 |
บทลงโทษ (จะเห็นว่าไม่มีถอดยศ) ก. ภาคทัณฑ์ ข. ทัณฑกรรม ง. ขัง จ. จำขัง ภาคทัณฑ์ | คือผู้กระทำผิดมีความผิดอันควรต้องรับทัณฑ์สถานหนึ่งสถานใดดังกล่าวมาแล้ว แต่มีเหตุอันควรปรานี จึงเป็นแค่แสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฏ หรือให้ทำทัณฑ์บนไว้ (สำหรับ เหตุอันควรปรานี ควรใช้เหตุที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ เป็นแนวทางประกอบดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา) | ทัณฑกรรม | คือการให้กระทำการสุขา, การโยธา ฯลฯ เพิ่มจากหน้าที่ประจำ ซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ โดยมีหลักเกณฑ์ในคำอธิบายท้ายตารางกำหนดทัณฑ์ว่า ทัณฑกรรมที่กำหนดไว้เป็นวัน ๆ หมายความว่า ทำทัณฑกรรมทุก ๆ วัน จนกว่าจะครบกำหนดในวันหนึ่งนั้น ผู้ที่จะสั่งลงทัณฑ์จะกำหนดทัณฑกรรมได้ไม่เกินกว่าวันละ ๖ ชั่วโมง แต่ถ้าให้อยู่เวรยาม ในวันหนึ่งไม่เกินกำหนดเวลาอยู่เวรยามตามปกติ ผู้ใดจะสั่งลงทัณฑกรรมให้กำหนดให้ชัดเจนว่า ทัณฑกรรมกี่วัน และวันละเท่าใด สำหรับผู้กระทำผิดวินัย และเป็นผู้รับทัณฑ์ สถานนี้ได้คือ ผู้รับทัณฑ์ชั้น ซ, ฌ ได้แก่ นักเรียนทหาร และพลทหาร) | กัก | คือกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้ | ขัง | คือขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือรวมกันหลายคนแล้วแต่จะได้มีคำสั่ง | จำขัง | คือขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของเรือนจำทหาร |
จากคุณ |
:
ไป่ฉี
|
เขียนเมื่อ |
:
13 พ.ย. 55 21:29:51
A:1.1.147.250 X:
|
|
|
|
 |