ความคิดเห็นที่ 14
ผมว่าฝรั่งคนนี้เขาชัดเจนในชีวิต น่าจะถือว่าเขาหาตัวเองเจอแล้ว(จากคำบอกเล่าของเขาและถ้าเขาคิด,ศรัทธาในแบบที่เขาพูดจริงๆ) ผมเชื่อว่ามีหลายคนคิด ศรัทธาแบบนี้จะจริงๆแล้วยังทำไม่ได้ ยังงัยผมจะอธิบายภายหลัง) แต่ฝรั่งคนนี้ชัดเจนจนไม่อยากจะวิเคราะห์เพิ่มมากนัก?
แต่หลังจากอ่านถึงช่วงท้ายๆที่อ้างอิงเศรษฐกิจ"พอเพียง" ทำให้ผมรู้ว่ากระทู้นี้ต้องการสื่ออะไร? ผมจึงอยากจะขยายความในส่วนนี้ แนวทาง"สมถะ" หรือ"พอเพียง" นี้มันเป็นอัตตาระดับปัจเจก เพื่อจัดระเบียบความต่าง เพื่อสร้าง"สมดุล"ให้กับเสกลระดับพหุฯ หรือสังคม ที่รวมของมวลชนขนาดใหญ่ ให้ถูกต้อง,"""พอดี""",พอใจ ทั้งสองฝ่ายเพื่อลดการกระทบกระทั่งของแรงเหวี่ยงของรัสมีเส้นรอบกรรมในแต่ละอัตตาไม่ให้ส่งผลในทางอิทัปปัจฯ (เกี่ยวเนื่อง)
จากความเป็นหนึ่ง(ปัจเจก)ในนั้น(อตัมสกสูตร)ของหน่วยสังคมขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รวมพลของอัตตาระดับปัจเจก
ดังนั้นแนวคิดสมถะนี้จึงมีส่วนอย่างยิ่งในการจัดระเบียบให้กับอัตตาระดับปัจเจกด้วยหลักความเกี่ยวเนื่อง ,อิทัปปัจฯ,อตัมสกฯอย่างที่ผมกล่าวมาข้างบน แต่ยังอยู่ในซับเซ็ตของคำว่า"สมดุล"ที่สอดคล้องกับแนวทางการปรับตัวให้เข้าหาธรรมชาติของความต่างตาม หลัก"""มัชฌิมา"""ทางของพุทธในเสกลระดับ มหภาค หรือมวลชนที่เป็นผลรวมของอัตตาระดับปัจเจกคือระบบนิเวสน์ทางธรรมชาติหรือ(มนุษยชาติ)
ผมยกตัวอย่างความเกี่ยวเนื่องตามที่ผมเสนอมาตามกระทู้นี่ง่ายๆคือ นายฝรั่งคนนี้ มีแนวคิด"สมถะ" และค่อนข้างปฎิเสธทนุนิยมในอัตตาระดับปัจเจกของเขา ซึ่งถ้าทุกอัตตาหรือส่วนใหญ่คิดได้แบบเขาโลกนี้คงสงบ? เพราะแนวทางนี้พระพุทธเจ้าท่านได้เขียนแผนที่ไว้ เพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือหลุดพ้นจากวัฎสงสาร"นิพพาน"
แต่ตั้งสองพันห้าร้อยกว่าปีแล้วพระพุทธองค์หรือแนวทางของพระพุทะองค์ก็ยังไม่สามารถทำให้ทุกๆอัตตาไปสู่สภาวะอนัตตา อย่างที่พระพุทธองค์ทำได้ เพราะนั้นคือเป้าหมายสูงสุด แต่ระหว่างทางในแรลลี่พุทธศาสตร์นั้นได้บรรจุอัตตาไปตามความต่างของผู้เข้าถึง รวมทั้งความต่างของยานพาหนะเดินทางส่วนตัว(ผลรวมของกรรมวิบากกรรมคนๆนั้น)ของคนๆนั้นจะพาตังเองไปอยู่ในตำแหน่งอาร์ซีไหน?
พระพุทธองค์ได้นิยามความต่างแบบนี้ไว้ชัดเจนในหลัก"ดอกบัวสี่เหล่า) และแนวคิดของฝรั่งคนนี้น่าจะเป็นแนวคิดที่เป็นการถอดระหัสแผนที่ในแรลลี่พุทธศาสตร์ แบบทางตรงไม่เดินอ้อมตามสีสันเพื่อหลอกล่อความต่างที่มีกิเลสหนาๆให้เข้ามาหาพุทธะ
แต่ถึงยังยังนายฝรั่งคนนี้ที่ปฎิเสธทุนนิยม (พุทธน่าจะใกล้กับคำว่ากิเลสมนุษย์ กับเส้นสุดของฟ้าได้) เขาก้ยังต้องมีปฎิสัมพันธ์กับ ทุนนิยม ตามหลักความเกี่ยวเนื่องและความเป็นหนึ่งในนั้นของคำว่าสังคมครอบคัรวจนถึงสังคมโลก ด้วยความต้องการทางปัจจัยสี่(เขายกมาเองเรื่องบ้านเรื่องลูกที่ทำให้เขาจะใช้แนวทางสมถะแบบเดิมนั้นไม่ได้จนต้องยอมประณีประนอม(มัชฌิมา)หรือปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสมดุลในระบบนิเวสน์ใหม่กับทุนนิยมเพราะความต้องการพื้นฐานทางปัจจัยสี่
ดังนั้นการปรับตัวเพื่อปัจจัยสี่ที่ไปเกี่ยวเนื่องอย่างแน่นอนกับทุนนิยมที่สังคมสร้างมันขึ้นมาจนกลายเป็นระบบนิเวสน์ใหม่การล่าเพื่อเฉพาะท้องตัวเองจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการมีครอบคัว และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เครื่องมือแบบเดิมใช้ไม่ได้ สิ่งที่เราเคยล่าเป็นอาหารก็พัฒนาตัวเองให้เข้ากับระบบนิเวสน์ใหม่ ที่ส่วนใหญ่คือทุนนิยม
แม้จะเคยมีระบบนิเวสนือื่นๆ เช่นสังคมนิยม หรือประชานิยมแต่ทุกระบบนิเวสน์นั้นทุกๆอัตตาระดับปัจเจกจะต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับระบบนิเวสน์นั้นๆ แนวทาง สมถะหรือพอเพียงยังสอดคล้องไหม? สอดคล้องแน่นอนเพราะนั้นคือแนวทางที่อ้างอิงมาจากธรรมะที่เป็นอกาลิโก(จริงเหนือการเวลา)
แต่เป็นเสกลระดับปัจเจกที่จะช่วยจัดระเบียบทางสังคมได้ในมาตรการทางจริยะ แต่ยังต้องมีมาตรการทางนิติฯ,รัฐศาสตร์มาสกรีนความอยาบในอัตตาที่เบียนเบียนกันรุนแรงเกินกว่ามาตรการทางจริยะจะรับได้เช่นประหาร ,จำคุกในทางพหุสังคม เพื่อสร้างสมดุลจัดระเบียบความทางในทางเบียดเบียนที่ซับซ้อนขึ้นตามระบบนิเวสน์ที่เปลี่ยนไป ให้พอดีกับกติกาในมิติอื่นๆ ที่นอกจากจริยะ(สมถะหรือพอเพียง)
ดังนั้นทุนนิยมจึงไม่น่าใช่อะไรที่เราจะต้องตั้งข้อรังเกียจ เพราะเราจะต้องมีปฎิสัมพันธ์กับมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่เราจะต้องปรับตัวเข้าหามัน อย่างพอดี ไม่ใช่หลบจนมันไล่ต้อนเราเข้ามุมอับ เราก็จะอยู่ในสถานะเหยื่อ กับระบบนิเวสน์นั้น ทุนนิยมก็เหมือนปลากระป๋อง ที่จะต้องศึกษาวิธีเปิดวิธีกินมัน ให้สอดคล้องกับวิธีชีวิตดั้งเดิมของเรา เช่นกินบ้างเป็นอาหารเสริมเวลาที่หาอย่างอื่นไม่ทัน
แต่ไม่ใช้ปฎิเสธมันโดยสิ้นเชิงปลากระป๋องผทุนนิยม)นั้นมันก็ไม่ต่างอะไร?กับก้อนหินที่เอาไว้สำหรับปาหัวหมา แต่บังเอิญว่าเขาปามาให้หรือใส่เรา???
จากคุณ :
ตอม
- [
10 พ.ค. 47 12:49:28
A:202.176.134.30 X:
]
|
|
|