ความคิดเห็นที่ 36
#32 MTJA = องค์กรร่วมมาเลเชีย-ไทย ทำหน้าที่แทนรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ เป็นผู้ให้สัมปทาน เก็บค่าภาคหลวง หักส่วนแบ่งผลกำไรจากการขายก๊าซ เก็บอากรส่งออกกรณีขายก๊าซให้ผู้อื่น (เว้นไทย-มาเลฯ) และเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจากผู้รับสัมปทานซึ่งเป็นผู้ขายด้วย
TTM = เจ้าของท่อส่งก๊าซ-โรงแยกก๊าซ (บริษัทร่วมทุนจาก 2 ประเทศ รับจ้างขนก๊าซจากปากหลุม ส่งตามท่อขึ้นฝั่งที่ภาคใต้ของไทย และขนต่อไปยังมาเลฯ รวมทั้งรับจ้างแยกก๊าซหุงต้มที่ภาคใต้ของไทยและส่งต่อไปมาเลฯ
ปตท.-เปโตรนาสตกลงร่วมกันซื้อและเป็นเจ้าของก๊าซฝ่ายละครึ่ง ทั้งสองเป็นผู้ว่าจ้าง TTM ขนส่งและแยกก๊าซ ทั้งก๊าซที่ขนส่ง และก๊าซหุงต้มไม่ได้เป็นของ TTM
ผู้คัดค้านระบุไม่เห็นด้วยกับข้อตกลง JDA และ MTJA โดยอ้างว่ารัฐบาลไทยไปทำสัญญาเสียเปรียบ ทำนองว่าขายชาติ และ MTJA ปกป้องผลประโยชน์ของมาเลฯ และ TTM
#33 ภาษีตรง "ไทยจะได้ประโยชน์จากภาษีและการจ้างงาน" นั้น เป็นภาษีที่จ่ายให้รัฐบาลไทยโดยตรงไม่เกี่ยวกับรัฐบาลมาเลเซีย เพราะ TTM ประกอบธุรกิจในไทยต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รายได้ของ TTM คือค่าจ้างขนส่งและแยกก๊าซนะคะ
เรื่องประโยชน์จากการจ้างงานนั้น เป็นเรื่องมุมมองที่ต่างกัน นำความเห็นของฝ่ายหนึ่งไปครอบให้อีกฝ่ายหนึ่งย่อมจะไม่ได้
เรื่องมลพิษ หนูแหวนก็ไม่เคยไว้ใจเหมือนกัน มาตรฐานก็แปลกๆ บางเรื่องสูงมากเท่าเทียมประเทศตะวันตก แต่บางเรื่องต่ำมากเทียบเคียงกับประเทศในทวีปแอฟริกาก็ว่าได้ กลไกและการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานก็ไม่น่าวางใจเช่นกัน แต่ถ้าบอกว่าไม่ไว้ใจแล้ว ไม่ต้องทำโครงการเลยก็ไม่น่าจะใช่ที่นะคะ
คล้ายๆ กับที่หลายคนบอกว่าท้องถิ่นยังมีผู้มีอิทธิพลเยอะแยะ อบต. ที่เห็นๆ ก็โกงกินและฆ่ากันตายเพราะผลประโยชน์บ่อยๆ จึงไม่ไว้วางใจว่าจะสามารถรับอำนาจต่างๆ มากมายที่จะมอบให้ได้ แล้วสรุปง่ายๆ เลยว่า อย่ากระจายอำนาจให้ท้องถิ่นดีกว่า
ประเด็นสันติวิธี กลับขึ้นไปอ่านใหม่อีกที ...อิอิ จริงๆ ด้วย ข้อความตกไปค่ะ ที่ตั้งใจต้องเขียนว่า... "...ให้ศาลปกครอง/ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา/ตีความว่า การปฏิบัติของรัฐนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามที่ฝ่ายคัดค้านเห็นว่าไม่ชอบหรือไม่
#34 และ #35 ตอบรวมไปแล้วนะคะ
ถ้าผู้รับสัมปทานขายให้รายอื่นที่ไม่ใช่ไทยกับมาเลฯ นอกจากค่าภาคหลวง เงินหักส่วนแบ่งกำไร และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมแล้ว ผู้รับสัมปทานยังต้องเสียค่าอากรส่งออกก๊าซให้กับรัฐบาลทั้งสองประเทศด้วย ส่วนผู้ซื้อที่อยู่ต่างประเทศเค้าจะเอาไปทำประโยชน์อะไรต่อก็เรื่องของเค้าค่ะ เราคงไม่น่าจะตามไปขอส่วนแบ่งอะไรจากเค้าได้อีกแล้ว เหมือนเราซื้อน้ำมันดิบจากตะวักออกกลางมากลั่นในประเทศของเรา เราย่อมไม่ยอมให้เค้ามาเก็บภาษีหรือขอรับส่วนแบ่งประโยชน์จากการกลั่นได้อีก
TTM ไม่ได้เป็นผู้ซื้อก๊าซ จึงไม่มีสิทธิขายก๊าซให้ใครรวมทั้งก๊าซที่แยกแล้วด้วย เว้นเสียแต่ว่าในทางปฏิบัติผู้ซื้อจะขายให้ TTM ก่อนแล้วค่อยซื้อคืนอีกหน แต่ทำเช่นนั้นจะยุ่งยากและมีต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยเปล่าประโยชน์
กำไรที่เกิดขึ้นของผู้ซื้อที่นำก๊าซไปขายต่อให้ผู้ใช้ รวมทั้งที่แยกก๊าซแล้วขายเป็นก๊าซหุงต้มให้กับผู้ใช้นั้น ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับรัฐบาล ผู้ซื้อฝ่ายไทย คือ ปตท. ต้องเสียให้กับรัฐบาลไทย ขณะที่ผู้ซื้อฝ่ายมาเลฯ คือ เปโตรนาส ก็ต้องเสียให้กับรัฐบาลมาเลฯ ซึ่งยังไม่รวมภาษีอื่นๆ ที่แต่ละประเทศจะเรียกเก็บจากการขายนั้นด้วย ตัวอย่างเช่น ภาษีสรรพสามิต เงินกองทุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ เป็นต้น ประเทศที่เค้าสนใจปัญหาสังคมสิ่งแวดล้อม เค้าจะเรียกเก็บภาษีอื่นๆ อีก เช่น ภาษีมลพิษ, ภาษีการใช้พลังงาน, ภาษีการใช้ทรัพยากร, กองทุนอุบัติเหตุ, เงินเก็บอุดหนุนกองทุนวิจัย, กองทุนพลังงานสำรองฉุกเฉิน เป็นต้น MTJA ได้รับอำนาจให้ทำหน้าที่แทนรัฐทั้ง 2 ในพื้นที่ไหล่ทวีปซ้อนทับเท่านั้น
ใครที่ไม่ได้อยู่วงการนี้แล้วเข้าใจเรื่องนี้ได้ทะลุ ก็คงเป็นเรื่องแปลกนะคะ หลายคนในวงการเองแท้ๆ ยังรู้บ้างไม่รู้บ้างเลย ที่ทำตัวไม่อยากจะรู้ก็มีถมค่ะ
จากคุณ :
หนูแหวน.
- [
24 ก.ย. 46 19:53:15
]
|
|
|