ความคิดเห็นที่ 132

บังเอิญไปเจอมา ประชาชาติธุรกิจ มารายงานไว้ที่หน้า 5 ของฉบับล่าสุด 9 - 11 เม.ย.
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02inv01090452&day=2009-04-09§ionid=0203
การขาดทุนสต๊อกน้ำมัน (Stock Loss) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 40-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในปีนี้ จากที่ช่วงปลายปี 2551 ที่ราคาเคยขึ้นไปแตะสูงสุดอยู่ที่ 140-150 เหรียญสหรัฐ ทำให้บรรดากลุ่มโรงกลั่นน้ำมันในปีนี้ตกอยู่ในภาวะขาดทุน "ไม่เว้น" แม้แต่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้บรรยากาศในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเร็วๆ นี้เต็มไปด้วยคำถามที่ว่า ทำไมบริษัทจึงขาดทุนสต๊อกน้ำมัน (stock loss) สูงมาก ? และภายใต้สถานการณ์แบบนี้ฝ่ายบริหารมีแผนการอะไรรองรับ เพราะหากสถานการณ์ราคาน้ำมันเป็นปกติหรือไม่ หวือหวามากนัก บริษัทไทยออยล์น่าจะทำกำไรได้ถึง 11,435 ล้านบาท ในขณะที่ผลประกอบการจริงมีกำไรสุทธิแค่ 224 ล้านบาทเท่านั้น
ยอมรับทำ Hedging ไว้แค่ 25%
ผู้บริหารของบริษัทไทยออยล์ได้ตอบคำถามนักลงทุนถึงการขาดทุนสต๊อกน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกหวือหวาค่อนข้างมาก และเป็นภาวะที่ "คาดไม่ถึง" ประกอบกับบริษัทวางแผนรองรับด้วยการประกันความเสี่ยง (hedging) ไว้ในสัดส่วนร้อยละ 20-25 ของ product ที่มีอยู่ทั้งหมด หรือมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท และ hedging ที่ทำก็ทำไว้เฉพาะในส่วนของน้ำมันอากาศยาน (JET) กับน้ำมันดีเซลเท่านั้น รวมระยะเวลา 12 เดือน
แต่ในช่วงไตรมาส 3-4 ของปี 2551 ราคาน้ำมันและค่าการกลั่นกลับปรับตัวค่อนข้างรุนแรง นอกจากนี้ บริษัทยังขาดทุนจาก "ส่วนต่าง" ของราคาน้ำมันที่ค่อนข้างปรับตัวรุนแรงเพื่อสำรองน้ำมันตามกฎหมายที่ร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ที่มีอยู่ประมาณ 275,000 บาร์เรล/วัน หรือเพื่อสำรองให้มีน้ำมันใช้ได้ประมาณ 18 วัน รวมๆ แล้วประมาณ 5 ล้านบาร์เรล จากที่ราคาน้ำมันแตะที่ 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ณ วันนี้เหลือเพียงประมาณ 40 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล รวมมูลค่า "ส่วนต่าง" ที่ลดลงประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินประมาณ 7,000 ล้านบาท
เมื่อรวมทั้งปี 2551 ส่งผลให้บริษัท ไทยออยล์ขาดทุนจากการสต๊อกน้ำมันรวม 14,948 ล้านบาท ในขณะที่เมื่อปี 2550 ไทยออยล์ทำกำไรจากการสต๊อกน้ำมันไว้ที่ 8,817 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งที่ขาดทุนอยู่ที่ 900 ล้านบาท ในขณะที่ เมื่อปีก่อนมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1,545 ล้านบาท
ฝันซื้อโรงกลั่นน้ำมันใหม่ ?
ปัจจุบันบริษัทไทยออยล์มีกำลังการกลั่นน้ำมันอยู่ที่ 275,000 บาร์เรล/วัน นอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครือซึ่งเป็นธุรกิจปิโตรเคมีและน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานคือ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด หรือ TPX ที่สามารถผลิตสารอะโรเมติกส์ที่มีกำลังการผลิตพาราไซลีนอยู่ที่ 489,000 ตัน/ปี, ผลิตมิกซ์ไซลีนที่ 90,000 ตัน/ปี, เบนซีน 177,000 ตัน/ปี และโทลูอีนอีกประมาณ 144,000 ตัน/ปี หรือรวมการผลิตในสายอะโรเมติกส์อยู่ที่ 900,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังมี บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) หรือ TLB ที่มีกำลังผลิตน้ำมันหล่อลื่น พื้นฐาน 270,000 ตัน/ปี และ ยางมะตอย 400,000 ตัน/ปี เป็นต้น
ช่วงครึ่งปีแรก 2551 ถือเป็นช่วง "มือขึ้น" ของบริษัท เพราะค่าการกลั่นเฉลี่ยที่ได้อยู่ที่ 6.4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2550 ที่ค่าการกลั่นอยู่ที่เพียง 5.8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โรงกลั่นน้ำมันทั่วโลกต่างก็เร่งกำลังการกลั่นเพื่อรับค่าการกลั่นขาขึ้น จนส่งผลให้ในบางช่วงโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์สามารถกลั่นน้ำมันได้เต็มที่ถึงร้อยละ 106 ด้วยซ้ำ จากศักยภาพนี้จึงมีคำถามจากผู้ถือหุ้นว่า ในอนาคตจะมีการลงทุนเพื่อขยายกำลังการกลั่นจากเดิมที่ 275,000 บาร์เรลได้อีกหรือไม่ ?
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัทไทยออยล์ กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะขยายการลงทุนอย่างไร การลงทุนหลายครั้งที่ผ่านมาเน้นขยายกำลังการกลั่นด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการกลั่นเท่านั้น แต่หากว่าต้องลงทุนสร้างโรงกลั่นใหม่ขึ้นมาอีก 1 โรง เพื่อให้คุ้มค่าการลงทุนจะต้องมีกำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 500,000-600,000 บาร์เรล/วัน หากจะสร้างโรงกลั่นที่กำลังผลิต 500,000 บาร์เรล จะต้องลงทุนอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งต้องมาพิจารณาถึงความต้องการในตลาดทั้งในและต่างประเทศในขณะนี้ด้วยว่าเป็นอย่างไร
หากจะมองวิกฤตเป็นโอกาสก็คือ ต้องมองหากิจการโรงกลั่นแถบนี้ที่อาจจะเข้าไปซื้อกิจการที่ดี ทั้งในส่วนของโรงกลั่นและปิโตรเคมี เพื่อขยายการเติบโตในอนาคต เบื้องต้นมีเงื่อนไขต้องให้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 15
สุดท้ายขอออกหุ้นกู้ 500 ล้านเหรียญ
ปัจจุบันไทยออยล์มีกระแสเงินสดสามารถนำมาใช้ได้ทันทีประมาณ 10,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันก็ได้ขอ "อนุมัติ" จากผู้ถือหุ้นเพื่อออกหุ้นกู้อีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หากบริษัทตัดสินใจซื้อ กิจการข้างต้นก็สามารถเข้าซื้อได้ทันที สำหรับแผนการออกหุ้นกู้จำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จะมีกำหนดภายในปีนี้หรือไม่นั้น ต้องรอดูสถานการณ์ว่ามีความจำเป็นต้องใช้ลงทุนโครงการใดหรือไม่ แต่ปีนี้แผนลงทุนก้อนใหญ่คงยัง "ไม่มี"
นายวิโรจน์ยังมองแนวโน้มการดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปีนี้เชื่อว่าจะออกมาดีกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า การทำงานต้อง "เหนื่อยมากขึ้น" เพราะความผันผวนของ demand และ supply เป็นผลมาจากช่วงที่ผ่านมาโรงกลั่นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจหยุดผลิต ทำให้ demand ช่วงนี้กลับมา และเมื่อราคาน้ำมันปรับขึ้นมาก็จะมีโรงกลั่นใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับลงอีก โดยในส่วนของไทยออยล์เชื่อว่ามีศักยภาพในการแข่งขันได้อย่างแน่นอน เนื่องจากมีต้นทุนผลิตต่ำ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถเลือกผลิตผลิตภัณฑ์ที่มี margin สูงได้อีกด้วย
สำหรับแนวโน้ม "ค่าการกลั่นน้ำมัน"
ปีนี้คาดว่าจะต่ำกว่าปีก่อนที่ระดับ 7.9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนค่าการกลั่นเฉลี่ยรวมปิโตรเคมีปีก่อนอยู่ที่ 6.4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
จากคุณ :
P_Wut
- [
11 เม.ย. 52 05:46:46
]
|
|
|