คห.#44 & #45
ขอแยกคุยต่อใน 2 ประเด็นนะคะ
ประเด็นแรก : การก่อหนี้สาธารณะ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
อันนี้เป็นเรื่องดี คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะเกิดประโยชน์กับประชาชนและเศรษฐกิจประเทศในระยะยาว
ดังนั้นการที่หนี้สาธารณะจะสูงขึ้นเพราะเหตุนี้ ย่อมไม่เป็นที่คัดค้านแน่นอน
อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้สาธารณะมีข้อจำกัด คือมีเพดาน หรือ กรอบที่ถูกกำหนดไว้ตาม รธน.ซึ่งกำหนดไว้ว่า ต้องไม่เกิน 60%ของ GDP
เนื่องจากประเทศไทยเรายังต้องอาศัยเงินกู้เพื่อพัฒนาประเทศ
ดังนั้นรัฐบาลจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการวางแผน เพื่อความรอบคอบในการจัดลำดับความสำคัญว่า จะดำเนินการในโครงการไหนก่อน
ประชาชนย่อมหวังให้รัฐบาลบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธภาพตามที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศ
ต้องมีความสามารถในการรักษาดุลยภาพทางเศรษฐกิจ วินัยทางการเงินการคลัง และการดูแลสังคมไทยให้เกิดความเป็นธรรมในภาพรวม
แต่คุณน้ำมิตรคะ
การที่ประชาชนแทบทุกภาคส่วนท้วงติงรัฐบาลในหลายโครงการประชานิยม โดยเฉพาะนโยบายจำนำข้าวทุกเม็ด เพราะรัฐบาลได้ใช้เงินจำนวนมหาศาลไปกับโครงการประชานิยมสุดโต่งเหล่านี้
และทุกโครงการต้องการเงินอุดหนุนจากงบประมาณซึ่งต้องกู้มาใช้แทบทั้งสิ้น
ถึงตอนนี้คงจะพอนึกออกนะคะว่า เมื่อยอดหนี้สาธารณะพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ โดยที่รัฐบาลยังเดินหน้าทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ โดยไม่มีการทบทวน เพื่อปรับให้เหมาะสมแต่อย่างใด ผลสุดท้ายหนี้สาธารณะอาจจะเต็มเพดาน 60% ต่อ GDP โดยที่โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่สำเร็จทุกโครงการก็ได้
สรุปว่า การเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังโดยคำนึงถึงผลประโยชน์กับประชาชนโดยรวมคือ ความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาล
เรื่องหนี้สาธารณะ เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ...แต่สามารถบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
รัฐบาลสามารถที่จะเลือกลงทุนเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจประเทศระยะยาว หรือ จะเลือกใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลไปกับโครงการที่มีการรั่วไหล โดยที่ผลประโยชน์เกิดกับประชาชนเพียงกลุ่มเดียว ถึงแม้จะอ้างว่าจำเป็น..แต่แน่ใจหรือว่าทางเลือกในปัจจุบัน เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว?
ส่วนกรณีหนี้ส่วนบุคคลอยู่ใน คคห.ถัดไปคะ..