Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    รู้กฏหมายจราจรที่ทำผิดกันบ่อยๆ + เอาไว้เถียงโจร

    ผมรวบรวมเฉพาะสิ่งที่เราเจอกันบ่อยๆ และเห็นว่าเป็นประโยชน์กับเรา
    ที่งชาว2ล้อและ 4ล้อนะครับ  และเห็นว่าช่วงนี้เราๆกันนั้นบ่นเกี่ยวกับการโดน
    เรียกอย่างไม่เป็นธรรมบ้าง ผิดจริงบ้าง ก็จะได้รู้กันไปว่าควรจะเป็นอย่างไร
    จากที่นี่ละกันครับ

    ที่สำคัญท้ายนี้ : ผมก็ไม่ใช่คนมีความรู้กฏหมายอย่างถ่องแท้เช่นเดียวกัน
                         ดังนั้นสิ่งที่ผมได้มา Post ไว้ในวันนี้ อาจจะมีข้อผิดพลาด
                         หรือกฏหมายบางตัวได้เปลี่ยนไปแล้ว ก็ขออภัย ณ ที่นี้
                         ด้วยครับ และท่านใดที่รู้เรื่องกฏหมายอย่างละเอียด
                          จะเพิ่มเติมสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือข้อผิดพลาดก็ยินดีครับ
                        หรือถ้ามีการ Post ไปแล้วก็ถือว่าเนการทวนละกันครับ
                         
     

    ------------------------------------------------------------------------
      จาก  http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2006/01/V4016972/V4016972.html

    ทุกคำตอบได้มาจาก พ.ต.ท.ยอดชาย ผู้สันติ รองผกก.2 บก.จร. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บก.02 กองบัญชาการตำรวจนครบาล

    ถาม : ท่อไอเสีย รถยนตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย หม้อพัก และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ มีความผิดหรือไม่ครับ
    ตอบ : ไม่ผิดครับ แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กม.กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ ไม่เกิน 100 เดซิเบล
                รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 95 เดซิเบล



    ---
    ถาม :กระจกมองข้างกระจกมองข้างถ้าเราติดอันเล็กจะผิดกฎหมายมั๊ยครับ
    ตอบ :การติดกระจกมองข้างอันเล็ก ไม่ผิดกม.ครับ สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ
            พ.ร.บ.รถยนต์พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี้
       - เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
           เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวนหรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกม.
       - กรณีเป็นรถจักรยานยนต์ กม.ก็บัญญัติไว้เช่นเดียวกันครับ
    ---



    ****
    ถาม :เรื่องไฟตัดหมอก อยากทราบว่าการเปิดไฟตัดหมอกนั้นผิดกฎหมายไหมครับ
    ตอบ : ขณะนี้กม.เปิดโอกาส ให้รถที่ต้องการติดไฟตัดหมอก
    1.สามารถติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์
         สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนาน
         กับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
    2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค
           อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ ดังนั้น สรุปว่า
        -  การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1
        -  การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2
    *





    -----
    ถาม : เรื่อง การจับความเร็ว
    ตอบ : 1. ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน
    1.1 ความเร็วตามที่กม.กำหนด ซึ่งเป็นกฎกระทรวงออกตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ระบุไว้โดยสรุปดังนี้
    - รถส่วนบุคคล รถเก๋ง รถแท็กซี่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน
    -ใข้ความเร็วในกทม.หรือ เขตเทศบาล ได้ไม่เกิน 80 กม.ต่อชม.
    -ใช้ความเร็วนอกเขตกทม.หรือนอกเขตเทศบาลใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม.ต่อชม.
    - ซึ่งความเร็วดังกล่าวข้างต้นรวมถึงบนทางด่วนทุกขั้น (ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ด้วย
    1.2 ยกเว้นทางมอเตอร์เวย์ มีกม.ระบุไว้เป็นการเฉพาะให้วิ่งได้ไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. เหตุที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า
    เพราะมอเตอร์เวย์เป็นทางในระดับพื้นราบ ไม่มีทางโค้ง หรือจุดที่เกิดอันตรายมาก และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตรงๆ ไม่ค่อยมีทางร่วมหรือทางเชื่อม
    สูง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยๆ กรณีรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ตกลงจากทางด่วนลงมาพื้นราบ ทำให้คนไม่รู้เรื่องรู้ราวด้านล่างตายไปหลายกรณีแล้ว
    1.3 กรณีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ส่วนใหญ่จะบังคับใช้หรือเข้มวงดกับรถที่ขับรถเร็วจนผิด ปกคิ
    หรือใกล้จุดที่น่าจะเกิดอันตราย เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้น และจะมีการใช้เครื่องเรดาห์ในการตรวจจับโดยเครื่องดังกล่าว
    ได้รับการรับรองความมาตรฐานจากกองทัพอากาศ เป็นระยะๆ เพื่อกันปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางด่วน
    จะมีการเรียกตรวจจับที่ความเร็วเกินกว่า 110 กม.ต่อชม. โดยผู้ขับขี่จะถูกเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถ และออกใบแทน ( ใบสั่ง)
    ให้รับไป ซึ่งกม.กำหนดอัตราโทษไว้ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนจะปรับ ไม่เกิน 500 บาท แต่จะถูกยึดใบขับขี่
    ตามมาตรการบันทึกคะแนน ไว้ 15 วัน หลังจากนั้นมารับใบขับขี่คืนได้โรงพักที่เราเสียค่าปรับ
    ปกติการจับกุมผู้ขับขี่รถเร็วกว่ากม.กำหนดก็ได้ทำเป็นเหตุการณ์ประจำวันอยู่แล้ว แต่บางสน.ไม่มีพื้นที่ให้จับเนื่องจาก
    ไม่มีระยะทางไกลๆในการยิงด้วยเครื่องตรวจจับ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ราย การขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม.ต่อชม.
    อาจดูช้าไปบ้างในเขตกรุงเทพฯ แต่เป็นความเร็วที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะลดความรุนแรงของความบางเจ็บได้ รวมทั้งเป็นความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน
    ในยุคพนักงานเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนผลต่างของเวลาระหว่าง 90 กม.ต่อชม. กับ 110 ก.ม.ต่อชม. จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก









    ---
    ถาม : เรื่อง รถโหลดรถเก๋งโหลดเตี้ยผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ หรือมีกฏหมายบังคับให้โหลดได้ไม่เกินเท่าไหร่ เพราะรถบางคันท้ายโด่งมาก
                บางคนโหลดให้ดูพองาม ซึ่งผมโดนตำรวจจับข้อหาดัดแปลงสภาพรถ และรถผมก็เป็นรถมือสอง ซื้อมาใช้สภาพนี้

    ตอบ : ขออนุญาตแยกตอบเป็นหัวข้อหลักๆ อาจจะข้ามหรือกระโดดไปบ้าง ดังนี้
     -- การใช้รถนั้น หากเป็นรถที่ซื้อต่อจากผู้อื่น (รถมือสอง) ผู้ที่ซื้อรถคันดังกล่าวมาหรือผู้ขับขี่รถ (จะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ตาม)
                 จะต้องรับผิดชอบทั้งในเรื่องของการขับขี่รถและของตัวรถที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตรวจพบว่าผิดกม.
                 สรุปว่า การใช้รถมือสองหรือการยืมรถคนอื่นมาขับ หรือการเป็นลูกจ้างแล้วนายจ้างสั่งให้มาขับรถ เช่นไปส่งของหรือเป็นคนขับรถ หาสกพบว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดกม.
                 จะอ้างว่าไม่ใช้เจ้าของรถหรือเป็นรถซื้อต่อมา ย่อมไม่ได้ ยกเว้นจะมีกม.กำหนดไว้เป็นความผิดเฉพาะตัวเจ้าของ
      -- รถโหลดเตี้ยหรือรถยกสูงไม่ผิดกม. เว้นแต่ 2.1 รถโหลดเตี้ย หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไปทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกม.
                 ก็จะมีความผิดไปด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้ารถผิดไปจากที่กม.กำหนดไว้ ได้แก่
             รถยนต์ : ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม.
             หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้ว ลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม.หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกม.ครับ

    1. รถอยู่ในเต๊นท์ยังไม่ผิดกม.ครับ จอดไว้ในเต๊นท์ยังไม่ผิดจะผิดเมื่อเอาออกไปใช้ขับขี่ ส่วนโชคอัพรถนั้นยิ่งไม่ผิดกม.ใหญ่ เว้นแต่จะผิดตามพ.ร.บ. ผลิตภัณท์มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) เกี่ยวคุณสมบัติของโชคอัพ ครับ
    เท่าที่ทราบ การตรวจสภาพรถผ่านสถานที่ตรวจรถเอกชนไม่ได้ตรวจเรื่องความเตี้ยของรถครับ มีแต่ตรวจเรื่องอุปกรณ์อื่น

    2. รถยกสูงหากไฟสูงเกิน 1.35 ม.ก็ผิดกม.เช่นเดียวกันครับ รถใส่เครื่องเทอร์โบ หรือเปลี่ยนเครื่องใหม่
            ต้องให้นายทะเบียนกรมการขนส่งทางบกตรวจสภาพก่อน หากตรวจผ่านก็ไม่ผิดครับ

    3.ประเด็นว่าเป็นรถมือสองคงเข้าใจดีแล้วนะครับว่า ใช้เป็นเหตุผลในการทำให้พ้นผิดไม่ได้ แต่ประเด็นกรณีที่ตำรวจไม่แจ้งข้อหา
         หรือความผิดให้ทราบนั้น ไม่ถูกต้อง โดยหลักแล้วต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าผิดอะไร แล้วจึงออกใบสั่ง

    4. เรื่องการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมได้รับเงินรางวัลจากค่าปรับจราจรนั้น เป็นเพราะมีกม.บัญญัติไว้ว่า
            เงินค่าปรับจราจรร้อยละห้าสิบให้แบ่งให้แก่กรุงเทพมหานคร และเป็นรายได้แผ่นดิน (กระทรวงการคลัง)
           ส่วนที่เหลือนั้นให้เป็นรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม ซึ่งในส่วนของตำรวจจราจรก็มีการเปลี่ยนแปลงกันหลายครั้ง
         ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้มีการกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนกม.มากขึ้น แต่การกระทำความผิดใดๆก็ตาม หากไม่เคยถูกจับมาก่อน
        ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเปลี่ยนสิ่งที่ผิดกม.เป็นสิ่งที่ถูกกม.ไปได้ ไม่ว่าจะไม่เคขถูกจับมา 2 หรือ 3 ปีหรือขับรถผ่านมากี่จังหวัดแล้วก็ตาม


    ---------





     
               

    -----------------------------------

    แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 52 18:00:06

    จากคุณ : Soudai - [ 11 มิ.ย. 52 17:59:13 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom