โทษจำคุกสองปี ไม่รอลงอาญา
เปรียบเทียบกับคดีต่างๆ ของผู้แอบอ้างเสื้อเหลืองที่รอลงอาญานับครั้งไม่ถ้วน
และคดีฮุบที่ดินส่วนรวม ที่ดินป่าสงวน ต่างๆ ของประเทศ ครั้งต่างๆ
เอาไปฟรีๆ ที่ไม่เคยมีใครต้องโทษ
เป็นอย่างไร ?
เกินกว่าความยุติธรรมไปหรือไม่ ?
(10)
ยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท
จากคดีต่างๆ โดยใช้เหตุว่าผู้ต้องหาไม่อยู่ในประเทศแล้ว จึงยังไม่พิจารณาให้แล้วเสร็จลุล่วง
มีการตั้งคดีดักรอไว้ ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ว่า
อาจเพื่อหากคดีที่ดินรัชดาเกิดมีการคลาดเคลื่อนในการใช้จัดการกับทักษิณ
แต่กลับพิจารณายึดทรัพย์ไปก่อน โดยพิจารณาว่า
มูลค่าหุ้นทั้งหมดของเครือชินวัตรก่อนทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเท่ากับ 3 หมื่นล้านบาท
มูลค่าหุ้นทั้งหมดของเครือชินวัตรที่ขายไปให้แก่กลุ่มเทมาเสกเท่ากับ 7.6 หมื่นล้านบาท
ถือว่าจากคดีต่างๆ ของทักษิณ ทำให้มูลค่าของหุ้นเครือชินคอร์ปเพิ่มขึ้น 4.6 หมื่นล้านบาท
เป็นสิ่งมิควรได้ (ไม่ได้ระบุว่าทุจริต) พิพากษายึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท
โดยที่ คตส. ที่ตั้งขึ้นจากคณะรัฐประหารมาดำเนินการสอบสวน
เห็นว่าควรยึดทั้งหมด 7.6 หมื่นล้านบาท โดยทฤษฏีวัวกินหญ้า จึงยึดวัวทั้งตัว
ซึ่ง คตส. ออกระเบียบจ่ายสินบน 25 % ของทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้แจ้งเบาะแสเป็นประโยชน์
แต่ถูกเปิดโปงและถูกวิจารณ์อย่างหนักในเว็บบอร์ดจนถูกจับตามอง
ว่าจะมีผู้เป็นหน้าม้า มารับสินบน แล้วเอาไปแอบแบ่งกันเองหรือไม่ ?
มูลค่าหุ้นของเครือชินคอร์ปเพิ่มขึ้น 2.6 เท่า จาก 3 หมื่นล้านบาทเป็น 7.6 หมื่นล้านบาท
หากเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากวันที่ก่อนเข้าเป็นรัฐบาล 8 กุมภาพันธ์ 2544
ถึงวันที่ขายหุ้นทั้งหมดของเครือชินวัตร 23 มกราคม 2549
กลุ่มธุรกิจต่างๆในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากทักษิณ ชินวัตร เข้าบริหารประเทศ
มูลค่าธุรกิจต่างเติบโตขึ้น 2 ถึง 6 เท่า เป็นส่วนใหญ่ จากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น
มูลค่าธุรกิจของกลุ่มปูนซีเมนต์ไทย กลุ่ม ปตท. กลุ่ม ทีพีไอ กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เติบโตขึ้น 5-6 เท่า
ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเป็นเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาทของกลุ่มชินวัตรเป็นเรื่องปกติ
และไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายแต่อย่างใดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
เมื่อเศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่ง เป็นส่วนหนึ่ง
ร่วมกับการประกอบการของธุรกิจนั้นเองในเวลาประมาณ 5 ปี เป็นอีกส่วนหนึ่ง
และอื่นๆ เช่น ผลจากการลงทุนของนักลงทุนและกองทุนต่างๆ จากทั่วโลก
ที่ทำให้มูลค่าธุรกิจต่างๆ ของประเทศในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น
รวมถึงมูลค่าธุรกิจของครอบครัวชินวัตร
การยึดทรัพย์ทักษิณแท้จริงเป็นการยุติธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้ง
หรือเป็นการโค่นล้มทางการเมือง หรือเป็นการปล้นทักษิณ
หรือเป็นอย่างอื่นใดกันแน่ ?
ด้วยเหตุผลว่าผู้ต้องหาไม่อยู่ในประเทศแล้ว
จึงลงโทษยึดทรัพย์ครอบครัวชินวัตรไปก่อน แต่เหลือโทษจำคุกเพิ่มจากคดีอื่นๆ เก็บรอไว้
เป็นต้นว่า
คดีโทรศัพท์มือถือ
คดีดาวเทียม
คดีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
คดีหวยบนดิน
คดีให้เงินกู้แก่พม่า
คดีก่อการร้าย
"คดีโทรศัพท์มือถือ"
เปลี่ยนจากจ่ายรายเดือนเป็นใช้บัตรเติมเงิน และใช้โครงข่ายร่วม
ลดอัตราค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้รัฐลง พร้อมลดราคาค่าใช้โทรศัพท์ลง
ทำให้คนใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้นทันที ในปี 2546 จาก 2 ล้านเลขหมาย เป็น 8 ล้านเลขหมาย
ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะจำนวนคนใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้นหลายเท่า
ทั้งทำให้ประชาชนได้ใช้โทรศัพท์มือถือในราคาถูก
และธุรกิจต่างๆ มีต้นทุนสื่อสารราคาถูก สะดวกมากขึ้น จนธุรกิจต่างๆ เติบโตขยายตัวอย่างมาก
ผลของเหตุการณ์นี้ มีส่วนอย่างสำคัญต่อ GDP ของประเทศ
ที่ซึ่ง GDP ของประเทศขยายตัว 28.85 % สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในปี 2546
หรือเท่ากับ 6.7 % จากฐานปกติ เป็นอันดับ 31 ของโลก
รายได้ที่รัฐได้จากอัตราเดิม
คืออัตราตอบแทนเดิมคูณจำนวน 2 ล้านราย
รายได้ที่รัฐได้จากอัตราใหม่
คืออัตราตอบแทนใหม่คูณจำนวน 8 ล้านราย
เพราะว่าจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
แม้อัตราตอบแทนใหม่จะน้อยกว่าอัตราตอบแทนเดิม
แต่รายได้ที่รัฐได้จากอัตราตอบแทนใหม่กลับมากกว่ารายได้ที่รัฐได้จากอัตราตอบแทนเดิม
เป็นอย่างมาก
แต่ คตส. กลับพิจารณา
โดยเอาอัตราตอบแทนเดิมคูณด้วยจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดรวมทั้งที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเงื่อนไข
เทียบกับอัตราตอบแทนใหม่คูณด้วยจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดรวมทั้งที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเงื่อนไข
แล้วบอกว่ารัฐเสียหาย
"คดีเปลี่ยนค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต"
รัฐได้เงินไปใช้ทันที ไม่ต้องรอ TOT และ CAT ส่งให้ตอนสิ้นปี
ทั้งได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องถูกหักเงินเป็นค่าโบนัสและสวัสดิการของ TOT และ CAT
ในสถานการณ์ที่การกล่าวหา การกล่าวโทษ การใส่ร้ายป้ายสี อคติ ฝุ่นตลบ
คงเป็นในอนาคตกาลข้างหน้าอีกยาวไกล ที่ฝุ่นจาง
วิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตจะปรากฏต่อสังคม
ดังเช่น
กรณีประมูลค่าสัมปทานระบบสื่อสาร 3 จี โดยเอกชน
หากเป็นภาษีสรรพสามิต เอกชนดำเนินการได้ทันที ยังคงจ่ายให้รัฐในรูปภาษี
การพัฒนาของประเทศไม่ต้องหยุดชะงักติดขัดอย่างที่กำลังเป็นอยู่
แข่งขันกันอย่างเสรี ไม่ผูกขาด จะทำให้ประชาชนสามารถเลือกใช้ในราคาถูกมีคุณภาพ
ผลประโยชน์ถึงมือประชาชนโดยตรง
ไม่ใช่โดยอ้อมจากค่าสัมปทานที่นักการเมืองจะจัดสรรมาให้ประชาชน
ที่ไม่แน่ว่าจะทั้งถูกบวกเพิ่ม ทั้งถูกเบียดบัง ไปแค่ไหน
หรือไม่ ?
"คดีดาวเทียม"
ถือว่าเอาดาวเทียมสำรองที่ดีกว่าที่กำหนดในสัญญามาให้แทน
เป็นการผิดสัญญา ถือว่าการให้ใช้แทนได้เป็นการเอื้อประโยชน์ผู้รับสัมปทาน
ใช่หรือไม่ ?
(คงเป็นทำนองเดียวกับเอาคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Window
มาให้แทนคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Dos ที่ล้าสมัย ตกรุ่น ไม่มีผลิตขายแล้ว
ถือว่าผิดสัญญา ถือว่าการให้ใช้แทนได้เป็นการเอื้อประโยชน์ผู้รับสัมปทาน
หรือคงเป็นทำนองเดียวกับเอาโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
มาให้แทนโทรศัพท์รุ่นขนาดกระติกน้ำแขวนเอว ที่ล้าสมัย ตกรุ่น ไม่มีผลิตขายแล้ว
ถือว่าผิดสัญญา ถือว่าการให้ใช้แทนได้เป็นการเอื้อประโยชน์ผู้รับสัมปทาน
เปรียบเทียบเช่นนี้ ถูกต้องไหม ?)
การทำดาวเทียม ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า มีดาวเทียมใช้ เป็นของตนเอง
รัฐได้ค่าสัมปทาน มีรายได้จากค่าใช้ดาวเทียม ไปจุนเจือประเทศชาติ
ถ้าครอบครัวชินวัตรไม่ทำดาวเทียม
ประเทศเสียโอกาส และก็ไม่ได้อะไร
ถ้าครอบครัวชินวัตรทำดาวเทียม
ประเทศไม่เสียอะไร แต่ได้ค่าสัมปทาน ได้ค่าใช้ดาวเทียม ได้ใช้ดาวเทียม ได้ความเจริญก้าวหน้า
เป็นคุณูปการต่อชาติ หรือไม่ ?
สมควรช่วยกันส่งเสริม สนับสนุน ให้การช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก
ไม่สมควรขัดขวาง กลั่นแกล้ง กดขี่ เอารัดเอาเปรียบ
ในความเป็นจริง ไม่เพียงขัดขวาง กลั่นแกล้ง กดขี่ เอารัดเอาเปรียบ ยังทำลายล้าง
หรือไม่ ?
ทำไม ประเทศไทยจึงเอื้อประโยชน์สารพัดให้ต่างชาติ เพื่อเชื้อเชิญให้เขามาลงทุน ?
ทำไม คนไทยไม่ช่วยคนไทยด้วยกันเอง อย่างที่ช่วยต่างชาติด้วย ?
เป็นที่รู้กันดีว่า
ประเทศญี่ปุ่น เขาสนับสนุน ช่วยเหลือ เอื้อประโยชน์ ให้คนญี่ปุ่นของเขาเอง อย่างยิ่ง
ประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญก้าวหน้ายิ่ง
ทำไม ประเทศไทยต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้คนไทย ?
กรณี ปรส. เป็นตัวอย่างอันเจ็บปวด
ที่รัฐบาลของพรรคที่ไม่สามารถเอ่ยนาม ฝากแผลเป็นไว้แก่ประเทศไทย หรือไม่ ?
ที่ประเทศไทยต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้คนไทย
ไม่ขายทรัพย์สินของคนไทยให้คนไทย
อ้างเหตุผล ไม่ให้คนไทยเสียนิสัยจากการทำธุรกิจขาดทุนแล้วซื้อคืนได้ในราคาถูก
ทั้งที่ความจริงแล้ว คนไทยไม่ได้ทำขาดทุนเอง แต่ถูกทำให้ขาดทุน
โดยนโยบายผิดพลาดของพรรคการเมืองใด ที่เปิดช่องโหว่ให้โจมตีทางเศรษฐกิจ ?
เป็นการขายสมบัติชาติอย่างแท้จริง ด้วยราคาแสนต่ำ
หรือไม่ ?
มีคนปกติทั่วไปสักคนไหมบนโลกนี้
ที่ไม่ประกอบอาชีพ ทำธุรกิจ มีทรัพย์สิน มีครอบครัว มีญาติมิตร
ที่อำนาจการเมืองไม่มีผลมากระทบเกี่ยวข้อง
ต่ออาชีพ ธุรกิจ ทรัพย์สิน ครอบครัว ญาติมิตร ของบุคคลผู้นั้น
สำคัญอยู่ที่ว่า เกี่ยวข้องอย่างเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่ประเทศชาติ
ได้ประโยชน์จากการสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติ
หรือได้ประโยชน์จากการสร้างโทษให้ประเทศชาติ
"คดีหวยบนดิน"
การดำเนินนโยบายหวยบนดิน
แก้ปัญหาการขายสลากเกินราคาได้อย่างแยบยล
แก้ปัญหาหวยใต้ดินอย่างได้ผล จนหวยใต้ดินแทบจะสาบสูญ
แก้ปัญหาอิทธิพลมาเฟียและอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับหวยใต้ดินได้อย่างลุล่วง
ก่อรายได้นำไปใช้อุดหนุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส อันจะงอกเงยผลแก่ประเทศอย่างไม่รู้จบ
ก่อรายได้นำไปใช้แก่สาธารณะประโยชน์
ป้องกันผู้ไม่รักดีลุ่มหลงการพนันให้มีทางระบายออกอย่างยากที่จะหายนะเช่นการพนันอื่น
ให้คนจนได้มีทางผ่อนคลายความทุกข์จากความหวังแม้จะลมๆแล้งๆ
แต่ก็เป็นความสุขเล็กๆน้อยๆของคนที่ไม่สามารถแสวงหาความสุขใส่ตนได้อย่างผู้มีอันจะกิน
สิ่งดีๆในความเป็นจริงของโลกไม่ใช่ในอุดมคติเช่นนี้ ถูกทำลายลง
เพียงเพื่อทำลายผลงานความสำเร็จงดงามไม่ให้ปรากฏคงอยู่
หรือไม่ ?
"คดีให้เงินกู้แก่พม่า"
ได้ดอกเบี้ยจากพม่า
ประเทศเพื่อนบ้านมีพรมแดนติดกันเป็นมิตรกับไทย
ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของพม่า
ได้กำหนดเงื่อนไขที่พม่าต้องซื้อของจากไทย
(เป็นเงื่อนไขที่ทุกชาติในโลกควรทำแก่ชาติตน แต่อาจต้องยกเว้นประเทศไทย)
และพม่าก็ไม่ได้ซื้อสินค้าจากกลุ่มชินวัตรเพิ่มจากเดิมที่เคยซื้ออยู่แล้วแต่อย่างใด
(11)
ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ตุลาการรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร
พิพากษาตัดสินคดีทุจริต 29 ล้านบาท และ 258 ล้านบาท
ของพรรคประชาธิปัตย์
ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ ไม่ถือ ว่าเป็นนายทะเบียนแจ้ง แต่เป็นประธาน กกต. แจ้ง
ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ ถือ ว่าเป็นนายทะเบียนแจ้ง แต่แจ้งเกินกำหนดไม่ให้ชักช้า ภายใน 15 วัน
โดยที่นายทะเบียนพรรคการเมืองและประธาน กกต. เป็นบุคคลคนเดียวกัน
แล้วพรรคประชาธิปัตย์โกงหรือไม่โกง ?
หรือไม่ว่าจะโกงหรือไม่โกง ก็ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ?
หรือไม่ต้องตัดสินว่าประชาธิปัตย์โกงหรือไม่โกง ?
หรืออย่างไร ?
ทำไมจึงให้ความสำคัญยิ่งกับประเด็นรอง
แต่กลับไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก ?
(12)
พรรคประชาธิปัตย์พยายามตามล่าเอาโทษผู้เผยแพร่คลิป
ในส่วนของการเป็นผู้เผยแพร่คลิปแอบถ่าย
แต่ไม่ได้พิจารณาในส่วนสาระใดๆในคลิปว่าเป็นอย่างไร
(13)
ตุลาการรัฐธรรมนูญ 3 คน
เป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 2550
(14)
ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้หนึ่งกล่าวขอให้ประชาชน
รับรัฐธรรมนูญ 2550 ของคณะรัฐประหาร ไปก่อน
แล้วมาแก้ไขภายหลังได้
(15)
ตุลาการรัฐธรรมนูญออกคำสั่งระงับสภาให้ชลอการพิจารณากฏหมายเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
โดยที่อำนาจสูงสุดของประเทศมี 3 อำนาจคือ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ อำนาจนิติบัญญัติ
การที่อำนาจตุลาการออกคำสั่งต่ออำนาจนิติบัญญัติ
เป็นการที่อำนาจตุลาการละเมิดอำนาจนิติบัญญัติหรือไม่ ?
ที่ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญคณะนี้
จัดตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร
ที่ซึ่งคณะสมาชิกสภาผู้แทนที่เสนอให้พิจารณากฎหมายเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
มาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น
(16)
ตุลาการรัฐธรรมนูญส่งตัวแทนไปแจ้งต่อศาลอาญา
ให้ศาลอาญาถอนประกันนายจตุพร พรหมพันธ์
(17)
ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550
ตุลาการรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดีได้
ต่อเมื่อผ่านอัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว หรือไม่ ?
(18)
การจะดำเนินการให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์พรรคเพื่อไทยตามนโยบายที่หาเสียงเลือกตั้งไว้
เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550
ตามที่มีผู้เกี่ยวข้องในคดีออกมากล่าวว่า
จะเป็นการพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน
หรือไม่ ?
(19)
ถ้าตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง
จะเอาโทษ สส. และ สว. ที่เสนอร่างกฎหมายเพื่อเลือกตั้ง สสร.
และยุบพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ?
(20)
การดำเนินการทั้งหมด
แท้จริงเป็นการพยายามจะกระทำรัฐประหารรูปแบบใหม่
โดยใช้ตุลาการที่จัดตั้งขึ้น
หรือไม่ ?