 |
ความคิดเห็นที่ 81
20 กันยายน 2533 นายมนตรีเปิดให้มีการประมูล มีผู้แข่งขัน 5 ราย คือ กลุ่มไทยแสท, กลุ่มโมดูลาร์, กลุ่มแอซตรา คอมแสท, วาเคไทย และ ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แต่มีผู้ยื่นซองเพียง 3 ราย ผลการเปิดซองปรากฏว่า "ทักษิณ" เสนอผลประโยชน์สูงที่สุดคือ 15.33% ตลอดอายุสัญญา 30 ปี และประกันผลกำไรขั้นต่ำ 1,350 ล้านบาท ไทยแสท เสนอผลประโยชน์เฉลี่ย 10% ประกันขั้นต่ำ 980 ล้านบาท วาเคไทยของ "คีรี กาญจนพาสน์" เสนอผลประโยชน์เฉลี่ย 8.78% และรายได้ขั้นต่ำ 876 ล้านบาท
ประเด็น สำคัญ อยู่ที่ "วาเคไทย" เสนอให้รัฐบาลใช้ช่องสัญญาณหรือทรานสปอนเดอร์ฟรี 0.5 ทรานสปอนเดอร์ในดาวเทียมดวงแรก และ 1 ทรานสปอนเดอร์ ในดวงที่ 2 "คีรี" ยืนยันว่าเมื่อตีค่าช่องสัญญาณฟรีเป็นเงินแล้ว ผลประโยชน์ที่เขาเสนอแก่รัฐนั้นมากกว่ากลุ่มชินวัตร แต่ในมุมของ "ทักษิณ" เขามองว่าเมื่อยิงดาวเทียมขึ้นไป ช่องสัญญาณดาวเทียมย่อมมีเหลือ สิ่งที่เหลือจึงไม่มีมูลค่าเป็น 0
วันที่ 14 ธันวาคม 2533 คณะกรรมการกลั่นกรองที่มี นายศรีภูมิ สุขเนตร ปลัดกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น เป็นประธานประกาศผลการตัดสินให้กลุ่มชินวัตรชนะ ประมูล โดยนายมนตรี เซ็นอนุมัติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ก่อน พล.อ.ชาติชายลาออกเพียง 1 วัน ด้วยความทะ:-)ในเรื่องเวลา ทำให้มีคนตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้มาก
พล.อ.ชาติชายต้องแก้ปัญหาด้วยการลาออก เพื่อปรับคณะรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชายลาออกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม นายมนตรีและพรรคกิจสังคมพยายามเล่นเกมการเมืองจึงถูกปรับพ้นจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชายดึงพรรคประชากรไทยเข้าร่วมรัฐบาล
นายสมัคร สุนทรเวช ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ "วาเคไทย" ยื่นหนังสือประท้วงกับนายสมัครทันที ณ เวลานั้น
รัฐบาลชาติชายถูกปฏิวัติโดย รสช. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
ถ้าโครงการดาวเทียมเป็น "ลูกบอล" ก็มีช่วงนี้เท่านั้นที่ลูกบอลอยู่ในการครอบครองของ "บิ๊กจ๊อด" และ รสช. ขณะนั้นกำลังภายในของ "ทักษิณ" สู้กลุ่มวาเคไทยของ "คีรี กาญจนพาสน์" ไม่ได้
พล.อ.สุจินดา คราประยูร รองประธาน รสช. และผู้มีอำนาจสูงสุดตัวจริงของ รสช. เพิ่งให้สัมภาษณ์ล่าสุดว่าเขาเป็นประธานกรรมการของสนามกอล์ฟธนาซิตี้ที่มีบัตรเครดิตให้ใช้จ่ายไม่จำกัดจำนวน
"ธนาซิตี้" คือโครงการแรกในเมืองไทยของ "คีรี กาญจนพาสน์" ทาง "วาเคไทย" ยื่นหนังสือคัดค้านถึง พล.อ.สุนทร และมีการยัดไส้เอกสารให้เซ็นไปยังกรมอัยการ ประเด็นที่เขาต้องเคลียร์มี 2 เรื่อง คือ 1.ความสัมพันธ์กับ ร.ต.อ.เฉลิม และ 2.ผลประโยชน์ที่รัฐจะได้ในโครงการดาวเทียมระหว่างข้อเสนอของกลุ่มชินวัตร กับวาเคไทย
การดึงเอกสารคัดค้านกลับอาจเป็นบุญคุณที่ "บิ๊กจ๊อด" มีกับ "ทักษิณ" แต่ช่วงเปลี่ยนผ่านของอำนาจนั้นสั้นนัก เพราะเพียงแค่ต้นเดือนมีนาคม นายอานันท์ ปันยารชุน ก็มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาตั้งนายนุกูล ประจวบเหมาะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากนั้นลูกบอล "ไทยคม" ถูกส่งต่อจาก รสช. ไปอยู่ในการครอบครองของนายนุกูล
ที่มา
บทความพิเศษ : ไทยคม-ชัด-ลึก สัมพันธ์อลเวง 'ทักษิณ-จ๊อด' และท่านสารวัตร มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1076 วันที่ 2 เมษายน 2544
--สรกล อดุลยานนท์--
ไปอ่านเหตุการให้ตาแจ้งไป
บิ๊กจอดมาเกิดเอาช่วงไหน เจอยัง ไปชิวๆๆๆๆ
ผมอธิบายเป็นครั้งที่สามแล้วน่ะ ถ้ายังโง่ไม่เข้าใจอีก ก็ไม่รู้จะว่ายังงัยแล้ว
เซ็งว่ะ
สมงสมองไปหมดแล้วปลวกแดง
จากคุณ |
:
ราชาอาหารเช้า
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ส.ค. 55 21:39:50
A:110.77.160.6 X:
|
|
|
|
 |