| เป็นการคุกคามสื่อมวลชนโดยอำนาจรัฐ (559 คน) |
| เป็นการใช้สิทธิฟ้องร้องในกรณีหมิ่นประมาทด้วยเรื่องส่วนบุคคลทั่วไป (229 คน) |
| เป็นการฟ้องร้องในกรณีหมิ่นประมาทในฐานะนายกรัฐมนตรี (86 คน) |
| อื่นๆ ... (แสดงความคิดเห็นของท่านด้านล่าง) (21 คน) |
| จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 895 คน |
วันที่ 3 - 7 ตุลาคม 2548
[ประเด็นกระทู้โหวต PANTIP Poll]
กลายเป็นประเด็น Talk of the Town ในวงการสื่อมวลชนอีกครั้ง...
- เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ทนายความยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ต่อศาลอาญา
- คำฟ้องสรุปว่า ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ทั้งสอง ได้ร่วมกันกระทำความผิด โดยการสนทนาหยิบยกเรื่องราวต่างๆ และสอดแทรกด้วยคำพูดที่เป็นการดูหมิ่นและใส่ความนายกรัฐมนตรี ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548
- ประเด็นของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เมื่อวันที่ 9 กันยายน จนนำไปสู่การถูกฟ้องร้องครั้งนี้ คือเรื่องการแสดงความสงสัยในความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของนายกรัฐมนตรี, การแต่งตั้งตำแหน่งรักษาการสมเด็จพระสังฆราช และการอ่านบทความ "ลูกแกะหลงทาง"
- ท้ายคำฟ้อง ทนายความขอให้ศาลลงโทษนายสนธิและนางสาวสโรชา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136, 326, 328, 332, 393, ประกอบมาตรา 83, 91 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4
(รายละเอียดของกฎหมายอยู่ในหมายเหตุท้ายกระทู้)
และฟ้องในคดีแพ่งกับบริษัท ไทยเดย์ ด็อท คอม, นายสนธิ และนางสาวสโรชา ฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายอีก 500 ล้านบาทด้วย...
- ประเด็นที่น่าสนใจ คือสำนวนการฟ้องคดีหมิ่นประมาทของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ มีการใช้ทั้งข้อกฎหมายในหมวดความผิดเกี่ยวกับการปกครอง และความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียงเฉพาะบุคคลปะปนกัน!
- คุณคิดว่าแรงจูงใจและเหตุผลที่ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจยื่นฟ้องหมิ่นประมาทคืออะไร ?
ร่วมโหวต อภิปราย และแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
*********************
หมายเหตุท้ายกระทู้ :
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136 : ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 : ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 : ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 332 : ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความ ผิด ศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่น
ประมาท
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 : ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
แก้ไขเมื่อ 05 ต.ค. 48 11:09:09
แก้ไขเมื่อ 05 ต.ค. 48 11:04:54
จากคุณ :
PANTIP CREW
- [
5 ต.ค. 48 11:03:15
]