ผมเชื่อว่า สิ่งที่คุณ ASIRAM อาจพลาดในการตีความกฎหมายนี้ เนื่องจากไม่ได้
ดูภาพรวมทั้งมาตรา จึงเข้าใจว่าใน(1) นั้น กระทำเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐ ไปสั่งการ
ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไปกระทำการเพื่อทุจริต
เพราะใน(2-4) นั้น สื่อเจตนาเชิงการเข้าไปมีส่วนร่วมกับผลประโยชน์
ไม่ว่าเรื่องสัมปทาน หุ้นส่วนบริษัท รวมถึงห้างหุ้นส่วนที่ทำสัญญากับรัฐ
แม้แต่การเข้าไปเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา หรือตัวแทนบริษัทที่อยู่ภายใต้
การกำกับดูแลของภาครัฐ
จึงชี้ชัดได้ว่า มาตรา 100 นี้ มีเจตนาเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐนั้นเข้าไปมีส่วนร่วม
รู้ เห็น หรืออยู่ในสถานที่ อันอาจจะนำอำนาจของตนเองไปกระทำการเพื่อทุจริตได้
ส่วนใน(1) นั้น จึงเชื่อได้ว่า มีเจตนาไว้เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐ นั้นได้ใช้อำนาจ
ตนเอง เพื่อไปกระทำการอันได้ประโยชน์ต่อสัญญาที่มีลักษณะได้เสียกับรัฐ
และหากพิจาณาขอบเขตอำนาจที่ระบุในตอนท้าย
อำนาจจากการกำกับดูแล คืออำนาจบริหารจัดการโดยตรง
อำนาจ ตรวจสอบ ควบคุม ดำเนินคดีนั้น จะเป็นอำนาจในข่ายความรับผิดชอบ
จะสังเกตุว่าผู้ร่างเจตนานั้น มิได้ระบุ
หน้าที่ต่อการกระทำลงไปด้วย
จึงชี้ให้เห็นว่า
หากระบุอำนาจไว้นั้น จะหมายถึงขอบเขตงานในส่วนที่รับผิดชอบตามหน้าที่
เพื่อมิให้อำนาจนั้นจะไปกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ อันจะส่งผลทำให้สัญญานั้น
ถูกกระทำโดยทุจริตได้ หรือแม้จะอ้างอิงใน (2) ของมาตรา100 ที่ระบุเชิง
ห้ามเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นกับบริษัทที่เป็นคู่สัญญาของรัฐ
จึงชี้ชัดได้ว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐนั้นเข้าไปมีส่วนในสิ่งที่อาจนำอำนาจ
ของตนไปเอื้อประโยชน์ให้ตนเองได้
ข้อสังเกตุ
คือ อำนาจการตรวจสอบ หรือ อำนาจดำเนินคดี นั้นมิได้อยู่ในส่วนนโยบาย
ดังนั้น
ข้อโต้แย้งที่น่าจะชี้ได้ คือ หากข้อโต้แย้งเรื่องเจตนาเพื่อการสั่งการของคุณ
ASIRAM ตกไปด้วยการตีความต่อทั้งมาตราแล้ว มิใช่เพื่อการบังคับ
ให้ผู้บังคับบัญชากระทำการทุจริตแทนเท่านั้น
แต่รวมถึงอำนาจในการกำหนดแนวทางต่างๆเพื่อสามารถเอื้อประโยชน์
ในข้อสัญญาที่สามารถกระทำเชิงได้เสียกับรัฐได้ด้วย และการกำหนดแนวทางนั้น
สามารถกระทำได้ทั้งจากอำนาจที่กำกับดูแลโดยตรง และทั้งอำนาจจากการควบคุมดูแล ซึ่งอำนาจ
ควบคุมนั้น ผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไป
สามารถกระทำการได้ทั้งสิ้น
เช่น
นายกต้องการที่ดินรัชดา จึงกำหนดนโยบายบ้านเอื้ออาทร
วางหลักเกณฑ์ในการซื้อขายให้ตนเองได้เปรียบต่อการซื้อได้ง่าย และถูก
กำหนดหลักเกณฑ์นี้ผ่านรมตไปดำเนินการ
ส่งผ่านปลัด หรือส่งต่ออธิบดี
กระทรวง หรือหน่วยงานนั้นดำเนินการตามแนวทางที่นายกฯกำหนดแนวทางมา
นายกไปซื้อเอง
ทั้งนี้เจตนามาตรา 100) มุ่งเน้นในเรื่องผลประโยชน์ระหว่างเอกชนกับรัฐ
จึงเชื่อได้ว่า อีกนัยหนึ่งของมาตรานี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเอาเปรียบทางการแข่งขัน
เพื่อจะเข้ามามีส่วนร่วมทางผลประโยชน์กับรัฐด้วยอำนาจจากจนท.รัฐด้วย
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P12593340/P12593340.html#66