| ความคิดเห็นที่ 14 | MsgStatus(Msv[14], 14); | #9 นางเอ๋อ จะไปทำอะไรกะใครในเวลาส่วนตัวไม่มีใครว่า แต่นี่เอาเวลาประชุมสภาไปทำ ในฐานะที่ผมเป็นคนจ่ายภาษี ผมอยากทราบว่าเงินที่ผมจ่ายไปเป็นเงินเดือนนางเอ๋อน่ะ เธอใช้เงินเดือนทำงานคุ้มหรือป่าว มาตอบหน่อย เอ่อ ใครไม่ใช่นางเอ๋อ ไม่ได้ไป ว5 ไม่ต้องมาตอบนะครับ จากคุณ | : SweetJanuary | เขียนเมื่อ | : วันรพี 55 12:58:03 A:49.48.232.226 X: | | | |
13 ก.ค. 55 เวลา 09.00 น. นายรักษเกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงผลการวินิจฉัยการดำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้
เรื่องที่ 1 กรณีนายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ และคณะ ยื่นเรื่องร้องเรียน กรณี นายกรัฐมนตรีไม่เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยเดินทางไปทำกิจธุระส่วนตัวอันอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในช่วงเวลาที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
และกรณีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ไปพบนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในเวลาราชการโดยเป็นการหารือที่ไม่เปิดเผยและเลือกหารือเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด อันอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล และเป็นการเปิดช่องให้มีการใช้ข้อมูลภายในไปแสวงหาประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องซึ่งเป็นการกระทำที่อาจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 รวมทั้งกรณี นางกาญจนี วัลยะเสวี และคณะยื่นเรื่องร้องเรียนนายกรัฐมนตรีว่าการไปพบนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นอาจเป็นเรื่องที่ขัดต่อจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 ประกอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551ข้อ 6 (3) (4) (9)ข้อ 10 ข้อ 14 และข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2553 ข้อ 24
จากการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงสามารถสรุปได้ ดังนี้
1. กรณีร้องเรียนว่า นายกรัฐมนตรีไม่เข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีว่า การประชุมในวันดังกล่าวในช่วงแรก ๆ ของการประชุมยังไม่มีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีจะต้องชี้แจงต่อที่ประชุม และเมื่อมีงานในความรับผิดชอบที่ต้องเร่งรัด ติดตามการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จึงมิได้อยู่ร่วมในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎรในช่วงต้นของการประชุม แต่เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจในฐานะนายกรัฐมนตรี จึงเดินทางกลับเพื่อร่วมรับฟังและสอบถามเกี่ยวกับประเด็นที่มีการอภิปรายอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งได้ลงชื่อการประชุมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรณีดังกล่าวจึงยังไม่อาจถือได้ว่านายกรัฐมนตรีขาดประชุมตามระเบียบว่าด้วยการลาการประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548 จึงยังมิอาจถือได้ว่ามีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
2. กรณีร้องเรียนว่า นายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เดินทางร่วมกับนายกรัฐมนตรีด้วยซึ่งอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน
เมื่อพิจารณาจากเอกสารหลักฐานจากคำร้องเรียนและจากการชี้แจงข้อเท็จจริง ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชี้ชัดว่ามีการกระทำที่เป็นการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจหรือมีการกระทำที่นำไปสู่การได้ประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จึงยังมิอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
3.กรณีร้องเรียนว่า นายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าอาจเป็นเรื่องในทางชู้สาว
เห็นว่าสถานที่นั้นเป็นสถานที่เปิดเผยและมีผู้ร่วมเดินทางไปกับนายกรัฐมนตรีหลายคน ประกอบกับไม่มีประจักษ์พยานหรือพยานหลักฐานที่ชี้ชัดได้ว่ามีการกระทำส่อไปในทางชู้สาว จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกันว่า เมื่อข้อเท็จจริงจากการพิจารณาสอบสวนยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าการกระทำของนายกรัฐมนตรีตามคำร้องเรียนนี้เป็นการกระทำฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 จึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณา
เรื่องที่ 2 กรณีนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ร้องเรียนว่า นายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติผิดมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นการกระทำผิดร้ายแรงขัดต่อรัฐธรรมนูญและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
จากการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงสามารถสรุปได้ ดังนี้
1. เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านโยบายบ้านหลังแรก ตามคำร้องเรียนนี้เป็นนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ข้อ 1.8.4 แล้ว จึงเป็นกรณีร้องเรียนตามนัย มาตรา 28 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับไว้พิจารณาหรือให้ยุติการพิจารณา เว้นแต่การปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวจะมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 13 (1) หรือ (2) กรณีตามคำร้องเรียนนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้เป็นการกระทำที่เข้าลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 13 (1) หรือ (2) หรือไม่
2. ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบพบว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการนำนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติโดยเสนอมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวรวมถึงการกำหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดมีมูลค่าไม่เกิน5 ล้านบาท (หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0726/ล.1462 ลงวันที่ 19 กันยายน 2554) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 ต่อมากระทรวงการคลังมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0701/16315 begin_of_the_skype_highlighting 0701/16315 end_of_the_skype_highlighting ลงวันที่ 22 กันยายน 2554 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอให้คณะรัฐมนตรีชะลอการดำเนินการตามมติการประชุมไว้ก่อนเนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการทางภาษีดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถครอบคลุมถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลได้
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 กระทรวงการคลังมีหนังสือด่วนที่สุดที่ กค 0726/ล.1516 เสนอมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองเป็นครั้งที่ 2 โดยมีสาระสำคัญในประเด็นที่มีการร้องเรียนตามคำร้องเรียนนี้ กล่าวคือ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย จึงเห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าไม่เกิน5 ล้านบาท เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น จึงเห็นว่าการกำหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ตามนโยบายบ้านหลังแรกของรัฐบาลตามคำร้องเรียนนี้ ที่กำหนดให้มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นการริเริ่มและเสนอโดยกระทรวงการคลังมาตั้งแต่ต้น
3. ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบพบว่า บริษัท เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งการมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจะต้องมีระบบรายงานการดำเนินกิจการของบริษัทต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่าได้ลาออกจากตำแหน่งบริหารในบริษัทดังกล่าวแล้ว และไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ดังนั้น โดยสถานะทางกฎหมายแล้วนายกรัฐมนตรีและบริษัทฯ จึงไม่มีความเกี่ยวข้องต่อกัน ประกอบกับเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงทางธุรกิจเกี่ยวกับส่วนแบ่งทางการตลาดที่บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ปรากฏว่า บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีโครงการที่อยู่ในข่ายจะได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว จำนวน 9 โครงการ จากทั้งหมด 38 โครงการ มีจำนวนยูนิตที่มีราคาขายไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 409 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าโครงการเพียงร้อยละ 4.39 ของมูลค่าโครงการที่เปิดขายในปี 2554-2555 begin_of_the_skype_highlighting 2554-2555 end_of_the_skype_highlighting และคิดเป็นร้อยละ 0.16 ของจำนวนยูนิตบ้านจัดสรรและอาคารชุดที่ราคาขายไม่เกิน 5 ล้านบาท ในครึ่งปี พ.ศ. 2554 (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์)
นอกจากนี้ ในการขายขึ้นอยู่กับผู้บริโภคที่จะซื้อบ้านโดยสามารถตัดสินใจได้โดยอิสระว่าจะเลือกซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยในโครงการใดไม่อาจบังคับชักจูงให้ผู้ซื้อเลือกซื้อโครงการใดโครงการหนึ่งเป็นการเฉพาะได้ แต่จากการตรวจสอบข้อมูลผู้ถือหุ้นภาพรวม ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ของบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พบว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดย บลจ. แอสเซทพลัส จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้นจำนวนร้อยละ 0.85 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการถือหุ้นดังกล่าวของผู้ถูกร้องเรียนเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้จำเป็นต้องพิจารณากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นของรัฐมนตรีประกอบด้วย เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันและความในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับกับกรณีของนายกรัฐมนตรีด้วย โดยความนัยตามมาตรา 4 (2) บัญญัติว่ารัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้...(2) ในบริษัทจำกัดหรือมหาชนจำกัด รัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทนั้น
ดังนั้น จึงเห็นว่ากรณีการถือหุ้นของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดังกล่าว ยังไม่เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกันว่า เมื่อข้อเท็จจริงจึงยังไม่อาจสรุปได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 จึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณา
พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 โดยกราบเรียนนายกรัฐมนตรี และแจ้งผู้ร้องทั้ง 2 กรณี เพื่อทราบด้วยแล้ว