 |
มาร์ก1 มาร์คทุจริต SML ปัญหาคือปรัชญาของโครงการนี้คือให้ชาวบ้านนำเสนอโครงการ และผ่านกระบวนการประชุมของหมู่บ้าน เพื่อขอเงินกู้จากรัฐบาล แต่ปรากฏว่าในเอกสาร ของรัฐบาลได้แนบโครงการตัวอย่าง และมีการชี้นำให้ใช้สินค้าของเอกชนเฉพาะรายเข้าไปด้วย เช่น เครื่องผลิตน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ ที่แนบราคา และชื่อผู้จำหน่ายเบ็ดเสร็จ มี 3 ขนาดคือ ขนาดใหญ่ 300,000 บาท ขนาดกลาง 250,000 บาท และขนาดเล็ก 200,000 บาท ตามด้วยโคมไฟถนน พลังงานแสงอาทิตย์ ราคาดวงละ 50,000 บาท หรือเตาเผาขยะประสิทธิภาพสูง ราคาชุดละ 100,000 บาท โดยมีระบุในวงเล็บด้วยว่า จัดตามวงเงิน ที่ได้รับมา 1 อย่าง หรือทุกอย่างให้ครบตามวงเงิน ตรงนี้ถือว่าส่อทุจริตอย่างชัดเจน
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ได้ตั้งงบกลางมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกแรก 1.167 แสนล้านบาทในงบประมาณปี 2552 ซึ่งงบก้อนนี้อยู่ในการบริหารจัดการของพรรคประชาธิปัตย์เป็นส่วนใหญ่ คือ 7.4 หมื่นล้านบาท และเกือบทุกโครงการเป็นโครงการที่ล้วนแต่ได้ชื่อว่าประชานิยม ได้แก่ โครงการช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 2,000 บาท ใช้งบ 2,652 ล้านบาท (งบกลาง),โครงการค่าใช้จ่ายเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน 6,900 ล้านบาท (งบกลาง),โครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาทต่อผู้ประกันตน จำนวน 8,138,815 คน,โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือนเพื่อลดค่าครองชีพประชาชน ซึ่งรัฐบาลจะต้องจ่ายงบประมาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวม 11,409 ล้านบาท, โครงการเรียนฟรี 15 ปี ใช้งบประมาณ 2.46 หมื่นล้านบาท,โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน 15,200 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้กับข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 1,808 ล้านบาท,โครงการปรับปรุงสถานีอนามัย 1,095 ล้านบาท
ส่วนภูมิใจไทยในงบกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งแรกนั้น กระทรวงที่ภูมิใจไทยดูแล ได้แก่กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ได้รับงบประมาณไปกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท โดยโครงการสำคัญๆ ได้แก่โครงการจัดสร้างทางในหมู่บ้านของ กรมทางหลวงชนบท 490 กิโลเมตร ได้งบ 1,500 ล้านบาท ในกระทรวงมหาดไทยได้รับงบ 12,552 ล้านบาท เป็นโครงการสร้าง หลักประกันรายได้ 9,000 ล้านบาท เบี้ยผู้สูงอายุคนละ 500 บาท นอกจากนี้ยังมีโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี ได้รับงบ 552ล้านบาทให้กับโรงเรียนในกำกับของอปท. 1,036 แห่ง โครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)และประชาชน ในท้องถิ่น 3,000 ล้านบาท กรมการค้าภายในได้รับจัดสรร 1,000 ล้านบาททำกิจกรรมธงฟ้า ขณะที่พัทยาได้เงินจัดสรรค 4.3 ล้านบาท ในโครงการเรียนฟรี 15 ปี ด้านชาติไทยพัฒนาเป็นพรรคที่ได้แบ่งเค้กมากเป็นอันดับ 3 โดยได้จัดสรรงบก้อนแรกประมาณ 2.1 พันล้านบาท เป็นโครงการสนับสนุน และพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรงบ 1,933 ล้านบาท ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดินได้รับจัดสรรงบก้อนแรกไป 500 ล้านบาท ได้แก่โครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม 183 ล้านบาท,โครงการร่วมลงทุนอาหารฮาลาล 128 ล้านบาท การนิคมอุตสาหกรรม 14 ล้านบาท และกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 172 ล้านบาท เป็นต้น นี่เป็นเพียงแค่ยกแรก! ชำแหละ sp2 เค้กก้อนนี้ใครได้ประโยชน์ มาถึงแผนงานที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง 1.43 ล้านล้านบาท หรือที่เรียกว่า sp 2 ว่ากันว่างานนี้เค้กจัดสรรงบประมาณสูงที่สุดกว่า 5.7 แสนล้านบาทในระยะเวลา 3 ปีเป็นของ ภูมิใจไทยภายใต้การนำ ของเนวิน ชิดชอบ ซึ่งคิดเป็น 40% ของเงินกู้ทั้งหมด ส่วนชาติไทยพัฒนาที่ดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้รับจัดสรรงบประมาณ รวมถึง 2.3 แสนล้านบาท เพื่อใช้สำหรับโครงการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดเล็ก และการประกันพืชผลทางการเกษตร ซึ่งยังไม่รวมถึง งบการท่องเที่ยวมหาศาลที่มีเจ้ากระทรวงคือ ชุมพล ศิลปอาชา และเจ้ากระทรวงเงาชื่อ วีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ เด็กในสังกัด บรรหาร ศิลปอาชา ที่เพิ่งถูกประท้วงจากสหภาพการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เหตุล้วงลูกงบประมาณไปหมาดๆด้วย ขณะที่รวมใจไทยชาติพัฒนาได้งบ กระทรวงพลังงาน แบ่งเค้กก้อนนี้ไปด้วย 2 แสนล้านบาท โครงการไทยเข้มแข็งนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2533-2555)โดยจะใช้งบมาจาก 3 ส่วนได้แก่ งบประมาณปี 2553 จำนวน 613,855 ล้านบาท เงินกู้จากพ.ร.ก.และพ.ร.บ. 8แสนล้านจำนวน 692,244 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 260,768 ล้านบาท อีกทั้งในปี 2554-2555 จะมีการใช้งบประมาณ ประจำปี 2554 และ 2555 มารวมด้วย จึงทำให้งบก้อนนี้เป็นงบก้อนใหญ่มหึมาและผูกพันเป็นระยะเวลาถึง 3 ปี แผนงานโครงการไทยเข้มแข็งนี้มีทั้งหมด 13 หมวด ได้แก่ สาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตร,สาขาขนส่ง/โลจิสติกส์,สาขาพลังงาน,สาขาการสื่อสาร, สาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว,สาขาพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข,สาขาการศึกษา,สาขาสวัสดิภาพของประชาชน,สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี,สาขาสิ่งแวดล้อม,สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว,สาขาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และสาขาการลงทุนในระดับชุมชน โดยเงินลงทุนที่ต้องการ ในปี 2552-2553 มีจำนวน 235,720 ล้านบาท และวงเงินลงทุนที่ต้องการในปี 2554-2555 มีจำนวน 685,796 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จแล้วเป็นจำนวนมาก ถึง 921,516 ล้านบาท โดยรัฐบาลประกาศว่าจะนำไปใช้ในโครงการขนาดเล็กได้มากถึง 6,000 โครงการ ในส่วนของภูมิใจไทย โครงการที่น่าจับตาที่สุดอยู่ที่โครงการขนส่งทางถนน ซึ่งกรมทางหลวงจะได้รับวงเงินงบประมาณใน 10 โครงการ (ปี 2552-2555) วงเงินรวม 98,054 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานเป็น 4 ช่องจราจรระยะที่ 2 ที่มีวงเงิน 11,465 ล้านบาท ขณะที่งานบำรุง รักษาทางหลวงอยู่ที่ 44,865 ล้านบาท และงานอำนวยความปลอดภัยอยู่ที่ 12,870 ล้านบาท ส่วนกรมทางหลวงชนบทนั้น มีโครงการทั้งสิ้น 4 โครงการ จะต้องใช้งบประมาณผูกพันทั้งสิ้น 41,707 ล้านบาท โดยโครงการถนนไร้ฝุ่น ใช้งบประมาณมากที่สุดคือ 34,341.485 ล้านบาท นอกจากนี้ก็มีการก่อสร้าง ถนนสาย A17 ลาดกระบัง 3,436 ล้านบาท ถนนสายต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก 2,070 ล้านบาท และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนน นนทบุรี 1,860 ล้านบาท รวมสาขาขนส่งทางถนนทั้งหมดต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 139,761.525 ล้านบาท นอกจากนี้ตามแผนในปี 2553-2555 ยังมีโครงการระบบรถไฟฟ้ารวม 135,314 ล้านบาท โครงการระบบราง17,190 ล้านบาท โครงการขนส่งทางอากาศ 1,119 ล้านบาท ประกอบอยู่ในแผนงานโครงการเข้มแข็งของกระทรวงคมนาคมด้วย ส่วนชาติไทยพัฒนา ถูกจับตามองว่าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งหมดมีผลประโยชน์เอื้อต่อนักการเมืองท้องถิ่นและระดับชาติให้กับพรรคชาติไทยพัฒนา มากสุด เพราะดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยตามแผนงานกระทรวงเกษตรฯ จะได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 192,148.258 ล้านบาท เงินก้อนใหญ่ ในส่วนนี้ไปอยู่ที่กรมชลประทานในโครงการจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 78,432 ล้านบาท พรรคกิจสังคม นำโดยสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับแบ่งงบก้อนนี้ไปด้วยงบประมาณ 21,339.686 ล้านบาท เป็นงบในกรมทรัพยากรน้ำ 18,330.650 ล้านบาท ซึ่งเทงบก้อนใหญ่ไปที่โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำมากถึง 12,155.650 ล้านบาท ตามด้วยงบที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ 3,009.036 ล้านบาท กระทรวงพลังงาน นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล คู่เขยสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ได้รับจัดสรรในส่วนของกระทรวงพลังงาน 79,944 ล้านบาทด้วย ด้านพรรคประชาธิปัตย์เอง งบ sp2 นี้ตามแผนทั้ง 5 ปี โดยรวมจะอยู่ที่มากที่กระทรวงศึกษาธิการ 130,578 ล้านบาท และกระทรวงสาธารณสุขที่จะมี การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุขได้งบ 83,374ล้านบาท และหน่วยงานอื่นๆ รวม 116,481 ล้านบาท ทั้งงหมดนี้ยังไม่รวมงบที่กระจายไปให้กระทรวงหรือหน่วยงานอื่นๆ ยิบย่อยอีกไม่น้อย!
ก่อสร้างยุค 'อภิสิทธิ์' 100 ชัก 30? อย่างไรก็ดี เมื่อดูงบประมาณที่มาใช้ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เป็นงบก่อสร้างจำนวนมาก เชื่อว่าในงบขนาดใหญ่ อย่างเมกะโปรเจคต่างๆ ถูกจับตามองจากสื่อ อย่างใกล้ชิด ก็น่าจะผ่านครม.ได้ยาก เพราะมีผู้ตรวจสอบจำนวนมาก แต่ปกติแล้ว การก่อสร้างต่างๆ ผู้รับเหมาจะให้นักการเมืองปกติประมาณ 5-10% แต่ก็สามารถชักได้มากถึง 20-30% ส่วนโครงการก่อสร้างขนาดเล็กในพื้นที่ต่างๆ ที่ผ่านมามีการประชุมสัมมนาเรื่องนี้หลายครั้ง และพบว่า การทุจริต ในพื้นที่นั้น สามารถทุจริตได้มากถึง 50-100% ในบางโครงการ เช่นโครงการขุดลอกคลอง มีการตั้งงบ 5 แสน-1 ล้านบาท แต่พบว่ามีบางพื้นที่ไม่มี การขุดลอกคลองจริง และนักการเมืองท้องถิ่นได้เงินก้อนนี้ไปถึง 100% ซึ่งน่าเป็นห่วงมากโดยเฉพาะงบที่ไปสู่การบริหารส่วนท้องถิ่นที่จะมีมูลค่าถึง 25% ของงบประมาณทั้งหมด และมีข่าวว่ามีการทุจริตตั้งโครงการตั้งแต่ในกระทรวงมหาดไทยด้วยความแตกต่างอันนี้ทำให้ทุกภาคส่วน ต่างขยับตัวเพื่อตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด เปิดโครงการเอื้อทุจริต ตรวจสอบยาก ไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา ประธานคณะกรรมการอนุกรรมธิการส่งเสริมการมีส่วนร่วม เปิดเผยว่าในส่วนของวุฒิสภา แม้สุดท้ายแล้ว ที่ประชุมจะผ่าน พ.ร.ก.4 แสนล้านบาทให้รัฐบาลไปดำเนินโครงการไทยเข้มแข็ง แต่ก็ยังเชื่อว่าจะมีการทุจริตกับโครงการต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อนำเงินไปใช้สำหรับการเลือกตั้ง ในครั้งต่อไป ฉะนั้นต่อไปนี้จึงจะมีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และพรรคร่วมอย่างใกล้ชิด โดยการดูว่าโครงการไหนที่สามารถทุจริตได้นั้น ดูไม่ยาก เช่น ในกระทรวงคมนาคม งบก้อนที่จะนำมาวัดผลได้ยากที่สุด และจะต้องจับตาดูเป็นพิเศษ คืองบบำรุงรักษาทางหลวง ที่กระทรวงคมนาคมได้งบในส่วนนี้ไปถึง 44,865 ล้านบาท หรืองานพัฒนาทางหลวง 9,100 ล้านบาท หรืองานอำนวย ความปลอดภัย 12,870 ล้านบาท เพราะเป็นงบในลักษณะเดียวกัน คือมีรายละเอียดยิบย่อยจำนวนมาก ตรวจสอบยาก ขณะที่รัฐบาลได้ตั้งงบในกลุ่มนี้ เป็นก้อนใหญ่มาก ขณะที่โครงการถนนไร้ฝุ่น ดูจากรูปแบบเบื้องต้นแล้ว จะสามารถทุจริตได้ง่ายตั้งแต่รูปแบบการประมูล และผลประโยชน์จะตกไปอยู่กับ ส.ส.ที่เป็นนายทุน พรรค และผู้รับเหมาขนาดกลาง ตรวจสอบได้ยากเช่นกันเพราะเป็นโครงการยิบย่อย ต่างกับโครงการเมกะโปรเจคที่ผลประโยชน์มักไปตกอยู่กับผู้รับเหมา ขนาดใหญ่น้อยราย ส่วนใหญ่เป็นนายทุนให้กับพรรคการเมือง ซึ่งโครงการเมกะโปรเจคนี้จะตรวจสอบการทุจริตได้ง่ายกว่า เพราะส่วนใหญ่ผู้รับเหมา มักเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ และหากนำกฎเกณฑ์ตามแบบการกู้เงินไจก้าของญี่ปุ่นมาใช้ในการตรวจสอบเปรียบเทียบแล้ว ก็เชื่อว่าจะทุจริตได้ยาก สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศ ผู้ได้ประโยชน์มากคือผู้รับเหมาในเครือข่ายของคนระดับเจ้าของพรรค ตรวจสอบยากเพราะเป็นโครงการ ขนาดเล็ก และกระจายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้านพลังงานอยากให้จับตาดู ปตท. เพราะได้ข่าวมาว่าจะมีการตั้งบริษัทลูก ที่ปตท.ถือหุ้นใหญ่เข้ามารับงาน ผลประโยชน์จะตกอยู่กับเอกชนที่เป็นบริษัท ลูกเหล่านี้ เพราะจะได้ผลประโยชน์จากสัญญากับรัฐ เช่น เป็นผู้จัดหาน้ำมันปาล์ม,ผู้รับวางท่อ,ผู้จัดซื้อต่างๆฯลฯ ในส่วนด้านไอที งบที่น่าสงสัยที่สุดคืองบด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ตอนนี้หลายๆกระทรวงได้ตั้งงบตัวนี้มา ซึ่งเป็นงบที่ตรวจสอบได้ยาก มาก ถ้าเทียบกับสมัยก่อนแล้ว การทุจริตจัดซื้อคอมพิวเตอร์จะดูและตรวจสอบได้ง่าย แต่วันนี้การทุจริตก็มีแนวโน้มซับซ้อนมากขึ้น ส่วนกระทรวงไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ให้ดูที่การให้บริการต่างๆ ก็จะเป็นช่องที่รั่วไหลได้ง่ายเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของรัฐวิสาหกิจอย่าง ทีโอที และ กสท. 'งบพวกนี้มันซับซ้อน ดูไม่ได้ง่ายๆ การทุจริตจึงมักรอดหูรอดตาฝ่ายตรวจสอบ ไม่เหมือนโครงการเช่ารถเมล์ 4,000 คัน ที่ส่อเจตนาทุจริตชัดเจน และสังคมเข้าตรวจสอบง่ายกว่า' นอกจากนี้ยังมีงบที่น่าจับตาเป็นพิเศษในทุกกระทรวงคืองบที่นำไปจ้างบริษัทที่ปรึกษา และบริษัทที่ดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์ ซึ่งพรรคการเมืองต่างๆ มักใช้วิธีนี้ในการทุจริต โดยเฉพาะการจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ที่นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากแล้ว เงินรั่วไหลได้ง่าย แถมยังส่งผลให้เกิดการ ล็อคสเปกและทุจริตในงานหลักต่อไปได้ด้วย
จากคุณ |
:
จันตรีบุตร
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ต.ค. 55 12:07:14
A:58.9.50.221 X:
|
|
|
|
 |