 |
เรียนคุณนอนดูดาว ด้วยความเคารพ นะครับ รัฐบาลใช้อำนาจในทางบริหาร ส่วนศาลใช้อำนาจทางตุลาการ ตามระบอบประชาธิปไตย มี 3 อำนาจคานกันอยู่(บริหาร,นิติบัญญัติ,ตุลาการ) บุคคลเมื่อตกเป็นจำเลยย่อมอยู่ในอำนาจของศาล ฝ่ายบริหารก็จะไปก้าวก่ายอำนาจตุลาการไม่ได้ครับ เมื่อก่อนนี้การออกหมายจับเคยให้อำนาจฝ่ายบริหารในการออกหมายจับได้ คือให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายจับได้ แต่ปัจจุบันถ้าจะออกหมายจับก็ต้องให้ศาลสั่งเท่านั้น ส่วนอำนาจปล่อยตัวชั่วคราวนั้น ถ้าคดีอยู่ในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาได้อยู่แล้วครับ ถ้าชั้นศาลก็ต้องเป็นอำนาจของศาล ครับ
สำหรับ คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ถ้าศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาต ก็อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้อีกครับ( ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๑๙ทวิ) ที่ท่านบอกว่า ผู้พิพากษาเกรงใจผู้ใหญ่ในวงตุลาการนั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้นะครับ เพราะยังไงๆคดีหรือคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวก็มีสิทธิขึ้นสู่ศาลฎีกาได้อยู่แล้วทุกกรณี..ครับ ถ้าจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำร้องนั้น
จากคุณ |
:
แชร์กันๆนะครับ (suphachai121)
|
เขียนเมื่อ |
:
31 ต.ค. 55 22:25:50
A:110.168.6.127 X:
|
|
|
|
 |