ประวัติทรราช... นายอภิสิทธ์
|
|
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร้อยตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือชื่อเกิดว่า มาร์ก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (โรมัน: Mark Abhisit Vejjajiva,[2] เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการต่อถึงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 เนื่องจากเป็นหัวหน้าพรรคใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรด้วย
อภิสิทธิ์เกิดในแคว้นอังกฤษ เข้าวิทยาลัยอีตัน และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2535 ขณะอายุได้ 27 ปี เขาถูกจัดอันดับเป็นนักการเมืองแถวหน้าของพรรคอย่างรวดเร็ว แต่อภิสิทธิ์ก็เคยแพ้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เมื่อ พ.ศ. 2544 อภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังพรรคแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548[3] อภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในวัย 44 ปี ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี[4] หลังศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเป็นผลให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่ง อภิสิทธิ์เป็นผู้นำประเทศระหว่างวิกฤตการณ์การเงินโลก และเผชิญหน้ากับความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะดำรงตำแหน่ง เขาเสนอ "วาระประชาชน" ซึ่งมุ่งสนใจนโยบายซึ่งมีผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของพลเมืองชนบทและผู้ใช้แรงงานของไทยเป็นหลัก[5] เขาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสองประการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสามปี มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ และโครงการให้เงินอุดหนุนและแจกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ[6] ยุคอภิสิทธิ์มีการปิดเว็บไซต์และสถานีวิทยุเป็นจำนวนมาก ตลอดจนจับกุมและปิดปากบุคลากรสื่อ ผู้ต่อต้านและหัวหน้าแรงงานจำนวนมาก โดยอ้างความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[7][8] จากรายงาน พ.ศ. 2553 ฮิวแมนไรตส์วอตช์เรียกยุคอภิสิทธิ์ว่าเป็น "มีการเซ็นเซอร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยล่าสุด" และฟรีดอมเฮาส์ ลดระดับอันดับเสรีภาพสื่อของไทยลงเหลือ "ไม่เสรี"[9] [10] อภิสิทธิ์ยังสนับสนุนมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่รัฐมนตรีหลายคนกลับมีเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายส่วนถูกวิจารณ์ว่าคอร์รัปชัน
รัฐบาลอภิสิทธิ์เผชิญการประท้วงใหญ่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553
การสลายการชุมนุมทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยศพ[11][12]
อภิสิทธิ์ดำเนินโครงการปรองดองเพื่อสืบสวนเหตุสลายการชุมนุม แต่การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกลับถูกขัดขวางโดยองค์กรทหารและองค์กรรัฐ[13] กองทัพไทยปะทะกับกัมพูชาหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2552-2553 ซึ่งเป็นการสู้รบนองเลือดที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ
เหตุความไม่สงบในชายแดนภาคใต้บานปลายขึ้นระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์ และรายงานการทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้น
หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แต่ได้รับเลือกใหม่ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน
จากคุณ |
:
spindle
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ก.ย. 55 12:49:23
A:61.7.232.234 X:
|
|
|
|