มาอ่านความเห็นของ "ดร.สมภพ มานะรังสรรค์" เทียบกับ "คุณชุมพล ณ ลำเลียง" คำต่อคำ

    กระทู้นี้แตกประเด็นมาจาก P2453517

    นี่เป็นความเห็นของ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2546 ในรายการวิทยุ "สภาท่าพระอาทิตย์" ซึ่งผมเคยตั้งกระทู้ไปครั้งหนึ่งแล้ว

    อ้างอิงจากที่นี่
    http://www.manager.co.th/Politics/PoliticsView.asp?NewsID=4615707070231

    แต่ขอตัดตอนบางส่วน ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ "กลไกการเกิดฟองสบู่" ที่กำลังก่อตัวขึ้นดังนี้

    "...... ตัวแปรตัวที่สาม ที่ผมคิดว่ามีส่วนอย่างมากที่ทำให้ทุนสำรองของเราเพิ่มขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมาก็คือการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มสิ่งที่เราเรียกว่าฐานเงินนะครับ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้เพิ่มฐานเงิน 200,000 กว่าล้านบาทนะครับ ไม่น่าจะหนี 200,000 กว่าล้านบาทนะครับ เพราะผมจำได้ว่าเมื่อ 3 ปีฐานเงินของเรามีประมาณซัก 400,000 ล้านบาทต้นๆ นะครับตอนนี้เราขึ้นมาเป็น 600,000 ล้านบาทต้นๆ ลองคิดดูซิครับว่าเงินเหล่านี้ถ้ามันหมุนได้ประมาณซักเกือบ 3 รอบนะ ตอนนี้เงินมันหมุนช้าลงนิดนึง แต่มันก็หมุนได้เกือบ 3 รอบ 200,000 กว่าล้านก็ออกมาเป็น 600,000-700,000 ล้านนะครับ ก็เอามาไล่ซื้อดอลลาร์ได้เพิ่มมากขึ้นเพราะเราอยากเห็นดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และอยากเห็นบาทที่อ่อนตัวลง เมื่อเป็นอย่างนี้แน่นอนเราเอาเงินบาทมาไล่ซื้อดอลลาร์ ดอลลาร์ก็เพิ่มมากขึ้น ทุนสำรองเราก็เพิ่มสูงขึ้นนะครับ แต่มันก็มีผลข้างเคียงพอสมควร เพราะทำให้สภาพคล่องของเราที่ล้นเกินอยู่แล้ว ยิ่งล้นเกินหนักยิ่งขึ้น ลองไปเช็กดูตัวเลขจะเห็นความชัดเจนนะครับว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาที่เราเพิ่มฐานเงินมากๆ สภาพคล่องล้นเกินที่แบงก์ปล่อยไม่ออกก็เพิ่มอย่างฮวบฮาบเช่นกัน ยิ่ง 6-7 เดือนที่ผ่านมาจะเห็นชัดเจนว่าอยู่ดีๆ สภาพคล่องล้นเกินที่แบงก์ปล่อยไม่ออก เพิ่มจาก 600,000 ล้านขึ้นมาเป็นกว่าล้านล้านบาท นะครับฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ มันก็แน่นอนมันก็มีไซด์เอฟเฟ็คท์ในตัวมันเอง ตัวอย่างเช่น โอกาสการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ก็ดี การบริโภคเกินตัวของคนบางกลุ่มก็ดี และรวมตลอดถึงการที่เงินออมเองในประเทศถูกทำร้ายรังแกเพิ่มมากขึ้น เช่นถูกลดดอกเบี้ย จนกระทั่งดอกเบี้ยติดลบในขณะนี้ ถูกถอนออกมาเล่นหุ้นบ้าง ถูกถอนออกมาไล่ซื้อรถยนต์บ้าง เปลี่ยนเป็นอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง ๆที่เป็นบ้านที่สอง บ้านที่สาม โดยที่เขาอาจไม่จำเป็นต้องซื้อเลย แต่เห็นแล้วว่า เงินบาทต่อไปเป็นสิ่งที่ไม่มีแรงจูงใจ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ เมื่อดูจากทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นแบบนี้ คำถามคือว่ามันเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนหรือไม่

    ..................................

    ขณะนี้ระบบแบงก์ไม่ทำงาน ทำงานได้น้อย เราก็เลยใช้วิธีการเพิ่มในเชิงปริมาณ ก็คืออัดเงินเข้าไปในส่วนของฐานเงิน โดยที่คำถามคือว่าถ้าเผื่อเราอัดฐานเงินเข้าไป เพื่อกระตุ้นหลายๆเรื่องแบบที่เราได้กล่าวมาแล้ว ความจำเป็นในการทำให้ระบบแบงก์มันทำงานก็ลดน้อยลงไปนะครับ และคิดดูซิครับเรายังคาราซังซื้อเวลาไปเรื่อยๆ โดยที่ระบบแบงก์ยังเป็นแบบทุกวันนี้โดยเราไม่กระตุ้นการปรับโครงสร้าง การปฏิรูปในเชิงคุณภาพที่ทำให้ระบบการเงินมันฟื้นตัวขึ้นมาทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม
         
          คำนูณ – ไม่ได้แก้ปัญหาที่รากฐาน
         
          สมภพ – ใช่ครับ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มันก็จะทำให้ต้นทุนของเราในอนาคตได้ครับ
         
          คำนูณ – อาจารย์ครับ ภาษาชาวบ้านของการเพิ่มฐานเงินคือพิมพ์แบงก์เพิ่มใช่ไหมครับ
         
          สมภพ – ใช่ครับ

    http://www.manager.co.th/Politics/PoliticsView.asp?NewsID=4615707070231

    มาดูความเห็นของ "แหล่งข่าววงการธนาคาร" ในกระทู้ที่แล้ว ตอนหนึ่ง

    "....เป็นการโตที่ผิดปกติ ที่เกิดจากการเข้าแทรกแซงของทางการ เนื่องจาก ณ ขณะนี้ นักลงทุนทั่วโลกรวมทั้งเฮดจ์ ฟันด์ต่างชาติ (กองทุนเก็งกำไรเงินตราต่างประเทศ) ต่างรู้ดีว่าค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวอยู่ระดับปัจจุบัน 41-42 บาท/ดอลลาร์ ต่ำเกินความเป็นจริงประมาณ 5-6 บาท/ดอลลาร์ เพราะการที่ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาโดยตลอดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ล่าสุดเดือนกรกฎาคม 2546 เกินดุลอยู่ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามธรรมชาติค่าเงินบาทจะต้องแข็งเพื่อสะท้อนการเกินดุล แต่เนื่องจาก***รัฐบาลไม่ต้องการให้ค่าเงินแข็ง เพราะกลัวกระทบการส่งออกและอัตราการเติบโตของประเทศ จึงพยายามกดค่าเงินบาทไว้ด้วยการแทรกแซงเพื่อให้ส่งออกดี*** ทำให้ฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ....."


    สังเกตประโยคสุดท้ายนะครับ ในเครื่องหมาย *** รัฐบาลกำลังพยายามกดค่าเงินบาทให้ต่ำเอาไว้ โดยการไล่ซื้อดอลล่าร์ ทำให้ทุนสำรองประเทศเพิ่มขึ้น .... แต่ในอีกด้านของเศรษฐกิจ ความพยายามกดค่าเงินบาทให้ต่ำ โดยการพิมพ์เงินออกมามาก ทำให้เกิดฟองสบู่ขึ้นมา ซึ่งขณะนี้ไปเกิดในตลาดหุ้นแล้ว แต่มีแนวโน้มที่กำลังลามไปสู่ตลาดอสังหาฯ

    คุณชุมพล ณ ลำเลียง กก.ผจก.ปูนซีเมนต์ไทย พูดไว้ดังนี้

    "....ขณะนี้มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงว่ามีการเก็งกำไรในพวกที่ไม่ใช่ภาคการผลิตจริง เป็นการเก็งกำไรบนกระดาษ ได้สร้างความร่ำรวยจากราคาที่ปั่นกันขึ้นไป โดยไม่ได้มาจากผลผลิตที่แท้จริง ............ บ้านขายดีที่สุดราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ผมว่าเป็นไปไม่ได้ในข้อเท็จจริงและกำลังเงินที่มีอยู่ อยู่ดีๆ ประชาชนจะมีรายได้มากขนาดนั้น รวยขนาดนั้นมาจากไหน"

    -------------------------------------
    บทสรุป ไม่ว่าจะเป็น "แหล่งข่าววงการธนาคาร" ของประชาชาติธุรกิจ หรือ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ หรือ คุณชุมพล ณ ลำเลียง ... ต่างตั้งข้อสังเกตค่อนข้างสอดคล้องกัน

    แต่ว่า คุณชุมพล ถามหา "เบรก" จากรัฐบาลครับ ไม่ได้ให้เบรกตอนนี้ แต่ท่านถามว่า "เบรกน่ะมีเตรียมพร้อมไว้หรือยัง?"

    ต้องถามรัฐบาลละครับว่า ท่านจะบันดาลดัชนีตลาดหุ้น 800 จุด พร้อมคะแนนเสียงท่วมท้นเตรียมสำหรับการเลือกตั้งอีกปีกว่า ... หรือท่านจะมีความกล้าหาญขนาดสวนกระแสเสียงแซ่ซ้องมากขนาดไหน????!!!! ..... รัฐบาลมีคันเร่ง เครื่องยนต์เทอร์โบเป็นเรื่องดี แต่จะดีมากกว่า จะต้องกล้าโชว์ "เบรก ABS + ยางรถยนต์ทุกสภาวะ all season tires" ให้ประชาชนเห็นเลยครับ

    แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 46 07:23:18

    แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 46 07:16:44

    แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 46 06:50:19

    จากคุณ : United States of America - [ 14 ก.ย. 46 06:48:32 ]