มาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญปี 40 กับ มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปี 50 และตรรกะวิบัติ ของตลก.ภิวัฒน์
|
 |
ข้อมูลพื้นฐาน
มาตรา 63 วรรคสองของรัฐธรรมนูญปี 40 ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
มาตรา 68 วรรคสองของรัฐธรรมนูญปี 50 ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ความแตกแต่งที่เห็นได้ : ผู้รู้เห็น (ปี40) กับ ผู้ทราบ (ปี50)
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่งเรื่องพิจารณา ที่ 12/2549 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยว่า "รัฐธรรมนูญมาตรา 63 มิได้บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ยุบพรรคการเมืองได้โดยตรง แต่จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 วรรคสอง โดยเสนอขอให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีตามคำร้องศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อาจจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ อาศัยเหตุดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้ดำเนินการ"
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2555
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า ในมาตรา 68 วรรคสองเป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ผู้ที่ทราบถึงการกระทำ ที่เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ที่จะใช้สิทธิให้มีการตรวจสอบการกระทำดังกล่าวได้ โดยให้มีสิทธิ 2 ประการ
คือ ประการที่หนึ่ง เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ประการที่สอง สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ เรื่องการกระทำดังกล่าวได้ เพราะอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและวินิจฉัยสั่งการ ในกรณีผู้ร้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 วรรคสอง เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุดเพียงแต่มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง หาได้ตัดสิทธิ์ของผู้ร้อง ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยตรงไม่ เมื่อผู้ร้องได้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบแล้ว ชอบที่จะใช้สิทธิประการที่สอง โดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กลับเข้ามาในประเด็นนะครับ - ผู้ทราบ(ผู้รู้เห็น ฉบับปี 40)การกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ตลก.ศาลรธน.ชุดแรกวินิจฉัยออกมาว่า กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ให้ดำเนินการตามวรรคสองก่อน (โดยเสนอขอให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ) ประโยคเดียวกันตลก.ศาลรธน.ชุดปัจจุบันวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงได้ ซึ่งมันไปค้านกับคำวินิจฉัยชุดแรกที่ว่า กฎหมายมิได้บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ถ้าคำวินิจฉัยของตลก.ชุดปัจจุบันเป็นจริงไม่ขัดกับคำวินิจฉัยที่มีออกมาแล้วของชุดแรก - คำวินิจฉัยของตลก.ชุดแรกจะเป็นดังนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ มิได้บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ดำเนินการตามวรรคสองก่อน แต่การดำเนินการตามวรรคสองผู้ร้องมีสิทธิโดยชอบธรรมในการยื่นคำร้องโดยตรง (ตามคำวินิจฉัยของตลก.ชุกปัจจุบัน) มันไม่เป็นตรรกะครับ ที่จะบอกว่าคุณไม่มีสิทธิ์นะ คุณต้องใช้สิทธิ์ผ่านอีกวิธีก่อน ซึ่งวิธีที่ว่านี้ให้สิทธิ์คุณอยู่แล้วโดยคุณไม่ต้องใช้สิทธิ์ผ่านวิธีนี้ก็ได้
คำถามคือ คำวินิจฉัยของตลก.ชุดหลังขัดกับคำวินิจฉัยของชุดแรก ใช่หรือไม่
ถ้าไม่ - ถือเป็นข้อยุติสำหรับประเด็นนี้
ถ้าใช่ - การกระทำของตลก.ศาลรธน.ชุดนี้ ละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 216 ของฉบับปี 2550 ใช่หรือไม่ มาตรา ๒๑๖ วรรคห้า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และ องค์กรอื่นของรัฐ >> คำวินิจฉัยของตลก.ศาลรธน.ชุดก่อนในประเด็นนี้ ผูกพันทุกองค์กร รวมถึงศาลรธน.
ถ้าใช่ - การกระทำนี้เข้าองค์ประกอบอาญามาตรา 157 ใช่หรือไม่ มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ >> ตลก.รธน.ชุดนี้ไม่มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นนี้ ไม่ว่าจะล้อกันหรือขัดกันได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจที่ละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคห้า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ/ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (ละเมิดมาตรา 216 วรรคห้า)
ถ้าใช่ - รัฐสภา รออะไร เพราะการวินิจฉัยครั้งหลัง คู่กรณีที่เสียหายคือ รัฐสภา - ไม่ใช่ความขัดแย้งในกฎหมายรัฐธรรมนูญระหว่างองค์กร แต่เป็นการกระทำผิดของบุคคล ซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยของตลก.รธน.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๖๙ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
จากคุณ |
:
POE
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ก.ค. 55 11:46:02
A:58.9.199.130 X:
|
|
|
|