Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ศักดินา คือ ระบบ เจ้านาย ไพร่ ทาส มีศักดินากันนะครับ ติดต่อทีมงาน

เรียน ท่านผู้เจริญ
         ผมหาข้อมูลและประสงค์จะนำเสนอ ทบทวนองค์ความรู้เรื่องศักดินาไทย เพราะเห็นเถียงกันไม่จบ กับคำ อำมาตย์ ไพร่ ทาส กันจังในหลายวาระ  ลองมาดู ความหมายของคำเหล่านั้นกัน มันก็คงต้องเริ่มจากระบบศักดินา 

ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน

ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น (ที่มา http://th.wikipedia.org)

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ไพร่ ทาส ล้วนต่างมีศักดินา ในความหมายเดิม หากแต่ในยุคปัจจุบันนี้ มีบางท่านตีความหมายว่า ไพร่ และ ทาส ไม่มีศักดินา 

ที่นี่ อีกคำ  อำมาตย์ คือ ข้าเฝ้า ที่ปรึกษา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับพระราชาเคยใช้เป็นยศพลเรือน จัดเป็น ๓ ชั้น คือ รองอำมาตย์ อำมาตย์ มหาอำมาตย์ ชั้นหนึ่งมี ๓ คือ เอก โท ตรี แต่ชั้นมหาอำมาตย์มีสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง คือ มหาอำมาตยนายก เป็นชั้นพิเศษ ยศดังนี้เลิกใช้ เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ที่ปรึกษาชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับพระราชาเช่น สมุหนายก มีหน้าที่ ผู้ว่าราชการแทนพระมหากษัตริย์บริหารแผ่นดิน สมุหกลาโหม ควบคุมเกี่ยวกับทางทหารทั่วประเทศ มหาดเล็ก และ ราชครู

  อีกคำ อมาตยาธิปไตย อำมาตยาธิปไตย หรือระบบข้าราชการประจำ (อังกฤษ: bureaucracy ; bureaucratic polity) เป็นการปกครองซึ่งมีขุนนางหรือข้าราชการเป็นใหญ่ ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า คนไทยบางกลุ่มแปลความหมายของคำนี้ผิดไปจากความหมายโดยตรงว่า เป็นการปกครองที่อำมาตย์มีอำนาจในการบริหารประเทศ คำภาษาอังกฤษ bureaucratic polity บัญญัติขึ้นโดย Fred W. Riggs อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฮาวาย ในหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2509 เป็นคำใหม่ที่ใช้แก่ประเทศไทยโดยเฉพาะ แต่ภายหลังคำนี้มีใช้แก่ประเทศอื่นด้วย เช่น อินโดนีเซีย 

นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ เช่น ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เคยเรียกรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ว่าเป็นอำมาตยาธิปไตย  หรือรัฐบาลอำนาจนิยม (authoritarianism) อย่างไรก็ตาม นักวิชาการและกลุ่มต่างๆ เคยยกคำนี้มาใช้แก่รัฐบาลไทยสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยจอมพล ป. เป็นต้นมาหลายชุด จนถึงยุคหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 และมีการจัดการกับรัฐบาลที่มาจากเสียงของประชานส่วนใหญ่ให้หมดอำนาจลง และมีการจัดตั้งรัฐบาลของนายอถิสิทธิ์ เวชาีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี คำๆ นี้กลับมาอีกครั้งในการเรียกรัฐบาลและกลุ่มผู้สนับสนุน

ผมว่า จริงๆ แล้ว คำเหล่านั้น มันก็แค่ "วาทกรรม" อย่างหนึ่ง ซึ่งการนำมาใช้ต้องดู "บริบท" และ "ความตั้งใจ" หรือ จุดมุ่ง" ควรให้ความหมายในการ "ใช้" จึงเห็นด้วยกับหลายๆ ท่านที่เรียกร้องว่า "ใคร" จะเรียก "ใคร" เป็นอะไร จะต้องให้ "คำจำกัดความ" ให้ชัดเจน ว่ามุ่งหมายจะเรียก "ใคร" ว่าเป็น "อะไร" ในความเข้าใจของผู้เรียก ก็น่าจะดีนะ

ครับ

จากคุณ : เอชัย
เขียนเมื่อ : 4 พ.ย. 55 11:23:59 A:182.53.57.132 X:




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com