ความคิดเห็นที่ 19 | MsgStatus(Msv[19], 19); | ถ้ามีหลักฐาน และเอาผิดได้จริง เราสนับสนุนให้จับเข้าคุกให้หมด ไม่ว่าจะสีไหนก็แล้วแต่ แต่ที่แน่ๆเอาทักษิณกลับมาติดคุกก่อนแล้วกัน หลักฐานชัด ศาลตัดสินไปเรียบร้อยแล้ว จากคุณ | : Matepmak | เขียนเมื่อ | : 22 ส.ค. 55 13:51:44 A:124.121.109.6 X: | | | ***************************************** การตัดสินคดี น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 และมาตรา 184 ดังนี้ วิเคราะห์เชิงวิชาการ : คดีที่ดินรัชดา ฯ ผู้เขียน: ตุลาการผู้ไม่ภิวัตน์ หมายเหตุกองบรรณาธิการ : บทความนี้เป็นการศึกษา วิเคราะห์และเสนอความเห็นทางกฎหมายโต้แย้ง คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยอ้างอิงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตที่ดินรัชดา ซึ่งมี พตท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 2 กองบรรณาธิการได้นำคำพิพากษาและข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับคดีดังกล่าว แนบท้ายบทความ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทางวิชาการด้วย 00000000000000000000000000000000000000000000 ปรากฏจากคำพิพากษาที่อ่านและเปิดเผยแล้วว่า คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนลงมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดให้จำคุก 2 ปี ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ในชั้นที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดแต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด คะแนนเสียงจึงเป็น 4 ต่อ 4 เท่ากัน แย้งกันอยู่ กรณีเช่นนี้ ณ เวลานั้น ขณะนั้น จึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังกล่าวข้างต้นว่า ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดและกรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะมีคะแนนเสียงเท่ากัน หาเสียงข้างมากไม่ได้ ซึ่งกรณีย่อมต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 ที่บัญญัติว่า
ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า อีกด้วย
ดังนั้น ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีนี้ ซึ่งเป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้าย จึงต้องถูกผูกมัดและถูกบังคับด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งดังกล่าว ให้จำต้องลงมติว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด เพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน จะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม ด้วยเหตุนี้ คะแนนเสียงของผู้พิพากษาคดีนี้ ที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 จึงเท่ากับว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 และมาตรา 184 จึงมีข้อพิจารณาว่า เป็นการลงมติที่ถูกต้องหรือไม่ คำพิพากษาคดีนี้ สามารถยืนยันได้แท้จริงหรือไม่ว่า พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ควรต้องรับโทษในทางอาญา อนึ่ง การลงมติที่จะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 ดังกล่าวนี้ ย่อมครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาในการประชุม เพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาว่า จำเลยกระทำผิดหรือไม่ ควรลงโทษจำเลยหรือไม่เพียงใด หรือสมควรลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษ แต่รอการลงโทษจำเลยไว้หรือไม่เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากถ้อยคำตามตัวบทมาตรา 184 ที่ว่า ...ให้เจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพาทที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย... ถ้าในปัญหาใด มีความเห็นแย้งกัน
ดังนี้ แสดงว่าการลงมติขององค์คณะผู้พิพากษาในคดีอาญา ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 184 ทุก ๆ ประเด็นปัญหา ไม่มีข้อยกเว้น
ด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่กล่าวมา พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 จะได้รู้เห็นยินยอมให้คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่จะทำให้จำเลยที่ 1 กลายเป็นผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100(1) และมาตรา 122 วรรคสอง หรือไม่ และการประชุมปรึกษาองค์คณะผู้พิพากษาเป็นการประชุมและลงมติที่สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวมาแล้วหรือไม่ หากองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ได้ลงมติให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว มติในการพิพากษาคดีนี้ น่าจะเป็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังกล่าวหรือไม่
หากกรณีเป็นไปตามที่กล่าวมาโดยลำดับ สมควรหรือไม่ ที่พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะต้องได้รับโทษในทางอาญา
แก้ไขเมื่อ 22 ส.ค. 55 14:05:04
จากคุณ |
:
WTKn
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ส.ค. 55 14:00:59
A:58.9.109.80 X:
|
|
|
|