ความคิดเห็นที่ 63
อืม อย่างที่คนอื่นว่านะครับ ถ้าพูดเรื่อง LPG ในรัชดาในทางลบ จะถูกถล่ม ไม่เป็นไรครับ ผมยินดีรับ ก่อนอื่นต้องออกตัวว่า ผมไม่มีส่วนได้ ส่วนเสีย กับทุกรณีในเรื่องพลังงาน ผมแค่อยากจะให้ทุกท่านรับทราบปัญหาที่เป็น ท่าน joblovenuk ครับ ท่านกรุณาศึกษาข้อมูลให้ละเอียดครับ แต่ก่อน LPG ประเทศเราผลิตใช้ในประเทศ และเหลือพอส่งออกอีก (แต่อย่าลืมนะครับว่าวัตถุดิบ 90% ต้องนำเข้า) แต่ปัจจุบัน จากการเพิ่มจำนวนการใช้ของภาคขนส่งส่วนบุคคล ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปจำนวนที่แน่นอนว่า อัตราส่วนการใชปัจจุบัน เพิ่มขึ้นไปมากแค่ไหน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เราจำเป็นต้องนำเข้า LPG สำเร็จรูปจากต่างประเทศแล้วครับ จากที่เคยส่งออก กลายเป็นต้องนำเข้า เพราะปริมาณการใช้เพิ่มมากขึ้นโดยภาคขนส่งส่วนบุคคล ซึ่งสามารถดูได้โดยง่ายคือจำนวนสถานีบริการแก๊สที่เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา โดย ปตท เป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว ปัญหาคืออะไร ปัญหาคือ ปตท ต้องรับภาระการจ่ายเงินหมุนเวียนในการซื้อแก๊สราคาแพงมาขายราคาถูกกว่า 3 เท่า โอเค ครับ ถึงยังเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก เทียบกับการผลิตในประเทศ แต่ถ้าสัดส่วนยังเป็นแบบนี้เรื่อยๆ เอาแค่สิ้นปีนี้ ปตท ก็จะต้องนำเงินสดไปซื้อ LPG สำเร็จรูปเพื่อมาขายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยขาดทุนเฉลี่ยตันละ 600 เหรียญ ลองคิดเล่นๆ นะครับ ถ้าต้องนำเข้า LPG ตั้งแต่เดือน กค เดือนละ 22,000 ตัน จะขาดทุนประมาณ 13,200,000 เหรียญ ต่อครั้ง โดยคิดจาก ราคาขายบ้านเรา ตันละ 300 เหรียญ และคิดจากราคาตลาดโลกตันละ 900 เหรียญ (หยาบๆ) ทีนี้ถ้าสัดส่วนการนำเข้าเป็นแบบคงที่จนถึงสิ้นปี เราต้องนำเข้า LPG รวมทั้งหมด 22,000 x 6 = 132,000 ตัน คิดเป็นเงิน118,000,000 เหรียญที่ ปตท ต้องจ่ายค่านำเข้า แต่ ปตท จะต้องขาดทุน 79,200,000 เหรียญ หรือเป็นเงินไทยประมาณ 2,613,600,000 บาท (คิดที่ 33 บาท/เหรียญ) ส่วนนี้ ปตท ต้องเป็นผู้จ่ายครับ แล้วรัฐบาลจะ Subsidy ให้ภายหลัง โดยกรณีนี้เข้าใจว่ายังไม่ได้ตกลงกันว่าจะจ่ายคืนเมื่อไหร่ อย่างไร หรืออาจตกลงกันแล้วแต่ยังไม่ประกาศว่าจะจ่ายคืนกันแบบไหน แต่แน่นอนครับ ปตท ไม่จ่ายเองอยู่แล้ว ทีนี้ ข่าว สถานการณ์ ล่าสุดของการนำเข้าแก๊สเป็นอย่างไร นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท.(PTT) เปิดเผยว่า ปตท.ปรับแผนการนำเข้าก๊าซแอลพีจี ในเดือน กค.ใหม่ปริมาณประมาณกว่า 109,800 ตัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 37.25% เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น จากแผนเดิมที่ก่อนหน้านี้ขยับการนำเข้าขึ้นมาเป็น 8 หมื่นตัน จากระดับที่เคยนำเข้าเดือนละ 4 หมื่นตัน ส่วนเดือนส.ค.มีแผนนำเข้าราว 8 แสนตัน สัดส่วนเริ่มขยายขึ้นอย่างรวดเร็วครับ แต่นั่นคงไม่เกี่ยวข้องกับพวกคุณอยู่แล้วมั้ง เพราะ คุณบอกว่า ปตท กำไรมหาศาล โอเคครับ เรื่อง การนำเข้าแก๊ส พอเห็นภาพได้ คือ จากผลิตใช้เอง เหลือส่งออก ก็ต้องเริ่มนำเข้า เพราะปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น สาเหตมาจากอะไรก็คิดกันเอาเอง ทีนี้ มาดู เรื่อง การสนับสนุน NGV ทำไมถึงต้องสนับสนุน เอาโดยสรุปสั้นๆ เลยครับ NGV ไม่ต้องนำเข้า(อย่างน้อยในช่วง 5 ปีนี้) และ ปตท ก็ลงทุนไปมหาศาลมากแล้ว แต่ อย่าคิดว่า ปตท อยากขายนะครับ เพราะ ถึงขายไป ก็ขายขาดทุนอยู่ดีครับ ราคาปัจจุบัน 8.50 บาท แต่ต้นทุน 12.50 บาท ขาดทุน ลิตรละ 4 บาท เค้าก็ไม่อยากขายหรอกครับ แต่ลงทุนไปมหาศาล รัฐยังบีบคอให้ขาย เพราะ ถือว่ามีในประเทศ ปตท มีกำไรเท่าไหร่ ตอนนี้ต้องนำมาลงทุน ทั้งสถานี NGV ท่อส่ง และก็รถหัวลาก ซึ่งมีมูลค่าเท่าไหร่คิดเล่นๆ ดูครับ NGV Gas Station ปตท ออกค่าอุปกรณ์ทั้งหมด ราวๆ 20 ล้าน/สถานี ปัจจุบันมีประมาณ 280 สถานี คิดเป็นเงิน 5.6 พันล้าน แต่ตามแผนแล้วจะให้มีสถานีทั้งหมด 740 สถานีในปี 55 คิดเป็นเงิน 14,800 ล้านบาท ส่วนการขยายเส้นทางท่อส่งก๊าซให้ครอบคลุมทั่วประเทศนั้น จะมีการสร้างท่อก๊าซ 3 สาย เงินลงทุนทั้งสิ้น 51,650 ล้านบาท ประกอบด้วย ท่อสายเอเชีย(สีเหลือง) 250 กม.วังน้อย-นครสวรรค์ เงินลงทุน 19,120 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จไตรมาส 1/54, สายมิตรภาพ(สีแดง)170 กม. แก่งคอย-นครราชสีมา เงินลงทุน 13,810 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จไตรมาส 3/54 และท่อสายเพชรเกษม(สีส้ม) 270 กม. จากราชบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เงินลงทุน 18,720 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จไตรมาส 2/55 รวมส่วนนี้ ก็ 103,300 ล้านบาท ค่าลงทุนกับสถานีขุดเจาะและสถานีกลั่น ไม่ต้องคิดละกันแพงมหาศาล จริงๆ แล้ว ผมไม่ได้มาแก้ต่างให้ ปตท นะครับ ออกตัวเลย แต่พูดขนาดนี้แล้วก็คงไม่พ้นโดนว่าอยู่ดีแหละ ช่างมันเหอะ เอาเป็นว่า จริงๆ ปตท และรัฐ วางแผนไว้ว่า NGV ที่ผลิตได้เอง และลงทุนไปตอนแรกจะใช้แค่ในภาคขนส่งมวลชนและแท็กซี่ แต่เนื่องจากเกิดวิกฤตราคาน้ำมันปรับตัวสูงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณการใช้แก๊วเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจึงมองและปรับแผนให้คนหันมาใช้ของที่ขุดและผลิตได้เองในประเทศ นั่นก็คือ NGV ส่วน LPG นั้น ผลิตได้เองก็จริง แต่วัตถุดิบต้องนำเข้า ซึ่งยังไงก็ควรจะจำกัดปริมาณการใช้ให้ถูกภาค เพราะ หากผลิตไม่พอความต้องการก็ต้องนำเข้า ท่านทั้งหลายครับ LPG เราขายถูกกว่าตลาดโลก ใช่ว่าเพราะเราผลิตได้เองอย่างเดียวครับ ที่อื่นๆ เค้าก็ผลิตได้เองครับ น้ำมันเราก็ผลิตเองครับ แต่ยังไงเราก็ต้องอิงหลักเกณฑ์ครับ หากมีการทำ Benchmark ขึ้น แต่ที่แต่ก่อนเราไม่อิงหลักเกณฑ์ เพราะ ประเทศเรามันเป็นประเทศกำลังพัฒนาครับ บางภาคเราต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้คนอยู่ได้ โดยเฉพาะภาคครัวเรือน ถ้าเราลอยตัว LPG นั่นหมายความว่าค่าอาหารต้องเพิ่มขึ้นสูงอีกโข ส่วนภาคอุตสาหกรรมใครว่าไม่สำคัญ ก็ลองคิดดูครับ ว่าถ้าเครื่องใช้อุปโภค บริโภคของคุณปรับราคาสูงขึ้นอีก ทับไปกับค่าน้ำมัน ค่ากิน คุณจะเป็นอย่างไร นั่นเป็นสาเหตุที่รัฐต้องเข้ามาดูแลครับ ใครจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยผมไม่ว่า จะด่า จะว่าไรผมก็เชิญครับ ผมเดินไปทำงานครับ ผมไม่เดือดร้อนค่าน้ำมัน ที่ทำงานผมเลี้ยงข้าวครับ ผมก็ไม่ค่อยจะเดือดร้อนค่ากินมากเท่าไหร่ (แต่ก็ไม่อยากกินแพงกว่านี้นะ) พวกคุณทำอะไร คิดอะไร ก็ตัวคุณเองครับ ผลก็จะตกอยู่กับพวกคุณ ใครใช้แก๊สก็ใช้ไป แต่ขอร้องละ เวลาเค้าขึ้นราคาก็อย่าบ่นมากครับ เวลาน้ำมันขึ้น ข้าวแกงขึ้น มันก็ขึ้นกันทุกส่วนแหละครับ ผมก็อยู่เมืองไทยเหมือนคุณครับ
จากคุณ :
Vincent Vega
- [
14 ส.ค. 51 12:49:22
]
|
|
|