นายกฯไม่มีหน้าที่ไปสั่งปลัดโดยตรงนะครับ หากต้องการสั่งปลัดเขาจะสั่งผ่าน รัฐมนตรี แล้วขอบเขตงานของนายกทางด้านบริหาร ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวเนื่อง โดยตรงกับปลัดเลยครับ นายกตัดสินใจ อนุมัติ รัฐมนตรีกำหนดแนวทางต่อ ปลัดก็ดำเนินการไป รัฐมนตรีก็กำกับดูแล
|
|
|
ถ้าสังเกตุดู ที่บอกว่านายกฯไม่มีหน้าที่ไปสั่งปลัดโดยตรง
และหากต้องการจะสั่งเขาจะสั่งผ่าน รมต. สังเกตุดูครับ
ว่าสุดท้ายมันก็คือคำสั่งที่มาจากนายกฯ
และที่ผมบอกว่าหน้าที่ในส่วนการบริหารของนายกฯ
ไม่มีอะไรเกี่ยวเนื่องกับปลัดโดยตรง นั่นจะหมายถึง
จริงๆแล้ว นายกฯไม่มีหน้าที่สั่งงานปลัดครับ
ตามที่ผมเคยบอกตระกองขวัญไว้ว่า นายกไม่มี
หน้าที่สั่งการแต่เขาใช้
อำนาจสั่งการ เพราะหน้าที่ของเขาคือกำหนดแนวทาง
ผมจะไล่เรียงขั้นตอนการทำงานตามระบบบริหารให้เข้าใจง่ายๆครับ
มันจะวนๆอยู่แบบนี้ ไม่หนีไปไหน แล้วคุณจะรู้หลักการทำงานเป็นระบบ
ก่อนจะนำไปเปรียบเทียบกับการบริหารของ นายกฯ
ซึ่งผมจะนำมาอธิบายผนวกกับคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย
มันจะเห็นภาพชัดเลยครับ พิสูจน์ว่าพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลกจริงๆ
เอาแบบ 3 ส่วนจะได้เข้าใจง่ายๆครับ
คือมี 1) บริหาร 2)หัวหน้า 3)ปฏิบัติ
ผมตัดขั้นตอนการทำแผน หรือนโยบายไปเลยละกันนะครับ
หลังที่ได้ร่างนโยบาย หรือแผนการทำงานเสร็จแล้ว
1)บริหาร
จะทำหน้าที่
กำหนดแนวทาง,
2)หัวหน้า
จะทำหน้าที่
สั่งงาน, ควบคุมแนวทาง
3)ปฏิบัติ
จะทำหน้าที่
จัดทำ,บันทึก
นี่คือ
"เหตุ"ไปหา
"ผล" เหตุคือบริหาร ผลจะย้อนมาสู่การ รับผิด หรือรับชอบ ที่เราเห็นนักการเมืองชอบพูดว่า"รับผิดชอบ" บ่อยๆแต่เลือกทำแต่
รับชอบล่ะครับ ฮาาาา
และมันจะย้อนกลับล่ะครับ เพื่อนำ
"ผล"มาพิจารณา และ
สร้าง"เหตุ"ใหม่หน้าที่นี้จะสะท้อนขึ้นไปหาในระดับสูงขึ้น แต่ผู้บริหารสูงสุด ทำสูงขึ้นไป
อีกไม่ได้ ดังนั้น การกระทำจะย้อนลงไปหาลูกน้อง
1)ปฎิบัติ
จะทำหน้าที่
รวบรวม, สรุป,รายงาน
2)หัวหน้า
จำทำหน้าที่
ตรวจสอบ,สรุป,รายงาน ชี้แจง,เสนอแนะ
3)บริหาร
จะทำหน้าที่
พิจารณา,ประเมินผล,
ทีนี้จะต่อด้วยการริเริ่มของ"เหตุ"ครั้งใหม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้บริหาร
ดังนั้นหากลูกน้องไปกระทำแทนท่าน หากทำได้ด้วยดีเพราะหวังดี
นั่นคือลูกน้องท่านกำลังมีคุณสมบัติแห่งความเป็นผู้นำอยู่นะครับ
การริเริ่มนั้นคือการ "ตัดสินใจ"
และมันก็จะกลับสู่โหมดจาก เหตุ ไปหา ผล เช่นเดิม
3)ปฏิบัติ
จะทำหน้าที่
จัดทำ,บันทึก
นี่คือหลักการบริหารจัดการทั่วไปครับ แต่หากมีเหตุอันนอกหนือ หรือไม่ปกติ
จะใช้อำนาจในการดำเนินการลักษณะของการกระทำมันอาจลดขั้นตามหน้าที่ไป
เช่น
3)ปฏิบัติ จะทำหน้าที่ จัดทำ,บันทึกและรายงาน
ตัวอย่างคร่าวๆเพื่อให้เห็นภาพนะครับ หลักการบริหารงานมีไว้เพื่อ
ให้การทำงานเป็นไปแนวทางเดียวกัน ญี่ปุ่นเขาทำได้ดีครับ
ดังนั้นสังเกตุดูแล้ว หน้าที่บริหารนั้น จะไม่มีการสั่งงานในส่วนของบริหาร
แต่มีหน้าที่หลักสำคัญคือการตัดสินใจ และกำหนดแนวทางเพื่อดำเนินงาน
ทีนี้ โครงสร้างใหญ่ๆอย่างรัฐบาลมีสิ่งที่ผมอธิบายให้เข้าใจต่อการปฏิบัติ
ให้เห็นภาพได้ เพราะ นายกฯ,รมต.,ปลัดฯ นั้นล้วนแต่เป็นผู้บริหารทั้งนั้น
แต่มันแยกส่วนตามขอบเขตของหน้าที่ส่วนรับผิดชอบตามภาพรวมครับ
ผมจะแสดงส่วนการบริหารที่ควรเข้าใจบางส่วน เช่น
1)นายก ทำหน้าที่ กำหนดแนวทาง(ภาพรวมประเทศ),บริหาร(ครอบคลุมทุกกระทรวง)
3)ปลัดฯ ทำหน้าที่ ดำเนินการ(ที่รับจากรมต.),กำหนดแนวทาง(ต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ),บริหาร,ควบคุมแนวทาง(ต่อภาพรวมที่ได้รับจากรัฐมนตรี)
แนวทางที่ถูกกำหนดคือสิ่งที่ผู้บริหารกำหนดขึ้นเอง
ส่วนการควบคุมแนวทาง คือสิ่งที่รับมาปฏิบัติจากระดับสูงกว่า
ทีนี้ก็ไล่เรียงตามตัวอย่างดูก็ได้ครับ ไล่ไปส่วนไหนกระทรวงไหน
และเมื่อใดที่การบริหารไม่เป็นไปตามปกติ บริหารก็ใช้อำนาจ
ซึ่งสั้งเกตุได้ว่าลักษณะคำจะออกมาในแนวระดับที่ต่ำขั้นกว่า
โดยปกตินายกฯไม่เกี่ยวกับปลัด แต่เมื่อต้องการกระทำอะไร
ที่เกิดหลังจากการประเมินการได้รับการร้องเรียน ร้องขอ เร่งด่วน
ก็จะเปลี่ยนไป เช่น
นายกได้รับคำร้องมาโดยตรง ว่าอาจมีระดับ"ผู้ว่าการ"กระทำการทุจริตขึ้น ก็จะ
ใช้อำนาจสั่งการให้รัฐมนตรีดำเนินการ(อาจดำเนินการโดยสั่งการต่อ)เพื่อตรวจสอบ หรือ
ใช้อำนาจสั่งการไปถึงปลัดโดยตรงเนื่องจากเห็นว่าสำคัญมาก
กรณีที่ 2
นายกเห็นว่ากรมนี้มีปัญหากับประชาชน เช่น เรื่องปากท้อง
นายก จึงสั่งการให้รัฐมนตรีไปควบคุมดูแล
นายก จึงสั่งการตรงไปเพื่อปรับแนวทาง(ควบคุมเอง)
น่าจะพอมองภาพออกต่ออำนาจในการบริหารจัดการบ้างแล้วนะครับ
พรุ่งนี้ผมจะเข้ามาอ่านใหม่ครับ วันนี้ง่วงละ ขอตัวครับ
นับถือ