จะเอาอะไรกันนักกันหนาครับ กับจินตนาการกับการอ้างเรื่องข้อเท็จจริงจากสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเองครับ
เอาง่ายๆ นะจากประโยควรรคนี้
จากคำเบิกความของนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในกำกับกระทรวงการคลัง นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเป็นผู้กำกับดูแลกระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินต้องอาศัยรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านการเงินโดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะไม่เข้าไปสั่งการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยลำพัง เว้นแต่มีเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีสามารถให้ความเห็นหรือสั่งการได้
โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะไม่เข้าไปสั่งการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยลำพัง
ตรงนี้นายชวนไม่ได้ให้การว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจ ควบคุมสั่งการหน่วยงานนี้ได้โดยตรง แต่ไม่ได้ปฏิเสธนะครับ
เว้นแต่มีเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีสามารถให้ความเห็นหรือสั่งการได้
ตรงนี้บอกเพียงว่า ถ้าเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเมื่อไร นายกฯ ถึงให้ความเห็นหรือสั่งการได้ และมติคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่คำสั่งนายกรัฐมนตรี ถ้าใช่แล้วจะมีมติคณะรัฐมนตรีไว้เพื่ออะไร?
ประเด็นก็คือ นายกฯ ให้ความเห็นในนามคณะบุคคล ไม่ใช่สั่งการบังคับบัญชาด้วยตัวเองโดยตรง
ประเด็นถัดมาคือ ก่อนลงลายมือชื่อได้สอบถามกฤษฎีกาแล้ว ว่าทำได้หรือไม่ ผลก็ตอบมาว่าทำได้
ประเด็นที่ต้องตอบคำถามสังคมคือ
- นายกฯสั่งการกองทุนโดยตรงได้อย่างไร ถ้านายกฯ สั่งผ่านรมต.คลังแล้ว รมต.คลังจะต้องทำตามเท่านั้นหรือ กระทำเป็นอื่นไม่ได้โดยเด็ดขาดหรือ?
- รมต.คลัง ถ้าไม่ทำตามคำสั่งนายกฯ กับหน่วยงานนี้จะต้องเสียชีวิตโดยพลันหรือ? รมต.คลังยื่นหนังสือลาออกไม่ได้หรือ? ต้องทำตามคำสั่งเท่านั้น
- มาตรา 11(1) พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ระบุว่านายกฯ มีอำนาจสั่งการหน่วยงานที่ว่า แล้วนายกฯ ใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับใด สั่งการ ควบคุม ดูแล หน่วยงานนั้น
- ถ้าคำสั่งข้างต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย(มาตรา 11(1)) แล้วนายกฯ มีอำนาจอะไรไปควบคุมสั่งการหน่วยงานนั้น
- หรืออำนาจนอกกฎหมายของนายกฯ มีสิทธิสั่งการหน่วยงานนั้นๆ? และให้ถือว่าเป็นอำนาจโดยตรงของนายกรัฐมนตรีตามกฎหมาย?
ก็ยืนยันว่าเป็นเพียงความคิดในเรื่องข้อเท็จจริงจากสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาด้วยตัวเองเท่านั้นครับ