้อความใดที่เป็นการข่มขู่คุก คามสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการปราศรัยหน้ารัฐสภาตามที่ปรา กฏในหนังสือพิมพ์และการให้สัมภาษณ์ไม่ได้มีข้อความใดที่เป็นการข่มขู่หรือยุยงปลุกปั่นให้บุคคลที่ชุมนุมทางการเมืองไปคุกคามต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และไม่มีข้อความส่วนใดเป็นการคุกคามสิทธิส่วนบุคคลของตุลาการและครอบครัวแต่อย่างใด
3.กรณีที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้แจ้งความดำเนินคดีกับตน และต่อมาเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อกองปราบปราม ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และคณะตุลาการที่มีมติดังกล่าวได้นั่งพิจารณาและวินิจฉัยคดีให้ตนพ้นจากการเป็นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 จึงมีความเคลือบแคลงสงสัยในความยุติธรรมและความเป็นกลางในการพิจารณาคดีและวินิจฉัยคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าปราศจากอคติหรือไม่
จากคุณ |
:
Barai 15
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ก.ค. 55 00:57:27
A:49.48.122.113 X:
|
|
|
|