ความคิดเห็นที่ 15
เท่าที่ผมอ่านข่าวและบทสัมภาษณ์ของ ดร.พรชัย ก็ใช่ว่าโครงการแลนด์บริดจ์จะมีความคุ้มของโครงการโดยตัวมันเอง และจากที่เคยอ่านมาก็ได้ยินมาว่า ต้นทุนในการขนส่งทางท่อและการเก็บน้ำมันก็มิใช่น้อย เพราะต้องก่อสร้างท่อเป็นระยะทางราวๆ 250 กม. และต้องสร้างคลังน้ำมันทั้งสองฝั่ง อีกต้องสร้างส่วนประกอบอื่นๆ รวมทั้งยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินงานเมื่อโครงการเปิดให้บริการ
ถ้าเราค่อยๆข้อมูลจากผู้ดำเนินการคือ จากดร.พรชัย จะพบว่า
1. ต้นทุนดำเนินการขึ้นกับขนาดที่โครงการนี้จะสร้าง แยกเป็น
- "การลงทุนก่อสร้างท่อขนส่งน้ำมันในปริมาณ5 แสนบาร์เรลต่อวัน ใช้เงินลงทุน 482-613 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรวมเงินลงทุนก่อสร้างคลังน้ำมันฝั่งละขนาด 9-11 ล้านบาร์เรล (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 41 บาทคิดเป็นเงิน 19,762-25,133 ล้านบาท)
- การขนส่งน้ำมันปริมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะใช้เงินลงทุน700 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมการก่อสร้างคลังทั้ง 2 ฝั่งขนาด 6-7 ล้านบาร์เรล (ประมาณ 28,700 ล้านบาท)
- การขนส่งน้ำมันปริมาณ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ใช้เงินลงทุน 880 ล้านเหรีญสหรัฐ รวมค่าก่อสร้างคลังน้ำมันทั้ง 2 ฝั่งขนาด7-9 ล้านบาร์เรล (ประมาณ 36,000 ล้านบาท)
- และการขนส่งน้ำมันปริมาณ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน รวมค่าก่อสร้างคลังน้ำมันทั้ง 2 ฝั่งขนาด 9-11 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ข้อมูลจากฐานเศรษฐกิจค่อนข้างแปลกและไม่สมบูรณ์ แต่ประมาณได้ว่า ค่าก่อสรางอยู่ในราว 20,000-40,000 ล้านบาทขึ้นกับขนาดการก่อสร้าง
(ยังมีต่อ)
จากคุณ :
รองเมือง
- [
11 ก.ย. 47 00:04:01
]
|
|
|