เมื่อแรกที่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศและมีท่าทีสนองตอบต่อปัญหาของเอ็นจีโอ ทำให้เกิดความมีการเข้าไปพบปะเยี่ยมเยียนม็อบปากมูลที่มาปักหลักอยู่หน้าทำเนียบฯ ปรากฏให้เห็นเป็นข่าวอยู่หลายครั้ง กระทั่งทำให้เกิดความรู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้น่าจะพูดคุยกันได้ง่ายกว่ารัฐบาลชวน หลีกภัย
แต่ช่วงเวลาของการฮันนีมูนย่อมต้องมีการเลิกรา จากที่เคยเจรจากันอย่างชื่นมื่น ก็เหมือนจะพูดกันคนละภาษา ในคราวที่ไม่พอใจ นายกฯ ยังกล่าวว่า เอ็นจีโอไปรับเงินต่างชาติมา และไม่หวังดีต่อประเทศชาติ
ทำให้เกิดคำถามว่าบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของเอ็นจีโออยู่ตรงไหน รัฐบาลมีทัศนะต่อการทำงานของเอ็นจีโออย่างไร สวนทางหรือคล้อยตามกับแนวโน้มการเคลื่อนตัวของกระแสโลก
ในการสัมมนาเรื่อง 'สังคมศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลง' ซึ่งจัดโดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสนอบทความเรื่อง 'บทบาทองค์การเอกชนในกระแสการเปลี่ยนแปลง' ร่วมวิจารณ์โดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และภูมิธรรม เวชยชัย
ศ.ดร.อมรา กล่าวถึง 'องค์การสาธารณประโยชน์' (หมายถึง องค์กรพัฒนาเอกชน) ว่าการเคลื่อนตัวขององค์กรสาธารณประโยชน์ในประเทศไทยช่วง 40-50 ปีที่ผ่านมา แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ 1) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และช่วงรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งมีไม่มากเพราะรัฐควบคุม 2) พ.ศ.2516-2535 มีการขยายตัวอย่างช้าๆ มีแนวโน้มถูกควบคุมน้อยลง
3) พ.ศ.2535 ถึงปัจจุบัน หลังจากอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีและมีนโยบายสนับสนุนองค์กรสาธารณประโยชน์ การเคลื่อนตัวของขบวนการทางสังคมมีความชัดเจนมากขึ้น มีเครือข่ายทำงานทั้งระดับชาติและข้ามชาติ
โดยขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมช่วงหลังๆ มีลักษณะเด่น คือ ต่อต้านคัดค้านอะไรบางอย่าง และเคลื่อนไหวเพื่อประเด็นปัญหาสาธารณะ กล่าวได้ว่าองค์กรสาธารณประโยชน์เติบโตขึ้นมาในระยะหลัง ด้วยเหตุผลของโลกาภิวัตน์ ที่เห็นได้ชัดคือปี ค.ศ.1972 มีประชุมที่สตอกโฮล์มเรื่อง สิ่งแวดล้อมมนุษย์ ส่งผลให้เกิดขบวนการส่งเสริมการพัฒนาสังคม เพื่อลดผลกระทบโลกาภิวัตน์ทางลบเชิงเศรษฐกิจ ในที่ประชุมตกลงกันว่าเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม จะต้องส่งเสริมให้เกิดองค์กรพัฒนาเอกชนมาทำหน้าที่นี้ รวมทั้งอัดฉีดเงินเข้าไปจำนวนมาก ทั้งจากระดับนานาชาติและระดับประเทศ
ประเทศไทยในช่วงหลังๆ องค์กรเหล่านี้ได้เติบโตขึ้นมาก จากสถิติปี 2540 มีการจดทะเบียนองค์กรสาธารณประโยชน์ไว้ 8,406 องค์กร (ไม่จดทะเบียนอีก 497 องค์กร) แบ่งเป็น 11 กลุ่มซึ่งมีบทบาทต่างกัน คิดเป็นการจ้างงานรวม 7 หมื่นคนเศษ
อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบการจ้างงานในภาคนี้กับประเทศต่างๆ เปรียบเทียบกับการจ้างงานทั้งหมดพบว่าภาคนี้มี 10 เปอร์เซ็นต์ ของไทยคิดเป็น 0.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) คิดเป็น 0.07 เปอร์เซ็นต์
ประเด็นต่อมา การเคลื่อนตัวขององค์กรดังกล่าวเป็นอย่างไร ไปทางไหน รัฐเห็นประโยชน์มากน้อยเพียงไร?
จากคุณ :
พญาไฟสีเทา
- [
26 ส.ค. 46 15:32:01
]