รากเหง้าความขัดแย้งในตะวันออกกลาง (ตอนที่ ๑)

    โดย หวู กุ้ยหยุน นสพ. เอเชียไทมส์
    หลังจากที่ผู้ก่อการร้ายได้โจมตีนิวยอร์คและใกล้วอชิงตันในเหตุการณ์ ๑๑ กันยา ทั้งสหรัฐและโลกอาหรับและมุสลิมบอกชัดว่าผู้ก่อการร้ายไม่กี่คนไม่ใช่ตัวแทนของชาติอาหรับและศาสนาอิสลามจุดยืนร่วมกันนี้บอกว่าทั้งสหรัฐและโลกอาหรับมุสลิมไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์ทั้ง ๒ ฝ่ายที่เป็นอยู่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก เพราะปัจจุบันนี้มันก็ละเอียดอ่อนเปราะบางพออยู่แล้ว จีนจำเป็นต้องเข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากระหว่างโลกตะวันตกและโลกอาหรับมุสลิมก่อนที่จะพิจารณาความสัมพันธ์ของตนกับตะวันตก

    โลกตะวันออก (The Orient)
    โดยเฉลี่ยแล้วชาวตะวันตกไม่เคยเข้าใจแนวคิดเรื่องโลกตะวันออกอย่างชัดเจนเลย ส่วนใหญ่ชาวตะวันตกสมัยใหม่เข้าใจโลกตะวันออกจากบันทึกของหมอสอนศาสนาคริสต์ที่อยู่ในประเทศตะวันออกทั้งหลายซึ่งเต็มไปด้วยอคติและความรู้แค่ผิวเผิน ในช่วงหลังของคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ชาวยุโรปคิดว่าโลกตะวันออกคือจีน อินเดีย และชาติอาหรับแต่ในสมัยกลางมันหมายถึงโลกอาหรับเท่านั้นซึ่งกล่าวในแง่วัฒนธรรมมากกว่าภูมิศาสตร์โดยเกี่ยวข้องกับอารยธรรมอิสลามซึ่งแตกต่างจากอารยธรรมคริสเตียน แม้ในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ นักประวัติศาสตร์ เช่น อาร์โนลด์ ธอร์นบี้ ยังคงใช้คำว่า “แนวเขตอารยธรรมอิสลาม” มากกำหนดเขตโลกอาหรับแค่ เอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ นักปรัชญาตะวันตกคิดว่า ปรัชญาอิสลามคือปรัชญาอาหรับทั้งๆที่มีนักปรัชญาอิสลามอยู่นอกโลกอาหรับ เช่น จามาลอัล-ดิน อัล-อัฟกานีชาวอิหร่าน และโมฮาเหม็ด อิคบาลชาวปากีสถาน ความสับสนนี้มีมาตั้งแต่สมัยกลางยันสมัยใหม่ชาวยุโรปมองว่าโลกอาหรับและมุสลิมเป็นพลังทางการเมืองและทางทหารที่มีวัฒนธรรมไม่ต่างกันมากนัก ผู้เขียนเห็นว่าหลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ ชาวตะวันตกเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างโลกอาหรับและมุสลิมได้ชัดเจนมากขึ้นเพราะอังกฤษและฝรั่งเศสผู้ชนะในสงครามได้แบ่งเขตอิทธิพลของตนในตะวันออก
    กลางตามสนธิสัญญาปารีสโดยแบ่งโลกอาหรับที่มีความเชื่อทางศาสนาและมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันออกเป็นหลายประเทศการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมันสร้างลัทธิชาตินิยมสมัยใหม่จากความวุ่นวายทางประวัติศาสตร์ เช่นลัทธิเคมาลและรัฐประชาชาติและเป็นลัทธิชาตินิยมที่แตกต่างจากลัทธิรวมชาติอาหรับ (Pan-Arabism) ลัทธิรวมชาติอิสลาม (Pan-Islamism) และหนึ่งชาติหนึ่ง
    รัฐ (one nation, one state)อย่างไรก็ดีอุดมการณ์และขบวนการชาติ นิยมอันหลากหลายในตะวันออกกลางล้วนแต่เกี่ยวข้องกับศาสนา อิสลามแม้ว่าเกิดขึ้นหลังจากลัทธิชาตินิยมเติร์ก อาหรับและอิหร่าน ในเหตุการณ์อันพิเศษนี้ ชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัย ๓ อย่างที่กระทบต่อประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออก กับตะวันตก

    จากคุณ : ktm - [ 29 ก.ย. 46 21:29:42 ]