ความคิดเห็นที่ 413
#412 ใจเย็นก๊าบบบบบ
ตามความเข้าใจผมนะ อย่างเช่น 12 เดือนปรับเงินเดือน 1 ครั้ง (เอาตามาตรฐาน ก่อนละกันครับ) เอายอดที่ไม่เท่ากันในรอบ 60 เดือนสุดท้ายมา + กัน แล้วหารด้วยจำนวน ของยอดที่ไม่เท่ากัน
เช่น สมมุติว่าปรับเงินเดือน 12 เดือนต่อ 1 ครั้ง 60 เดือน = 5 ปี ก็เท่ากับปรับ 5 ครั้ง.... ปีที่ 1 = 10,000 ปีที่ 2 = 11,000 ปีที่ 3 = 12,000 ปีที่ 4 = 13,000 ปีที่ 5 = 14,000 เอามา + กัน เท่ากับ 50,000 แล้วเอา 5 มาหาร เท่ากับ 12,000 ครับ..
ถ้าสมุมติ ปีที่ 4 ปรับ 2 ครั้งเช่น 12,500 13,000 ก็จะกลายเป็น ปีที่ 1 + 2 + 3 + 4(12,500)+4(13,000) + 5 ก็เท่ากับ 12,083.33 ครับ..
เอาจากที่เขาโพส #368 มานะ ไม่รู้จริงป่าว..แต่ขอแก้ไขไม่ให้ยืดเยื้อ ถ้าความหมายผิดเพี้ยนใครช่วงติงด้วยละกันครับ
อันนี้น่าจะเป็นวัตถุประสงค์ โดยเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการออมและเสียสละเพื่อส่วนรวม หลักการสำคัญที่มุ่งให้ช่วยเหลือกันและกัน ในยามที่ไม่มีรายได้ หรือลดลง โดยไม่ให้เป็นภาระกับสังคม
บุคคล 3 ฝ่ายที่จ่ายสมทบ 1. นายจ้าง 2. ลูกจ้าง 3. รัฐบาล
1. ค่ารักษาพยาบาล กรณีอุบัติเหตุภายใน 72 ชั่วโมง จ่ายเต็มจำนวน แต่ถ้า เป็นสถานพยาบาลเอกชนจ่ายตามกรณีฉุกเฉิน (ไม่กำหนดจำนวนครั้ง) - ข้อนี้ตินิดนึง ผมว่ามีบางกรณีที่ไม่จัดว่าเป็นฉุกเฉิน ซึ่งผู้รับการรักษาไม่รู้แล้วไปใช้ทำให้เกิดปัญหา สิ่งไหนคือฉุกเฉินในความคิดคนยังยาก เพราะบางคนก็ดูลำบากคล้ายอาการหนัก
1.1 ข้อนี้ดี - ทำงานไม่ได้ ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน ปีนึงไม่เกิน ครึ่งปี ยกเว้นโรคเรื้อรัง 1 ปี
2. คลอดบุตรนี้ก็โอเค น่าจะเป็นข้อดี เพราะประกันไหนจ่ายให้ผู้ชายบ้าง...ลาคลอดได้ 50% ของเงินเดือนต่างหากอีก จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน (ภายใน 15 เดือนก่อนการรักษา (อันนี้ไม่เข้าใจ) - หญิงได้รับค่าคลอด 4,000 บาท/ครั้ง ได้เงินช่วงลาคลอด 50% เป็นเวลา 3 เดือน - ชายได้รับด้วยเช่นกัน 4,000 บาท/ครั้ง - แต่ชายและหญิงใช้สิทธิได้ฝ่ายละ 2 ครั้ง แต่กรณีนี้เข้าใจว่า ต้องเป็นสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส เพราะถือว่าเป็นสามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
3. พิการ ข้อนี้โอเค ส่วนใหญ่ผมเห็นจ่ายเป็นก้อน อันนี้ตลอดชีวิต จ่ายมาไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ภายใน 15 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา) - เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างตลอดชีวิต - ค่ารักษา ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาท/เดือน ตลอดชีวิต - พิการแล้วเสียชีวิต ได้ค่าทำศพ 30,000 บาท และทายาทได้รับเงินสงเคราะห์ แบ่งเป็น ..... ถ้าจ่ายมา 3-10 ปี ได้ 1 เดือนครึ่ง ......ถ้าจ่ายมา 10ปี Up ได้เท่ากับค่าจ้าง 5 เดือน
4. เสียชีวิต อันนี้ยังดูด้อย แต่คงเป็นเพราะเฉลี่ยไปจ่ายด้านอื่นๆ เช่นเรื่องของพิการ หรือออกจากงาน เพราะในตอนต้น ก็บอกอยู่แล้ว่า "มุ่งให้ช่วยเหลือในยามที่ไม่มีรายได้ หรือลดลง โดยไม่ให้เป็นภาระกับสังคม" จ่ายไม่น้อยกว่า 1 เดือน (ภายใน 6 เดือนก่อนตาย ) - ค่าทำศพ 30,000 บาท
4.1 เรื่องเสียชีวิต และได้รับค่าทำศพ (เฉพาะจุดนี้ก็ดี) ยังมีผลถึงแม้จะออกจากงานไปแล้ว 6 เดือน (แต่ต้องยังไม่สามารถหางานใหม่ได้)
เรื่องบำเหน็จ - บำนาญ นี่ยังไม่ค่อยเข้าใจอ่านแล้ว หลายรอบยัง งง (กรณีสงเคราะห์บุตร ฯลฯ) ยิ่งเรื่องการจ่าย ยิ่ง งง แต่ขอเขียนจากความเข้าใจ - ได้รับผลประโยชน์เมื่ออายุ 55 ปี แล้วถ้าเสียชีวิต จะได้รับการสงเคราะห์บุตร (ใช่หรือไม่)
กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับสิทธิเมื่อส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือน - สิทธินี้สิ้นสุดหากบุตรตาย ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น และสิ้นสุดการประกันตนหมายเหตุ
- เงินสงเคราะห์เดือนละ 150 บาท/คน/เดือน จนบุตรมีอายุ 6 ปี ได้รับสิทธินี้คราวละ 2 คน เกินไม่นับ
5. กรณีจ่ายเงินบำนาญ - เอาค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายมาเฉลี่ย แล้วจ่ายให้กับเรา ร้อยละ 15 - ถ้าเราจ่ายประกันสังคมเกิน 15 ปี เพิ่มให้ร้อยละ 1 ต่อระยะเวลา 12 เดือน เช่น ถ้าทำงานมา 30 ปี ก็ได้ 30% ของค้างจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
6. กรณีจ่ายเงินบำเหน็จ อันนี้ อ่านแล้วไม่เห็นตัวเลข แต่ ถ้าเกิดผู้รับบำนาญ ตายใน 60 เดือน หลังได้รับสิทธิ กองทุนก็จะจ่ายเป็น 12 เท่าให้กับทายาท
7. สำหรับกรณีว่างงาน (อันนี้ดี) - ถ้าถูกเลิกจ้าง หรือสมัครใจออก (ต้องไม่ทำผิดกฎหมาย) จะได้ 50% ของค่าจ้างเดือนสุดท้าย เป็นเวลา 6 เดือน - แต่ถ้าออกโดยสมัครใจ จะได้ 30% เป็นเวลา 3 เดือน
อันนี้ไม่เข้าใจว่าคืออะไร สำหรับเงินสมทบนั้นในเบื้องต้นให้เก็บในอัตราร้อยละ 0.5 ของเงินเดือนจากฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล
เรื่องว่างงานเข้าใจว่าในอนาคตคงมีการขยายเวลาเพิ่ม ถ้ามีเงินสะสมมากพอ ประกันสังคมมีมา ครบ 15 ปีเมื่อไหร่ เมือ่ถึงตอนนั้น ต้องมีภาระเรื่อง บำเหน็จ-บำนาญ จะทำให้มียอดจ่ายเพิ่มสูง ซึ่งตอนนี้ถ้าเปิดกว้างมากไป ย่อมไม่เพียงพอในอนาคตนะถ้าจะเองกองทุนไปทำอะไรสักอย่างเห็นด้วย แต่ต้องไม่มีความเสี่ยง ผมว่าต้องจ่ายอีกนาน กว่าจะมีมากพอ เอาแค่ ครบ 15 ปี เกษียณสัก 10,000 คน จ่ายแค่คนละ 15% ก็จ่าย 30 ล้านบาทต่อเดือน ปีนึง 360 ล้าน และปีถัดไปละครับ ถ้าเกษียณอีกสัก 3,000 คนก็ตายแล้ว ต้องเก็บอีกเยอะอ่ะครับ
ที่ยกตัวอย่างมาให้ดูเป็นเฉพาะข้อดี ซึ่งแน่นอน ข้อเสียก็มี แต่ถ้าหลายๆ ท่านจะเทียบกับประกันชีวิต ผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะมันคนละแบบ และต่างมีข้อดี ข้อด้อยต่างกัน ยิ่งเรื่องสวัสดิการทำฟัน นี่...ปรกติทำประกันส่วนบุคคล ไม่รู้จ่ายเท่าไหร่ (ยกเว้นประกันกลุ่มๆ ของบริษัท)
อันนี้ที่คิดว่าโอเค 2. คลอดบุตร (จ่ายทั้ง ชาย-หญิง) พร้อมเงิน 50% อีก 3 เดือน 3. พิการ (อันนี้จ่ายตลอดชีวิต) 7. ว่างงาน
จากคุณ :
แมวหลงทาง
- [
4 ต.ค. 47 14:48:09
A:192.168.27.135 X:203.145.16.169 TicketID:070829
]
|
|
|