 |
วันนี้ไม่วางมาถกด้วย ลองอ่านกันเองแล้วกันครับ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
"ว่าด้วยเรื่อง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร ของ นายกอภิสิทธิ์ฯ"
๑.ลงบัญชีทหารกองเกิน ตาม มาตรา ๑๘ เป็นทหารกองเกิน ๔ ก.ค.๒๙
- ได้รับ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
- ได้รับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร(แบบ สด.๓๕) ซึ่งในหมายเรียกฯ กำหนดให้เข้ารับการตรวจเลือกฯ เป็นทหารกองประจำการ เม.ย.๓๐ (เข้าใจว่าจะเป็น วันที่ ๑๑ เม.ย.)
ข้อนี้ ข้ามการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๑๖(การลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุ ๑๗ ปี) จะมีความผิดตาม มาตรา ๔๔ ไปได้เลย เพราะก่อนจะรับลงบัญชีทหารกองเกินตาม มาตรา ๑๘ จะต้องได้ข้อยุติไปแล้ว
๒. ขอผ่อนผัน ไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ตาม มาตรา ๒๗(๒) มีกำหนด ๓ ปี (ปี ๓๐-ปี๓๒) ตามหลักฐาน บัญชียกเว้นหรือผ่อนผัน (แบบ สด.๒๐) ถึงแม้จะไม่สามารถค้นหาหลักฐาน หนังสือผ่อนผันการรับราชการทหาร(แบบ สด.๔๑) พบแล้วก็ตาม แต่การที่บัญชียกเว้นหรือผ่อนผัน (แบบ สด.๒๐) มีรายชื่อนายกอภิสิทธิ์ฯ อยู่ ก็หมายความว่า นายกอภิสิทธิ์ ฯ ได้รับการอนุมัติให้ผ่อนผันแล้ว เพราะการบันทึกรายชื่อลง สด.๒๐ นั้นจะต้องได้รับอนุมัติการผ่อนผันจาก ผวจ.กรุงเทพฯ ก่อน สด.ก.ท. จึงจะคัดรายชื่อลง สด.๒๐ และมีหนังสือสั่งยกเว้นผ่อนผัน ไปยัง ผอ.เขต (บัญชีสั่งยกเว้นผ่อนผัน (แบบ สด.๑๙)) สด.เขตพระโขนง ก็จะต้องคัด สด.๒๐ ขึ้นเป็นฉบับของเขต รายละเอียดตาม สด.๑๙ (แปลว่า สด.๒๐ จะมีอยู่ ๒ แห่ง) ผลของการผ่อนผัน จะคงอยู่หรือหมดไป เป็นไปดังนี้
๑) พ้นระยะเวลาที่ขอผ่อนผันไว้ (หมดเหตุผ่อนผัน)
๒) จบก่อนกำหนดหรือลาออกหรือถูกให้ออกจากการศึกษา ก่อนกำหนด และกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว(หมดเหตุผ่อนผัน)
๓) เมื่อหมดเหตุผ่อนผัน มีหน้าที่ไปแจ้งการหมดเหตุนั้น ที่เขตหรืออำเภอที่ตนอยู่หรือทำการประจำ ตาม มาตรา ๑๕ (เมื่อแจ้ง ตาม ม.๑๕ แล้ว เขตพระโขนง จึงจะทราบการหมดเหตุผ่อนผัน ซึ่งก็จะได้ออกหมายเรียกฯให้ไปเกณฑ์ในคราวที่จะถึงถัดไป หากเขตหรืออำเภอที่อยู่หรือทำการประจำ เป็นเขตเดียวกันกับเขตที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ก็จะออกหมายเรียกฯให้ไปได้เลยในวันที่มาแจ้งหมดเหตุ ตาม มาตรา ๑๕ แต่ กรณีของ นายกอภิสิทธิ์ฯ นี้ ช่วงหมดเหตุผ่อนผัน ทำการประจำอยู่ จ.นครนายก (กรณี ถ้าหมดเหตุผ่อนผัน) ซึ่งก็ไม่น่าจะมีการแจ้งการหมดเหตุฯ ซึ่งการไม่แจ้งการหมดเหตุฯ ภายใน ๓๐ วันนับจากวันหมดเหตุ ตาม มาตรา ๑๕ จะมีความผิดตาม มาตรา ๔๓ โทษจำ ไม่เกิน ๑ ด. ปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๔) อย่างไรก็ตาม นายกอภิสิทธิ์ ฯ ไม่มีหมายเรียกฯ(สด.๓๕) ในฐานะคนทีหมดเหตุผ่อนในปี ๓๑ (ปีที่นายกอภิสิทธิ์ฯ อยู่ในประเทศไทย ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะหมดเหตุผ่อนผันแล้ว ซึ่งไปร้องขอเข้ารับราชการเป็นทหารประจำการ ที่ รร.จปร.) ส่วนการเป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร นั้นจะผิดเงื่อนไขการผ่อนผันหรือไม่ ไม่ทราบ แม้จะผิดเงื่อนไข ตั้งแต่ตอนนั้น ความผิดก็คงอยู่ที่ มาตรา ๔๓ ดังที่กล่าวแล้ว
ความหมายคือ เขตพระโขนงยังที่ทราบการหมดเหตุผ่อนผัน เมื่อไม่ทราบ การเรียกเข้ารับราชการทหารจึงยังไม่เกิด(การออกหมายเรียกฯ ณ ปีนั้นๆ แต่ หมายเรียกฯ ฐานะคนขาดฯ มีทุกปีตั้งแต่ ปี ๓๑-๓๖ เพราะเขียนหมายตามบัญชีเรียกฯ(บัญชีเรียกฯที่ไม่ชอบฯ คือบัญชีที่ผิดตั้งแต่ปี ๓๑-๓๖) ซึ่งเป็นหมายเรียกฯที่ไม่ชอบฯ เป็นการออกหมายเรียกฯให้กับคนที่ สด.ก.ท.ขึ้นทะเบียนกองประจำการให้แล้ว สด.ก.ท.(ในนาม ผว.กทม.)จะต้องแจ้งการเข้ากองฯ ให้ ผอ.เขต ทราบ และ ผอ.เขต จะต้องงดเรียกฯ ) อย่างไรก็ตาม นายกอภิสิทธิ์ฯ ได้ไปติดต่อ ขอใบสำคัญแทนฉบับที่ชำรุดหรือสูญหาย กับ สด.เขต เมื่อวันที่ ๘ เม.ย.๓๑ ซึ่ง สด.เขตก็ไม่ได้มอบหมายเรียกฯ ปี ๓๑ ให้แต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นหมายเรียกฯ ในฐานะคนขาดซึ่งจะต้องส่งดำเนินคดีก่อน หรือหมายเรียกฯ ฐานะคนหมดเหตุผ่อนผัน ซึ่งจะต้องสอบสวนเจ้าตัวหรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางเขต ว่าบุคคลผู้นี้อยู่ในสถานะไหน ก่อนที่จะออกใบแทนฯ และใบแทนที่ออกให้ก็บันทึกวันเข้าบัญชีทหารกองเกินผิดไปบันทึกวันเข้าบัญชีฯ เป็นวันเดียวกับวันที่ออกใบแทนฯ ทั้งที่รายละเอียดต่างๆ จะต้องคัดลอกจาก สด.๑
๓. การร้องขอเข้ารับราชการเป็นทหารประจำการ โดยการบรรจุ ตำแหน่ง อาจารย์ รร.จปร. ยศ ร.ต. ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.รับราชการทหาร เพราะหลักเกณฑ์การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นทหารประจำการ ของ รร.จปร. ใช้กฎหมายอื่นและระเบียบกระทรวงกลาโหม แต่มาตรา ๑๑ วรรคสอง ของ พ.ร.บ.รับราชการทหาร มีว่า ทหารประจำการนั้น ถ้ายังมิได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ ก็ต้องขึ้นทะเบียนกองประจำการ และรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดตาม พ.ร.บ.นี้ ซึ่ง นายกอภิสิทธิ์ ฯ ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนกองประจำการ เมื่อต้องขึ้นทะเบียนกองประจำการ และต้องอยู่ในกองประจำการ ตาม พ.ร.บ. นี้ นั้น จะต้องอยู่ในกองประจำการเท่าใดจึงจะครบกำหนด จึงต้องไปดู มาตรา และกฎกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
มาตรา ๘ การรับบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการให้กระทำโดยวิธีเรียกมาตรวจเลือก หรือจะรับเข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ได้
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๕
ข้อ ๒ การรับบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีอื่น ให้กระทำโดยวิธีร้องขอ และบุคคลที่จะร้องขอต้องมีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์
ข้อ ๓ การรับบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการ โดยวิธีร้องขอ ตาม ข้อ ๒ ให้กระทำได้ดังนี้
(๑)
..(๒)
..
(๓) การร้องขอเข้ากองประจำการโดยผู้ซึ่งยังไม่ถูกเรียกเข้าเป็นทหารกองประจำการ หรือผู้ซึ่งเคยถูกเรียกเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้่วแต่ไม่ถูกเข้ากองประจำ การ ให้บุคคลดังกล่าวร้องขอต่อเจ้าหน้าที่กรมกองฝ่ายทหารหรือฝ่ายตำรวจที่บุคคล นั้นประสงค์จะเข้ารับราชการกองประจำการ เมื่อเจ้าหน้าที่ดังกล่าวพิจารณารับบุคคลใด ให้นำบุคคลนั้นขึ้นทะเบียนกองประจำการ การที่กรมกองฝ่ายทหารหรือฝ่ายตำรวจจะรับผู้ร้องขอเข้าในสังกัดหรือเหล่าใด ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
ข้อ ๕ การรับบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการตาม ข้อ ๓(๓) และการรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียนทหาร ให้รับได้โดยไม่จำกัดภูมิลำเนาทหาร
มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ทหารกองเกินซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างที่จะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ และเมื่อต้องเข้ากองประจำการจะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการมีกำหนด ๒ ปี ส่วนผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพิเศษหรือเมื่อมีกรณีพิเศษ จะให้รับราชการทหารกองประจำการน้อยกว่า ๒ ปีตามที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ได้ ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔
ข้อ ๒ ผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพิเศษซึ่งสมควรอยู่ในกองประจำการน้อยกว่า ๒ ปี ตามความในมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง คือ
(๑)
.(๒)
.(๓)
(๔)
.(๕)
.(๖)
.(๗)
.
(๘) ผู้สำเร็จชั้นอุดมศีกษาหรือผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบได้ไม่ต่ำกว่าชั้นอุดมศึกษา
(๙)
.(๑๐)
..(๑๑)
..(๑๒)
..(๑๓)
.
ถ้าเป็นบุคคลดังกล่าวใน (๑) ถึง (๘) ให้รับราชการทหารกองประจำการ ๑ ปี แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ร้องขอเข้ารับราชการในกองประจำการ ก็ให้รับราชการกองประจำการ เพียง ๖ เดือน
****สรุปได้ว่า นายกอภิสิทธิ์ ฯ เข้ากองประจำการ ด้วยช่องทาง มาตรา ๑๑ วรรคสอง ประกอบกับ มาตรา ๘ ต่อด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๕ ข้อ ๒ ข้อ ๓ (๓) โดยใช้วุฒิปริญญาตรี ตาม มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ต่อด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔ ข้อ ๒ (๘)
หลักฐานทางบัญชีเรียกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (สด.๑๖) ทุกปีทีปรากฏในบัญชีฯ ว่า ขาด นั้น เป็นการผิดพลาดของ จนท. สัสดี กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา เหตุเพราะไม่จำหน่ายชื่อ นายกอภิสิทธิ์ ฯ ออกจาก บัญชีเรียกฯ (สด.๑๖) ว่า ได้รับการผ่อนผัน ตาม มาตรา ๒๗(๒) นั้น ผลจึงกลายเป็นว่า นายกอภิสิทธิ์ฯ ขาดการตรวจเลือกฯ
จะเห็นได้จากการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และออกเลขเครื่องหมายให้ กับนายกอภิสิทธิ์ ฯ ของ สัสดีกรุงเทพมหานคร เพราะย่อมยืนยันความถูกต้องของหลักฐานทีประกอบการนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการ (จ.นครนายกขึ้นแทน) และหลักฐานต่างๆ ที่สัสดีกรุงเทพมหานครมีอยู่(ซึ่งบัญชีเรียกฯ ก็ขาดการตรวจเลือกฯ อยู่ แสดงว่า มีหลักฐานอื่นยืนยันว่าไม่ใช่คนขาดฯ และน่าจะเป็น บัญชียกเว้นหรือผ่อนผัน (สด.๒๐) และเมื่อ สัสดีกรุงเทพฯ ขึ้นทะเบียนฯ และออกเลขเครื่องหมายทางทหาร ให้แล้ว คือ ท.บ.๒๕๓๑ ก.ท.๑๐๘๐๓ และจำหน่ายบัญชีรายชื่อทหารกองเกินและทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ (สด.๒๗) ว่าเข้ากองประจำการ ฯ ในปี ๓๑ นั้นเอง แต่ทำไม สัสดีกรุงเทพฯ หน่วยงานเดียวกันนี้ ไม่ยอมจำหน่ายบัญชีเรียกฯ (สด.๑๖) โดยที่ปล่อยให้ยังคงขาดอยู่ต่อไป และยังคัดชื่อให้ขาดอยู่ทุกปีไปจนถึงปี ๓๖ พ้นกำหนดเรียก และไม่มีการแจ้งให้เขตจำหน่าย การเข้ากองฯ ที่ บัญชีทหารกองเกิน (สด.๑ )และ ต้นขั้ว ใบสำคัญ(สด.๙) หรือมีการแจ้งแล้ว แต่เขตก็ไม่ดำเนินการจำหน่ายก็ไม่ทราบได้ การที่สัสดีกรุงเทพ ดำเนินการบันทึกการจำหน่ายไม่ถูกต้องครบถ้วน ในเอกสารบัญชีต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นตามที่ชี้ให้เห็นมานี้ พอที่จะคาดการณ์ได้ว่า เมื่อปี ๓๐ ซึ่งเป็นปีที่ นายกอภิสิทธิ์ฯ ขอผ่อนผัน ตาม มาตรา ๒๗(๒) นั้น การบันทึกการผ่อนผันในบัญชีเรียกฯ (สด.๑๖) ไม่เกิดขึ้นเพียงเอกสารเดียว ทั้งที่มีเอกสารอื่นบ่งบอกถึงการได้รับสิทธิผ่อนผัน จึงกลายเป็นว่าอภิสิทธิ์ ฯ ขาดการตรวจเลือกฯ เพราะการไม่จำหน่ายบัญชีเรียกฯ จึงมีขื่อให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ เข้าใจว่าคนที่จะต้องเรียกฯ และเมื่อเรียกแล้วไม่มา ก็จึง ขาด ทั้งที่เหตุแห่งการผ่อนผันตาม ม.๒๗(๒) เกิดมาก่อน ที่เหตุแห่งการขาดมาทีหลัง จึงถือว่า เหตุแห่งการขาด เป็นโมฆะ
จะว่าไปแล้ว สด.ก.ท. ยืนยันการขาด ของนายกอภิสิทธิ์ฯ เมื่อปี ๓๐ ก็ไม่แปลกใจอะไร พอเข้าใจได้ ในเมื่อปี ๓๐ บัญชีเรียกฯ บันทึกว่า ขาด แต่ สัสด.ก.ท. จะไม่สามารถยืนยัน ว่านายกอภิสิทธิ์ฯ ขาด ในปี ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖ ได้เลย เพราะว่า สด.ก.ท. เป็นผู้ที่กำหนดเลขเครื่องหมายให้ นายกอภิสิทธิ์ฯ และจำหน่าย บัญชีรายชื่อ ฯ (สด.๒๗) นั่นหมายถึงว่า สด.ก.ท. เป็นผู้กำหนดให้นายกอภิสิทธิ์ฯ เข้ากองประจำการ ตามวัน เดือน ปี ที่ลงวันรับราชการให้ ตามที่ปรากฏใน ทะเบียนกองประจำการ (สด.๓) และ สด.ก.ท. อีกเช่นกัน ที่กำหนดให้ นายกอภิสิทธิ์ฯ ขาดการตรวจเลือกฯ โดยคัดรายชื่อไว้ใน บัญชีเรียกฯ(สด.๑๖) ประเภทคนขาดการตรวจเลือกฯ ไว้ทุกปีหลังจากขึ้นทะเบียนกองประจำการให้แล้ว ยังมีเอกสารอีกมากมายทั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สด.ก.ท. และในความรับผิดชอบของ สด.เขต ต่างๆ ที่ไม่ได้ทำการบันทึกให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การปลดย้ายประเภทด้านหลัง สด.๑(สด.เขต) และการปลดย้ายประเภทของ สด.๒๗(สด.ก.ท.) เป็นต้น
คนทั่วไปยังเข้าใจผิดอีกหลายเรื่อง เช่น
◊◊บัญชีเรียกฯ (สด.๑๖) ประเภท คนที่พ้นจากฐานะยกเว้นผ่อนผัน คนทั่วไป เห็นชื่อที่หัวบัญชี แล้วเข้าใจว่า คนทุกคนที่อยู่ในบัญชีประเภทนี้ คือคนที่พ้นจากการยกเว้นหรือหมดเหตุผ่อนผันแล้วทั้งหมด ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น มีส่วนหนึ่งที่ใช่ ยังมีคนอีกหลายประเภทที่รวมอยู่ในบัญชีนี้ บัญชีเรียกฯ มีอยู่ ๕ ประเภท คือ ๑) คนหลีกเลี่ยงขัดขืน , ๒) คนที่ขาดการตรวจเลือก , ๓) คนที่อยูในกำหนดเรียกธรรมดา , ๔) คนที่พ้นฐานะยกเว้นผ่อนผัน, ๕) คนผ่อนผัน คนที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะอยู่ในบัญชีเรียกฯ อีก ๔ ประเภท จะต้องมาอยู่ใน บัญชีเรียกฯ ประเภท คนที่พ้นจากฐานะยกเว้นผ่อนผัน นายกอภิสิทธิ์ ฯ อยู่ประเภท ตกค้างการลงบัญชีทหารกองเกิน ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะอยู่ในบัญชีประเภทอื่นๆ อีก ๔ ประเภท ก็ต้องอยู่ในบัญชีเรียกฯ คนที่พ้นจากฐานะยกเว้นผ่อนผัน (เฉพาะเมื่อปี ๒๕๓๐) ไม่ได้หมายความว่า นายกอภิสิทธิ์ฯ พ้นจากฐานะการยกเว้นหรือผ่อนผันแล้ว ตามชื่อบัญชีฯ คนที่อยู่ในบัญชีทั้ง ๕ ประเภทนี้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะขอยกเว้นหรือผ่อนผัน ตามที่ พ.ร.บ.รับราชการทหารบัญญัติ แต่ถ้าบุคคลใดที่กระทำผิด พ.ร.บ. มาตราใดมาตราหนึ่ง และมีคดีความอยู่จะมาขอยกเว้นหรือผ่อนผัน(เมื่อได้ตัว) ก็จะต้องส่งดำเนินคดีก่อน ส่วนบัญชีเรียกฯ ประเภท คนผ่อนผัน มันเป็นบัญชีเรียกฯ ของ นักเรียก นิสิต นักศึกษา ที่อยู่ในสถาบันการศึกษาของประเทศไทยอย่างเดียวเท่านั้น
◊◊บางคนเข้าใจว่า นายกอภิสิทธิ์ฯ ถึงกำหนดเกณฑ์ทหารแล้วไม่ไปเกณฑ์ ความผิดสำเร็จแล้ว แต่ทำไมไปสมัครบรรจุเป็นอาจารย์ รร.จปร. ได้ ต้องทำความเข้าใจว่า การไม่ไปเกณฑ์ทหารไม่ได้หมายความว่าผิดกฎหมายทุกคน ถึงแม้ผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร ก็มิใช่ว่าจะมีความผิดฐานเดียวกันทุกคน ดังนั้นการฟ้องร้องดำเนินคดี จะต้องแยกแยะออกไป และโทษก็ต่างกันออกไป ไม่ใช่ความเป็น ๒ มาตรฐานแต่อย่างใด มีตัวบทกฎหมายกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจน การจะดูว่าไปเกณฑ์/ไม่ไปเกณฑ์ ทหาร ผิดหรือไม่ ผิดอย่างไร คนที่จะต้องไปเกณฑ์ คือคนที่ถูกเรียกฯ โดยหมายเรียกของ นอภ. หรือ ผอ.เขต (สด.๓๕) ในหมายเรียกฯ จะกำหนดวัน เดือน ปี เวลา สถานที่ไว้แน่นอน คนที่ไม่ถูกเรียกฯ ไม่มีหน้าที่ไปเกณฑ์ แต่จะผิดฐานไหนอย่างไร และจะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะถึงขั้นตอนการเกณฑ์ จะไม่ลงไปในรายละเอียด และการเรียกฯ นั้นจะต้องเรียกฯเป็นปีๆ ไป ถ้ายังไม่มาเกณฑ์ ต้องออกหมายเรียกฯให้มาปีต่อไปใหม่ เป็นอย่างนี้ไปจนกว่าจะพ้นกำหนดเรียกฯ กรณีของ นายกอภิสิทธิ์ฯ ถูกเรียกฯครั้งเดียวเมื่อ ๔ ก.ค.๒๙ ให้ไปเกณฑ์วันที่ ๑๑ เม.ย.๓๐(เข้าใจว่ากำหนดวันเกณฑ์วันนั้น เพราะ ปี๓๑-๓๒ ก็กำหนดวันเกณฑ์เป็นวันที่ ๑๑ เม.ย.เช่นกัน) แต่นายกอภิสิทธิ์ฯ ใช้สิทธิ์ผ่อนผัน ขอไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ตาม มาตรา ๒๗(๒) แห่ง พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งขอผ่อนผัน มีกำหนด ๓ ปี การถูกเรียกฯ ของปี ๒๕๓๐ นายกอภิสิทธิ์ฯ ก็ไม่ต้องมาตามหมายเรียกฯ นั้น ตาม มาตรา ๒๗(๒) และผู้อนุมติให้นายกอภิสิทธิ์ฯ ไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ คือ ผว.กทม. สำหรับการขอผ่อนผันนั้น จะผ่านทางเขตพระโขนง หรือผ่านทาง ก.พ. ต้องถามเจ้าตัว แต่ผู้อนุมัติคือ ผว.กทม. และเมื่ออนุมัติแล้ว จะออก หนังสือผ่อนผันการเข้ารับราชการทหาร (สด.๔๑) ให้เจ้าตัวถือไว้เป็นหลักฐาน ส่วนหลักฐานที่ทางราชการมีคือ สำเนาคู่ฉบับของหนังสือผ่อนผันฯ(สด.๔๑) (อยู่ี่ที่ สด.ก.ท.)และ บัญชียกเว้นหรือผ่อนผัน (สด.๒๐) (มีที่ สด.ก.ท. และ สด.เขตพระโขนง) ตามหลักฐานใน สด.๒๐ ที่ นายกอภิสิทธิ์ฯ มีอยู่ ระบุเลขที่ลงรับหนังสือ และวันเดือนปี อยู่ในเดือน พ.ย.๒๙ แปลว่าได้รับอนุมัติการผ่อนผันก่อนที่จะถึงกำหนดเกณฑ์ใน ๑๑ เม.ย.๓๐ หลักฐานหรือเอกสารอื่นที่ขัดแย้งและเหตุการณ์อื่นที่เกิดขึ้นทีหลังจึงเป็นอันใช้ไม่ได้(ความหมายก็คือ นายกอภิสิทธิ์ฯ ไม่ได้มีความผิดเรื่องการไม่ไปเกณฑ์ทหาร ปี ๒๕๓๐ ) ถ้าเป็นไปตามหนังสือผ่อนผัน นายกอภิสิทธิ์ฯ จะไปถูกเรียกฯ อีกครั้งในปี ๒๕๓๓ แต่ถ้าหมดเหตุผ่อนผันก่อนกำหนดนั้น เมื่อเจ้าตัวไปแจ้งการหมดเหตุ ก็จะถูกเรียกฯในปีที่จะถึงกำหนดเกณฑ์นั้นๆ
◊◊คำถามมีว่า นายกอภิสิทธิ์ฯ เข้าบรรจุรับราชการทหาร ยศ ร.ต. ที่ รร.จปร. เมื่อ ปี ๒๕๓๑ ได้ไหม/ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าการที่ทางราชการทหารจะบรรจุบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการทหารประจำการ (ไม่ใช่ทหารกองประจำการ) เขามีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ไม่ใช่ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งทาง รร.จปร. เขาต้องดูกฎระเบียบดังกล่าวอย่างละเอียดแล้ว จึงขอบรรจุไปที่ กองทัพบก และกองทัพบกก็บรรจุให้ แปลว่าหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วน (ขอย้ำว่าอย่าไปดู พ.ร.บ.รับราชการทหาร เพราะมันไม่เกี่ยวข้องกับการบรรจุ การบรรจุเข้ารับราชการทหารนั้น รับได้ทั้งคนที่ยังไม่เป็นทหารกองเกิน ,เป็นทหารกองเกินแต่ยังไม่ผ่านการเกณฑ์ ,ผ่านการเกณฑ์แล้ว ไม่ถูกเข้ากองประจำการ และผ่านการเกณฑ์แล้วถูกเข้ากองประจำการแล้ว และปลดจากกองประจำการแล้ว ) และ นายกอภิสิทธิ์ฯ ก็อยู่ในประเภท คนที่ยังไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร แต่ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะ ที่หลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร แต่อยู่ในฐานะการผ่อนผันการเกณฑ์ฯ ซึ่งไม่ขัดคุณสมบัติอะไร เพราะเมื่อบรรจุเข้ารับราชการทหารประจำการแล้ว ก็ต้องอยู่ในกองประจำการ ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร ๒๔๙๗ ตาม มาตรา ๑๑ วรรคสอง ซึ่งนั่นก็คือ การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ครบถ้วน(ระหว่างรับราชการทหารประจำการ ในขณะเดียวกันก็อยูในกองประจำการไปด้วยควบคู่กันไป)
◊◊เอกสารหลักฐานตัวจริงที่ นายกอภิสิทธิ์ฯ ถืออยู่ไปไหนหมด ไม่มีมายืนยัน ๑) ใบสำคัญ (สด.๙) ใบเดิมหาย แจ้งขอใบแทน ๒) ใบสำคัญ(สด.๙) ฉบับแทน ใช้เป็นเอกสารประกอบการนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการ และเมื่อ สด.ก.ท.ขึ้นทะเีบียนกองประจำการแล้ว จะส่งให้ เขตผู้ออกใบสำคัญเป็นผู้ทำลายใบสำคัญนั้น ๓) หนังสือผ่อนผันฯ (สด.๔๑) น่าจะหายไปพร้อมกับ สด.๙ ใบเดิม จึงมีการออกหนังสือรับรองการผ่อนผันฯ เพื่อนำไปเป็นเอกสารประกอบการนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการ(ซึ่งใบรับรองนี้ก็มีการพิมพ์ข้อความผิด )
เอกสารที่ทางราชการ สด.ก.ท. ไม่มี(ทำลายไปแล้ว) คือ บัญชียกเว้นผ่อนผัน (สด.๒๐),สำเนาคู่ฉบับ หนังสือผ่อนผัน (สด.๔๑) ซึ่งจะเป็นหลักฐานยืนยันว่า นายกอภิสิทธิ์ ฯ ไม่ได้ผิด พ.ร.บ.รับราชการทหาร
เอกสารที่ทางราชการ สด.ก.ท. มี (แต่บันทึกผิด) คือ บัญชีเรียกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ(สด.๑๖) นอกจาก สำเนา สด.๒๐ ที่ ปชป.นำมาโชว์แล้วไม่สามารถหาหลักฐานฉบับตัวจริงอื่นๆมาหักล้างได้ว่าบันทึกผิด แต่ที่เชื่อด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็เพราะว่า การบันทึกหรือไม่บันทึกที่ก่อให้เกิดความผิดพลาด มีให้เห็นต่อมาอีกและยังเป็นหลักฐานยืนยันอยู่ คือ เมื่อขึ้นทะเบียนกองประจำการให้แล้ว ไม่มีการจำหน่ายรายชื่อออกจากการขาดการตรวจเลือกฯ
จากคุณ |
:
ศรอรชุน (karn_kate)
|
เขียนเมื่อ |
:
13 พ.ย. 55 08:30:31
A:210.246.94.111 X:
|
|
|
|
 |