สงสัยประเด็นนี้ครับ
ถาม คิดว่ามีนักวิชาการประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เห็นด้วย
ตอบ คิดว่า ที่ไม่เห็นด้วยประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ เราไม่ได้มองเรื่องแยกสี แยกข้าง แต่เรามองเรื่องเหตุผล อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุด คงต้องอยู่ที่ตัวเหตุผลที่ศาลจะเขียนไว้ในคำพิพากษา นั่นคือต้องรอศาลตัดสิน คดีนี้ ว่า เหตุผลที่ศาลจะขึ้นต้นในประเด็นแรก ว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจหรือไม่ (รับคำร้องได้หรือไม่) ศาลจะให้เหตุผลอย่างไร ถ้าผมจำไม่ผิด มี 1 ท่านไม่เห็นด้วย ซึ่งถ้าเหตุผลของเสียงข้างน้อยหนักแน่น ในอนาคตไม่แน่ ถ้าเปลี่ยนตัวตุลาการหรือไม่เปลี่ยนตัวตุลาการ ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแนวบรรทัดฐานได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ในระบบกฎหมาย ที่ว่า เมื่อศาลตัดสินไปแล้วทางซ้ายมือ มาวันหนึ่ง พอข้อเท็จจริงเหมือนกันแต่ มีเหตุผลที่หนักแน่น กลมเกลาจนคำพิพากษาเปลี่ยนแนวไปทางขวามือได้ ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า ไม่มีมาตรฐาน เพียงแต่ว่า เหตุผลจูงใจนั้นเปลี่ยนไป แนวบรรทัดฐานของศาลก็เปลี่ยนไป
แล้วเราจะมีสิ่งนี้ไว้ทำไม?
มาตรา ๒๑๖ วรรคห้า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
ถ้าเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ตามสถานะการณ์นั้นๆ หรือบัญญัติไว้เพื่อขายผ้าเอาหน้ารอดให้เรื่องมันจบๆ ไปแค่นั้น!