ความคิดเห็นที่ 10
โพสต์ทูเดย์ เบื้องหลังพิธีวัดพระแก้วที่นายกฯ
เป็นประธาน ราชเลขาธิการเป็นผู้เข้าเฝ้าฯ ขอพระบรมราชานุญาต
เมื่อวานนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้นำหนังสือการขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตใช้สถานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปราสาทพระเทพบิดร และถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 รวมทั้งถ่ายทอดเสียงทางสถานีวิทยุฯ มาชี้แจงต่อสื่อมวลชน เพื่อแก้คำครหาความไม่เหมาะสมอันเนื่องมาจากการเผยแพร่ภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธานพิธีศาสนสัมพันธ์สมานฉันท์แห่งชาติ ในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เมื่อวันที่ 10 เมษายน
อย่างไรก็ตาม เอกสารดังกล่าวได้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน มีหนังสือถึงราชเลขาธิการเมื่อวันที่ 8 เมษายน ขณะที่รัฐบาลกำหนดจัดงานดังกล่าวในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งนับว่ากระชั้นชิดมาก ขณะเดียวกันหนังสือที่นายสนอง บูรณะ รองราชเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทนราชเลขาธิการได้ลงนามแจ้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตมายังนางจุฬารัตน์นั้นลงนามในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นวันจัดงานพอดี
โพสต์ทูเดย์ จึงสอบถามไปยังนางจุฬารัตน์ ซึ่งได้รับการเปิดเผยเบื้องหลังการขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตว่า นายวิษณุได้ทำหนังสือขอพระบรมราชานุญาตไปที่สำนักพระราชวังในวันที่ 30 มีนาคม และ พศ.ก็ได้ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งวันที่ 8 เมษายน สำนักพระราชวังได้ประสานมาที่ พศ. ขอให้ทำหนังสือไปอีกหนึ่งฉบับถึงราชเลขาธิการ เนื่องจากการขอใช้สถานที่ดังกล่าวต้องทำเรื่องผ่านราชเลขาธิการเท่านั้น
พอทราบเช่นนั้น ดิฉันก็ตกใจมาก เพราะเวลากระชั้นแล้วจึงได้ติดต่อไปยังรองนายกฯ วิษณุ แต่ก็ไม่สามารถติดต่อได้ จึงติดต่อกลับไปที่ท่านราชเลขาธิการเพื่อเรียนถามว่าจะทำอย่างไร เพราะไม่สามารถหาคนลงนามในหนังสือได้ ก็ได้รับคำตอบว่า ใครเซ็นก็ได้ แต่ต้องส่งมาภายในวันที่ 8 เมษายนเท่านั้น ซึ่งขณะนั้นก็เป็นเวลาเย็นแล้ว ดิฉันเลยตัดสินใจลงนามด้วยตนเอง แล้วรีบนำส่งท่าน ราชเลขาธิการ ทราบว่าท่านได้นำหนังสือดังกล่าว เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในค่ำวันนั้นเลย ที่พระราชวังไกลกังวล กระทั่งวันที่ 10 เมษายนจึงได้รับการติดต่อกลับมาให้ไปรับหนังสือพระบรมราชานุญาต นางจุฬารัตน์ กล่าว
นอกจากนั้น การใช้สถานที่พระอุโบถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยังมีแนวทางที่ถือปฏิบัติไว้ชัดเจน ดังนี้ 1.พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นของพระมหากษัตริย์ ของชาติ (นั้นหมายความว่าการจะใช้สถานที่ได้ต้องมีพระบรมราชานุญาต)
2.แม้สำนักพระราชวังจะขึ้นตรงต่อ นายกรัฐมนตรี แต่ก็ในแง่ธุรการ เพราะทั้งหมดล้วนรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระชวงศ์จักรี (ศักดิ์ศรีของบุคคลเหล่านี้ เชื่อถือได้ว่ารัฐบาลก้าวก่ายไม่ได้)
3.ข้าราชการสำนักพระราชวังนั้น ถือเป็นข้าราชบริพารใกล้ชิด รู้ดีว่าสิ่งใดบังควรไม่บังควร
4.เก้าอี้ที่นายกนั่งก็เก้าอี้ธรรมดา ไม่ได้แสดงว่าพิธีนี้เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์แต่อย่างใด (ปกติพระเก้าอี้/เก้าอี้ในงานพระราชพิธี/พิธีต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องพระราชวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวรอาสน์ดูแลอยู่ จะแบ่งไว้
-พระราชอาสน์ทอดถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ กรณีมิได้เสด็จแต่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ผู้อื่นเป็นผู้แทนพระองค์ เจ้าพนักงานก็จะทอดพระราชอาสน์ไว้แล้วคลุมด้วยฝ้าเยียรบับไว้ตลอดงานพระราชพิธี/พิธี อันแสดงให้ทราบงาน การนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธาน
- พระเก้าอี้เหลืองจักรี สำหรับพระบรมวงศ์ทรงประทับ
- พระเก้าอี้เหลืองตัด สำหรับพระอนุวงศ์ ชั้น พระองค์เจ้าขึ้นไปทรงประทับ
- เก้าอี้แดงตัด สำหรับ พระอนุวงศ์ชั้น หม่อมเจ้า องคมนตรี แขก VIP
จากภาพที่เห็น นายกฯ ไม่ได้นั้งเก้าอี้แดงตัดด้วยซ้ำ แสดงว่างานนี้นายกเป็นสามัญชนเต็มขั้น)
5. สังเกตดีๆ จากพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาถึงเก้าอี้นายกฯ มีที่ว่างที่พอมองเห็นไว้ว่า สามารถให้คนนั้นได้ประมาณ 8-10 คน และโต๊ะเคียงอีกหนึ่ง ตัว แสดงว่า เจ้าพนักงานเว้นไว้มากที่เดียว และนอกจากนี้หากสังเกตุดีเวลาพระราชพิธี พระราชอาสน์ของในหลวง จะทอดใกล้พระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาก ในภาพเทียบเคียงของManager.com เองก็จะเห็นได้ว่า ถ่ายเห็นพุ่มไม้ทอง แซมเข้ามาด้วย
6.โดยปกติในงานพิธี ประธานจะหันเข้าหาพระสงฆ์เพื่อฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งปกติในสังคมไทย จะตั้งโต๊ะหมู่ที่ ต้นแถวพระสงฆ์นั่ง และหันหน้ามาทางเดียวกับพระสงฆ์ แต่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามไม่เหมือนกัน ดังนั้นประธานในพิธีจึงต้องหันข้างให้พระแก้วมรกตแทน (ในกรณีเทียบเคียงพระราชพิธีต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์เป็นองค์ประธาน จึงผินพระพักตร์หาคณะสงฆ์ และผู้ที่มาร่วมเฝ้าหันหน้าหาพระประธานคือพระแก้วมรกต ซึ่งจริงๆนับว่าเป็นคนนอกไม่เกี่ยวกับการพระราชพิธี)
7.กรณีเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังคุกเข้ารับน้ำกรวด เป็นกรณีที่ต้องเข้าใจว่า ประธานนั่งที่เก้าอี้ และกรวดน้ำจากกลด หากไม่มีคนรองรับน้ำกรวด ประธานในพิธีก็ต้องโค้งตัวต่ำมากในการกรวดน้ำซึ่งภาพที่ดูจะไม่งามนัก หรือกรวดน้ำจากที่สูงลงภาชนะก็จะทำให้น้ำกระเซ็นได้ เจ้าหน้าที่จึงต้องมารับน้ำกรวด แต่หากจะให้ยืนก็จะการเป็นการค้ำหัวผู้ใหญ่ไป จึงต้องคุกเข่า แต่หากเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าพนักงานจะค่อยๆ คลานเข้าไป แล้วหมอบรับน้ำ
จากคุณ :
โพสต์ทูเดย์
- [
12 พ.ย. 48 16:10:52
A:192.168.253.19 X:172.16.1.8, 203.113.86.156 TicketID:076951
]
|
|
|