Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ม๊ากแหล โชว์ง่าว เหมือน ม๊าก ม.7อีแล้ว /มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) ซึ่งบัญญัติว่า “เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (๑) ติดต่อทีมงาน

มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) ซึ่งบัญญัติว่า “เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร”
..............................................................................................

โชว์ง่าวเรื่อง มาตรา7 มาครั้งหนึ่งแล้ว ยังอับอายขายขี้หน้าในความง่าวไม่พอ

มาครานี้ โชว์ง่าวเพื่อดิ้นรนสู้ เพื่อปกปิดการทำเลวของตัวเองอีก....เอาสิ ระหว่าง แหลอย่างคุณ จะสู้กับ นักบัญชีอย่าง คุณเรืองไกร....

คนอะไรโคตรหน้าด้าน หลักฐานชัดว่าผิด ก็หน้าหนาหน้าทน ตะแบง แถ แหล ไหล ไปตลอด.....กระจอกชิปเป๋ง นี่เหรอ คนดี คนมีจริยธรรม มีสำนึกนักการเมือง  แล้วยังมีหน้าสะเออะสอนคนนั้นคนนี้ให้แสดงจริยธรรม สำนึกของนักการเมืองอีก  ......อายวะ อายแทนจริงๆ....ไม่ด้านทำไม่ได้นะเนี่ย5555555555555

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352608502&grpid=00&catid=&subcatid=

เรืองไกร อ้างแนวฎีกา ฟัน"อภิสิทธิ์" สิ้นสุด สถานะส.ส. ยื่นกกต. ส่งศาลรธน.วินิจฉัย
           
มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันที่ ๑๒ พ.ย. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว. จะยื่นเรื่อง  ขอให้ส่งเรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มี เหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) จากกรณีถูก ปลดออกจากราชการตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ไปยังประธานสภา ผู้แทนราษฎร ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม  ต่อ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง


 

 

         

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ระบุว่า ต้องการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนุญ มาตรา ๖๒ ร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ด้วยการส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า  สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) จากกรณีถูกปลดออกจากราชการตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  หรือไม่  ดังต่อไปนี้

           

 

ข้อ ๑. ตามสำเนาคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ สั่ง ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดย พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑.)  มีเนื้อหาใจความ ดังนี้

           

 

“โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า เมื่อวันที่ ๒ มิ.ย. ๓๑ ว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  รรก.อจ. ส่วนการศึกษา รร.จปร. ได้ใช้เอกสารใบสำคัญ สด.๙ แทนฉบับที่ชำรุดสูญหาย ลง ๘ เม.ย. ๓๑ อันมีข้อความสาระสำคัญเป็นเท็จ (ถือว่าเป็นเอกสารเท็จ) ไปประกอบการขึ้นทะเบียนกองประจำการ ณ จว.นย. จนทำให้เจ้าหน้าที่สัสดีผิดหลง ออกใบสำคัญ สด.๓ ลง ๒ มิ.ย. ๓๑ ขึ้นทะเบียนกองประจำการ ว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขทะเบียน ท.บ. ๒๕๓๑ ก.ท. ๑๐๘๐๓ การกระทำดังกล่าวของว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นการกระทำไม่สุจริตเพื่อประโยชน์แห่งตน เป็นการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง ไม่สมควรให้อยู่ในราชการต่อไป นับแต่วันกระทำผิด และคณะกรรมการของ กห.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรให้ลงโทษเนื่องจากกระทำผิดทางวินัย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยปลดออกจากราชการ เพื่อมิให้เสียหายหรือเสื่อมเสียต่องานราชการหรือต่อสถาบัน รร.จปร. ต่อไป  รมว.กห.ได้พิจารณาและได้ใช้ดุลพินิจแล้วเห็น ชอบตามการพิจารณาและข้อเสนอของคณะกรรมการ ฯ ตามคำสั่งที่ ๔๔๔/๕๕ ลง ๘ ต.ค. ๕๕
           

 

อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อนและลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๒ หมวด ๑ ข้อ ๔ (๒) กับข้อบังคับทหารที ๑๑/๑๖๕๓๖ ลง ๑๔ พ.ย. ๘๒ ว่าด้วยการแบ่งแยกประเภทนายทหารสัญญาบัตร มาตรา ๔ ข้อ ๒ และข้อ ๑๒

           

 

ฉะนั้น จึงให้ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขประจำตัว ๑๓๑๓๓๑๐๘๐๓ (เหล่า สบ.) รรก. อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร.  ออกจากราชการ เป็น นายทหารกองหนุน รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ สังกัด บก.จทบ.ก.ท.

ทั้งนี้ ตั้งแต่ ๒ มิ.ย. ๓๑ เป็นต้นไป”

           

 

ข้อ ๒. จากคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ดังกล่าว เห็นได้ชัดว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลายเป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) แล้ว โดยคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ  มีผลตั้งแต่วันที่ ๒ มิ.ย. ๓๑  จึงเป็นกรณีที่เข้ากับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ซึ่งบัญญัติว่า

             

 

“ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งให้ส่งเรื่องไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง”

             

 

ข้อ ๓. การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งประเด็น ว่า “รายละเอียดที่รมว.กลาโหม เซ็นไปผมมั่นใจว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเนื้อหา สาระ กระบวนการซึ่งเป็นที่มาของคำสั่งฉบับนี้ ผมจึงมอบให้ฝ่ายกฎหมายร่างการโต้แย้ง ส่งให้ศาลปกครองได้วินิจฉัย เพราะเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”  

           

 

แต่เนื่องจากคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ ดังกล่าวเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) ซึ่งบัญญัติว่า “เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร”

           

 

ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชวะ ได้มอบให้ฝ่ายกฎหมาย(หมายถึงฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์) ร่างการโต้แย้ง ส่งให้ศาลปกครองได้วินิจฉัยนั้น ศาลปกครองย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณา  
           

 

ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘/๒๕๔๙ ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๙ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๓.) ซึ่งมีคำวินิจฉัยไว้ว่า

             

 

“คณะกรรมการพิจารณาแล้ว คดีนี้ โจทก์เป็นอดีตข้าราชการทหารยื่นฟ้องกระทรวงกลาโหม ที่ ๑ กองทัพเรือ ที่ ๒ จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคำให้การสรุปได้ว่า ขณะโจทก์รับราชการที่กรมช่างโยธาทหารเรือซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดจำเลยที่ ๒ ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ ๑ ให้ไปปฏิบัติงานที่คณะกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎรเป็นเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๖เมื่อครบกำหนดประธานคณะกรรมาธิการทหารขอให้ช่วยปฏิบัติงานต่อและแจ้งว่าปลัดกระทรวงกลาโหมจะทำหนังสือแจ้งจำเลยที่ ๒ ว่าอนุญาตให้โจทก์อยู่ปฏิบัติราชการชั่วคราวที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจนถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖

 

โจทก์กลับไปรายงานตัวในวันที่ ๑ ตุลาคม๒๕๔๖ แต่ถูกจำเลยที่ ๒ ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและพิจารณาลงทัณฑ์ กรณีกระทำความผิดฐานหนีราชการทหารในเวลาประจำการเกินกว่า ๑๕ วัน และจำเลยที่ ๑ มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการทหารพร้อมกับถอดยศโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเสนอ

 

 

โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบเพราะโจทก์มิได้เจตนาหนีราชการทหาร อันเป็นองค์ประกอบความผิดที่สำคัญตามประมวลกฎหมายอาญาทหารมาตรา ๔๕ รายงานผลการสอบสวนข้อเท็จจริงก็ไม่ได้สอบปากคำของบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คำสั่งปลดออกจากราชการและถอดยศอาศัยตามมติสภากลาโหมครั้งที่ ๓/๐๗ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๐๗ และระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ไม่สมควรดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ ข้อ ๒ นั้นมิใช่คำสั่ง กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่๑ เพิกถอนคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการและประกาศถอดยศ และให้จำเลยทั้งสองบรรจุโจทก์กลับเข้ารับราชการทหารตามเดิม จำเลยทั้งสองให้การว่า เมื่อจำเลยที่ ๒ มีคำสั่งงดให้โจทก์ไปช่วยราชการและให้กลับเข้ารับราชการในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖ แต่โจทก์มิได้รายงานตัวกลับเข้ารับราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดช่วยปฏิบัติราชการเกินกว่า ๑๕ วัน จึงเป็นความผิดฐานหนีราชการทหารตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๔๕ จำเลยที่ ๒ จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนซึ่งมีมติว่า

 

 

การกระทำของโจทก์เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยชอบด้วยกฎหมาย หนีราชการในเวลาประจำการและขาดราชการทหารหรือละทิ้งหน้าที่ จำเลยที่ ๑ จึงมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการและถอดยศ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ การดำเนินการของจำเลยทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง

           

คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งของจำเลยที่ ๑ ที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการพร้อมกับดำเนินการถอดยศของโจทก์นั้น เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารหรือไม่เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “วินัยทหาร คือการที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร” และมาตรา ๗ บัญญัติว่า“ทหารผู้ใดกระทำผิดต่อวินัยทหาร จักต้องรับทัณฑ์ตามวิธีที่ปรากฏในหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และอาจต้องถูกปลดจากประจำการหรือถูกถอดจากยศทหาร”

 

 

ดังนั้น การที่จำเลยที่ ๒ มีคำสั่งงดให้โจทก์ไปช่วยราชการและ ให้กลับเข้ารับราชการในวันที่ ๑ กรกฎาคม๒๕๔๖ แต่โจทก์มิได้รายงานตัวกลับเข้ารับราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดช่วยปฏิบัติราชการเกินกว่า ๑๕ วัน กรณีจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และหนีราชการทหารหรือละทิ้งหน้าที่อันเป็นการไม่ประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหารและถือเป็นความผิดต่อวินัยทหาร ต้องรับทัณฑ์อาจต้องถูกปลดจากประจำการหรือถูกถอดจาก ยศทหาร เมื่อจำเลยที่ ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและพิจารณาลงทัณฑ์โจทก์กรณีกระทำความผิดฐานหนีราชการทหารในเวลาประจำการ และจำเลยที่ ๑ มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่๗๘๙/๒๕๔๖ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดฐานหนีราชการทหารในเวลาประจำการ กรณีจึงเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

             

 

จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายป. โจทก์ กระทรวงกลาโหมที่ ๑ กองทัพเรือ ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม”

           

 

ข้อ ๔. สาระสำคัญในคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ทั้งในประเด็นข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมาย ทำให้เชื่อได้ว่า คำสั่งดังกล่าวมีความชัดเจนว่า เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ที่ชอบแล้ว จึงมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ ที่ตีความต่อได้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ตั้งแต่วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๓๑  อันจะทำให้เป็นประเด็นพิจารณาตามมาว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖)   หรือไม่ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ตามคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง)  หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า มีกรณีดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖)   เกิดขึ้นจากผลของคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  แล้ว  คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ต่อไป            

           

 

 

ดังนั้น คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ สั่ง ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดย พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงถือว่ามีผลทางกฎหมายอย่างเป็นทางการแล้ว และมีข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดอยู่ในคำสั่งดังกล่าว  ซึ่งได้ส่งสำเนามาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้เห็นว่า มีกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) เกิดขึ้นแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม ที่จะต้องส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามมาตรา ๙๑ วรรคหนึ่งและวรรคสองต่อไป

           

 

ข้อ ๕. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๑๑/๒๕๔๓ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๔.) สามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

           

 

 

"ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๒๙ บัญญัติว่า "บุคคลซึ่งจะมีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ" และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๙ บัญญัติว่า"บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ

           

(๑) ...

           

(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจอันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังมิได้มีมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ร้องก็ต้องถือว่าคำสั่งจังหวัดสตูลที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ร้องจึงได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้เคยถูกไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๙ (๖) การที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้นชอบแล้ว"

           

จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

  ( กำพล ภู่สุดแสวง - สกนธ์ กฤติยาวงศ์ - อภิชาต สุขัคคานนท์ )

           

 

 

จากแนวทางในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๑๑/๒๕๔๓ ที่มีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นองค์คณะอยู่ด้วย นั้น กรณีที่กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งปลด ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการ ก็ต้องถือว่าคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  ที่เป็นการลงโทษทางวินัยทหาร โดยการสั่งปลด ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการจึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนี้  ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้เคยถูกไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ และเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐๒ (๖) และมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) แล้ว

           

 

ข้อ ๖. การถูกปลดออกจากราชการของ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒ มิ.ย. ๒๕๓๑ ย่อมจะมีผลทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลายเป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๒ (๖) แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) บัญญัติว่า  
            “มาตรา ๑๐๖ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ

             ....

             (๕) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๒”

             และมาตรา ๑๐๒ (๖) บัญญัติว่า

             “มาตรา ๑๐๒ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

             ....

             (๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ”

           

ข้อ ๗. พฤติการณ์หรือการกระทำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมัยรับราชการทหารมียศ ว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตามผลของคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕ ที่ระบุไว้ว่า “การกระทำดังกล่าวของว่าที่ ร.ต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นการกระทำไม่สุจริตเพื่อประโยชน์แห่งตน เป็นการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง ไม่สมควรให้อยู่ในราชการต่อไป”  จึงเข้ากับลักษณะตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖)  บัญญัติไว้แล้ว

           

 

ข้อ ๘. จึงเรียนมาเพื่อขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๒ ด้วยการส่งเรื่องร้องนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๖ (๕) ประกอบมาตรา ๑๐๒ (๖) ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕  แล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคสาม และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐ (๑๑) ต้องส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป

จากคุณ : ทิศทางลม
เขียนเมื่อ : 11 พ.ย. 55 16:16:28 A:125.25.114.220 X:




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com