CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangGameRoom


    หนังสือน่า่อ่านประจำสัปดาห์: The Case For Democracy

    ....วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ดิฉันอยากจะขอพูดถึงหนังสือน่าอ่านสักเล่มหนึ่งหน่อยค่ะหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า "The Case For Democracy: The Power of Freedom to Overcome Tyranny and Terror" ประพันธ์โดย Natan Sharansky ....ถือโอกาสเป็นการแนะนำรายการหนังสือประจำสัปดาห์ของห้องราชดำเนินแห่งนี้ก็แล้วกันนะคะ…อิอิ หากเพื่อนๆพี่ ป้่า น้า อาท่านใดมีหนังสือน่าอ่านอยากมาเล่าสู่กันฟังขอเชิญร่วมแจมกับกระทู้นี้ได้เลยนะคะ

    Sharansky นั้นเคยเป็นอดีตนักโทษการเมืองชาวโซเวียตผู้ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองสวนทางกับอดีตรัฐบาลสหภาพโซเวียต (Soviet Union)ภายใต้การบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ ตัวของ Sharansky นั้นถูกจำคุกอยู่ในโซเวียตนานกว่า 9 ปีเต็ม…ปัจจุบันนี้ Sharansky เคยดำรงตำแหน่งเป็น Minister for Jerusalem and Diaspora Affairs ณ ประเทศอิสราเอล. นอกจากนี้ Sharansky ยังได้รับรางวัล "The Congressional Gold Medal of Freedom" สำหรับการอุทิศแรงใจในการต่อสู้เื่พื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพและเสรีภาพด้วยค่ะ…หนังสือ "The Case For Democracy" เล่มนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อประธานาธิบดีบุชและแนวนโยบายของอเมริกา...The Case For Democracy เป็นของขวัญวันคริสต์มาสต์ที่ Sharansky มอบให้กับประธานาธิบดีบุชเมื่อปีที่ผ่านมาแต่ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้เป็นคนแรกก็คือ Secretary of State(รัฐมนตรีว่าการกระรวงการต่างประเทศ) Condoleezza Rice นั่นเองค่ะ  

    ด้วยเหตุนี้หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่ Liberals อ่านได้ Conservatives อ่านดีค่ะ อิอิ เหมาะอย่างยิ่งแก่การส่งไปเป็นของขวัญให้กับผู้ที่ชอบอ่่านหนังสือประเภท Non-fiction หรือผู้ที่รักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเกลียดเผด็จการจับใจอย่าง"ลุงโจ" (โจเซฟ สตาลิน), ซัดดัม ฮุสเซ็น, พอลพต, ซโลโบดาน มิโลเซวิคแห่งเซอร์เบีย, François Duvalierแห่งเฮติ, และ Nicolae Andruta Ceausescu แห่งโรมาเนียเป็นต้น...แต่ดิฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะเหมาะที่สุดกับกลุ่มนักวิชาการผู้ที่เรียกตัวเองว่า "Realists" หรือบรรดา "Leftist Liberals" ผู้ซึ่งเชื่อว่าตัวเราจะปลอดภัยขึ้นกว่าเดิมและโลกจะปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมหากเราปล่อยให้ "เผด็จการทรราชย์" นั้นปกครองประเทศต่อไป

    แต่ทว่าบทเรียนประวัติศาสตร์ในอดีตนั้นคือพยานปากเอกที่บอกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตได้ชัดเจนที่สุดค่ะ...ตั้งแต่ยุคนาซีของฮิตเล่อร์ โจเซฟ สตาลิน จนมาถึงยุคของซัดดัม ฮุสเซ็น ค่ะว่าแนวความคิดแบบ Leftist Liberals นั่นเองที่ทำให้เกิด"การฆ่าล้างเผ่าพันธ์"ในประเทศอย่าง"ต่อเนื่อง"และ"ยาวนาน" มานักต่อนักแล้วตั้งแต่การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว(The Holocaust) ชาวอิรักและชาวอัฟริกันตลอดจนที่อื่นๆทั่วโลกใบนี้...นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง(WWII)อันนำความทุกข์อันใหญ่หลวงมาสู่ประชาชนหลายล้านคนในหลายประเทศ องค์การสหประชาติ(United Nation)จึงได้ถือก่อกำเนิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือและความคิดริเริ่มระหว่างอดีต ประธานาธิบดีแฟรงค์กลิน ดี รูสเวลท์แห่งสหรัฐฯ และวินสตัน เชอร์ชิลอดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ...อดีตผู้นำทั้งสองได้จัดประชุมลับบนเรือรบในมหาสมุทรแอตแลนติกทั้งสองฝ่ายหารือแผนสำหรับโลกที่ปราศจากสงคราม(การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์)บุรุษทั้งสองได้ประกาศแผนการสันติภาพโดยเรียกแผนนี้ว่า"กฎบัตรแอตแลนติก"เป็นครั้งแรก...แต่องค์การสหประชาชาติได้กำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการก็เมื่อล่วงมาจนถึงปี1945 โดยมีเป้าหมายเพื่อหาหนทางที่จะรักษาสันติภาพขึ้นไว้ในหมู่ประเทศ....

    แต่เป็นที่น่าเสียดายค่ะว่าเจตนารมณ์ที่ดีอันนี้ถูกทอดทิ้งโดยองค์การสหประชาชาติเองตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ..."การคอรัปชั่นในUN"...การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในทวีปอาฟริกาดังจะเห็นได้จากคำขอโทษของนายโคฟี  อันนันที่มีต่อชาวรวันด้าต่อการทำหน้าที่บกพร่องของเค้าและความล้มเหลวขององค์กรสหประชาชาติในการป้องกัน"Genocide"ที่เกิดขึ้นใน Rwanda...และความอ่อนแอของสหประชาชาติเองที่ไม่สามารถบังคับใช้มติที่ตัวเองออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่หนึ่ง(The Gulf War) เป็นต้น...

    ...ชีวิตของ Natan Sharansky ผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้นั้นถือว่ามีประสบการณ์กับสังคมปิดหรือสังคมเผด็จการมาอย่างโชกโชนเลยทีเดียวล่ะค่ะ...ในช่วงชีวิตของ Sharansky นั้นเค้าเป็นทั้งนักการเมืองและนักโทษทางการเมืองในคราวเดียวกัน...Sharanskyใช้ชีวิตในฐานะนักโทษการเมืองอยู่ในคุกอดีตสหภาพโซเวียตกว่า 9 ปีเต็มในและอีก 9 ปีในฐานะนักการเมืองอิสราเอล..ด้วยประสบกรณ์ชีวิตของ Sharansky ที่ไม่ค่อยจะเหมือนคนอื่นนั้น(an unusual life) Sharanskyได้ดึงเอาทัศนะและมุมมองจากประสบการณ์ส่วนตัวของเค้าเองมาร้อยเรียงเป็นตัวอักษรในหนังสือ"The Case for Democracy"เล่มนี้ร่วมกับ Ron Dermer เพื่อนสนิทที่รู้จักกันมานานและยังเป็นที่ปรึกษาให้กับ Sharansky อีกด้วยถือได้ว่าประสบการณ์จากการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเผด็จการแบบเสร็จของ Sharansky นั้นเป็นแรงจูงใจอย่างมากที่ทำให้เค้าจรดปลายปากกาลงเขียนหนังสือเล่มนี้...

    ในช่วงที่ Sharansky ใช้ชีวิตอยู่ในคุกนั้นเค้ามีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า"ความเป็นประชาธิปไตย" นั้นสามารถเป็นเครื่องมือที่สำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยทั้งในเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและยังสามารถช่วยธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในโลกใบนี้อีกด้วย...ในส่วนตรงนี้ดิฉันอ่านแล้วก็เห็นด้วยกับความคิดของ Sharansky อย่างเต็มที่เลยค่ะเพราะมีความจริงที่น่าพิศวงอยู่อย่างหนึ่งค่ะว่าไม่เคยมีประเทศที่ถูกปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยสองชาติใดๆเลยที่ยกทัพจับศึกเข้าทำสงครามต่อสู้กันยกเว้นกรณี"อังกฤษ"กับ"อาร์เจนตินา"ที่มีข้อพิพาทย์กันเรื่องหมู่เกาะฟลอร์คแลนด์เท่านั้นเองค่ะ

    Sharansky ได้เริ่มพลิกผันชีวิตเข้ามาสู่เวทีการเมืองของอิสราเอลในราวปี1996ในช่วงแปดปีที่โลดแล่นอยู่บนเวทีการเมืองอิสราเอลนั้น Sharanskyเคยดำรงตำแห่งเป็นรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นตัวจักรสำคัญในรัฐบาลในการตัดสินใจเข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพที่ "Wye" มลรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกาสมัยรัฐบาลคลินตันรวมไปถึงเป็นมันสมองของแคมเปญจ์การต่อต้านการก่อการร้ายของกลุ่มปาเลสไตน์หัวรุนแรง  

    Sharansky กล่าวว่ามีหลายๆคนที่ยังเคลือบแคลงสงสัยในพลังแห่งเสรีภาพ(power of freedom)ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ นักวิจารณ์หัวเสรีนิยมหลายๆท่านที่แม้แต่ยังไม่เคยสัมผัสหนังสือเล่มนี้ก็ได้ปรามาสแนวความคิดของ Sharanskyไว้ก่อนแล้วค่ะว่า"การสร้างประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง"นั้นไม่มีทางเป็นจริงเป็นสิ่งที่เพ้อฝัน ด้วยเหตุนี้กลุ่มคนเหล่านี้จึงเรียกตัวเองว่าเป็นพวก Realists นั่นเองค่ะ อย่างที่พวกเค้าได้เคยกล่าวปรามาสถึงการเลือกตั้งในอิรักว่าไม่มีทางที่จะทำสำเร็จนั่นล่ะค่ะแต่พลังเสียงของชาวอิรัคกว่า75%ในการออกมาเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้งโดยไม่ประหวั่นพรั่นพรึงต่อคำขู่คุกคามของ"กลุ่มก่อการร้ายอาหรับฟาสซิสต์แห่งตะวันออกกลาง"และ"กลุ่มก่อการร้ายอัลไคด้า"ที่ประสานความร่วมมือกันแล้วก็ต้องบอกว่าวิสัยทัศน์ในการประเมิณ "power of freedom" ของชาวอิรัคของกลุ่มนักวิจารณ์หัวเสรีนิยมหรือผู้ที่เรียกตัวเองว่า Realists นั้นต่ำกว่าความเป็นจริงค่ะ  

    และคงไม่เป็นการกล่าวเกินความจริงจนเกินไปที่เรากำลังได้เห็น"โดมิโนแห่งประชาธิปไตย"นั้นได้เริ่มต้นทำงาน...ไล่ตั้งแต่การเลือกตั้งใน"อาฟกานิสถาน"ที่ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้เป็นครั้งแรก...มาจนถึง"เหตุเกิดที่เลบานอน"ในการประท้วงของชาวเลบานีสนับล้านคนในการขับไล่กองทัำพของซีเรียที่ยึดครองเลบานอนมายาวนานกว่า 3 ทศวรรษออกจากเลบานอนพร้อมกับการถอนกองกำลังของกองทัพซีเรียและหน่วยข่าวกรองทั้งหมดจากเลบานอนไม่เกินวันเสาร์นี้เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปในเลบานอนในเดือนพฤษภาคมนี้เป็นไปอย่างโปร่งใสปราศจากการแทรกแทรงของซีเรีย...ขณะที่เป็นครั้งแรกใน"ซาอุดิอาระเบีย"ตั้งแต่มีการปฏิวัติประเทศในปี1848 ที่อนุญาติให้มีจัดการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นและ"มุสลิมชีอะห์"ที่ชาวซาอุดิถือว่าเป็นพวกนอกรีตมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย...ข้ามมาถึงการประท้วง"ประเทศแห่งลุ่มน้ำไนล์อียิปต์" ในการเรียกร้องให้ประธานิบดี Hosni Mubarakเปิดโอกาสให้กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสลงแข่งขันการเลือกตั้งประธานาธิบดี สิ่งเหล่านี้คือเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์แห่งดินแดนตะวันออกกลาง....  
    ____________________________________

    และขอฝากคำกล่าวของท่านนายกทักษิณไว้ตรงนี้นะคะซึ่งดิฉันคิดว่าท่านกล่าวได้ตรงประเด็น
    และตรงใจดิฉันมากๆค่ะ

    "...โลกปัจจุบันอยู่ใต้เศรษฐกิจทุนนิยม แต่ประเทศที่ประสบความสำเร็จมาก 5 ประเทศ คือ สหรัฐ
    อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งของความสำเร็จคือคำว่า "ชาตินิยม" หรือ
    "Nationalism" ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความคลั่งชาติ คือ การยึดผลประโยชน์ชาติเป็นที่ตั้ง และ
    เมื่อใดที่ผลประโยชน์ตนขัดต่อผลประโยชน์ชาติ ทุกคนก็จะหยุด ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาล้ม
    เหลวกับระบบทุนนิยม แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมอบเป็นการบ้านให้ กอ.รมน. ไปหาวิธีการเพื่อ
    ให้คนตระหนักถึงผลประโยชน์ชาติ

    นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องดี ความสวยงามของ
    ระบอบประชาธิปไตย คือ ความหลากหลายทางความคิด แต่แน่นอนว่า การครอบงำทางความคิด
    บางครั้งต้องแยกแยะ เพราะจริงๆ แล้ว สิ่งที่ปรากฏอยู่บนสื่อฯ มักมาจากคนที่พูด 3 ส่วน คือ
    รัฐบาล ฝ่ายค้าน และผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ชอบฝ่ายค้าน หรือไม่ชอบก็ได้ แต่
    หลายอย่างที่เราไม่อาจหาข้อยุติในสังคมได้ เพราะผู้ไม่รู้กำลังเถียงกับผู้ไม่รู้

    "จุดอ่อนของสังคมไทย คือ ระบบข้อมูลข่าว ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นความรู้ยังอ่อนแอเมื่อ
    ความรู้ไม่พอ ปัญญาก็ไม่ค่อยมี ฉะนั้น การเถียง การกระทำด้วยความรู้สึก อารมณ์ ความเป็นพวก
    มีเรื่องการเมือง ผลประโยชน์และพวกพ้องมาเกี่ยวข้อง เมื่อ 3 อย่างนี้มาพบกัน เมื่อเกิดประเด็น
    ขึ้นการปรุงแต่งจึงมีนานาประการ เพราะเป็นสิ่งที่แยกแยะไม่ออก สังคมจึงควรเข้าใจและยึดหลัก
    อย่างเดียวว่าอะไรคือประโยชน์ชาติ อะไรคือสิ่งที่เราควรรักษาไว้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกิดขึ้นจะ
    ง่ายขึ้นมาก" นายกรัฐมนตรี กล่าว

    สุขสันต์กับวันหยุดสุดสัปดาห์นะคะ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ…

    ภาพ: หน้าปกหนังสือ "The Case For Democracy"

     
     

    จากคุณ : เอื้องอัยราวัณ - [ 25 มิ.ย. 48 16:21:39 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป