Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
+++ บทความน่าสนใจ...ครบเครื่องเรื่องมอเตอร์ไซค์.... +++ vote  

ครบเครื่องเรื่องมอเตอร์ไซค์

ผู้ ใช้มอเตอร์ไซค์ในการเดินทางคงคุ้นเคยกับศัพท์เหล่านี้มาบ้างแต่เคยตั้งใจที่ จะอ่านเพื่อ ให้รู้แน่ว่ามันคืออะไรกันบ้างไหม เผื่อบ้างทีมีโอกาสคุย กับคนอื่นจะได้ไม่ต้องทำแค่ยืน ทำตาปริบๆ

ขนาด

ในที่นี้ ก็คือ ความกว้าง ความยาว ความสูงของตัวรถ โดยความสูงจากพื้นนั้น จะวัดจากพื้นขึ้น ไปจนถึงจุดต่ำสุดของตัวรถ ส่วนความกว้างนั้น จะวัดกันที่ปลายแฮนด์ด้าน หนึ่งไปจนถึง ปลายแฮนด์อีกด้านหนึ่ง ส่วนความสูงของตัวรถนั้น วัดจากจุดที่ล้อแตะพื้นจนถึงจุด ที่สูง ที่สุดของตัวรถ (ไม่รวมกระจกมองหลัง) ช่วงห่างล้อ นั้นวัดที่แกนล้อหน้าถึงแกนล้อหลัง ส่วนความยาวของรถวัดขากขอบยางหน้า จนถึงขอบยางหลัง หรือบังโคลนท้าย

น้ำหนัก

มีการชั่งอยู่ 2 แบบ คือ
    1. น้ำหนักสุทธิ เป็นน้ำหนักตัวรถล้วนๆ ไม่รวมของเหลวที่เติมเข้าไป เช่น น้ำมัน น้ำมันเครื่อง น้ำยาหล่อเย็น(สำหรับหม้อน้ำ) หรือน้ำกลั่น ซึ่งข้อมูลรถส่วนใหญ่ จะบอก น้ำหนักสุทธิเป็นส่วนมาก
    2. น้ำหนักรถ เป็นน้ำหนักรวมของรถเมื่ออยู่สภาพพร้อมใช้งานจริง คือของเหลวทุก จุดมีการเติมเรียบร้อยเหมือนการใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักที่ได้จะมากกว่าน้ำหนักสุทธิ


เครื่องยนต์

ซึ่งจะมีทั้งแบบ 4 จังหวะ และแบบ 2 จังหวะ


ระบบระบายความร้อน

ระบบระบายความร้อนในมอเตอร์ไซค์นั้นมีหลายระบบดังนี้
    1. ระบายความร้อนด้วยน้ำ คือการใช้น้ำไปหมุนเวียน และนำความร้อนที่เกิดจาก เครื่อง ยนต์มาถ่ายเทสู่บรรยากาศที่บริเวณแผงรังผึ้ง
    2. ระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบนี้นิยมกันมากในรถเล็ก เนื่องจากเครื่องยนต์ มีความร้อนไม่มากนั้น บริเวณเสื้อสูบก็จะมีครีบสำหรับเพิ่มพื้นที่ถ่ายเทความร้อนสู่บรรยากาศ
    3. ระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่อง หรือที่รู้จักกันในนาม ออยล์คูลเลอร์ หลักการคล้ายๆ หม้อนน้ำ คือมีการหมุนเวียนของน้ำมันเครื่องที่เกิดความร้อนจากการหล่อลื่น ไปสู่งแผงรังผึ้ง ระบายความร้อน ถ่ายเทความร้อนสู่บรรยากาศ จากนั้น น้ำมันเครื่องที่เย็นตัวลง จะกลับเข้า สู่เครื่องยนต์เพื่อหล่อลื่นเครื่องยนต์ต่อไป ซึ่งน้ำมันเครื่องเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วนั้น จะส่ง ผลต่อประสิทธิภาพต่อการหล่อลื่นโดยตรง คือจะลดความหนืดลงไป (ใสขึ้น) ทำให้การ หล่อลื่นด้อยลง


ระบบวาล์ว

จะมีในสเปกเครื่องยนต์ 4 จังหวะ โดยมีระบบต่างๆ ดังนี้
    OHV  ( โอเวอร์เฮดแคมวาล์ว) หรือที่รู้จักกันในนาม เครื่องตะเกียบ คือแคมชาร์ฟ (เพลาราวลิ้น หรือเพลาลูกเบี้ยว)จะอยู่บริเวณตีนเสื้อสูบ ขับวาล์วโดยการ ใช้ก้านกระทุ้ง (ที่มาของคำว่าเครื่องตะเกียบ) ไปกระทุ้งวาล์ว ที่อยู่บริเวณฝาสูบ มักจะพบในรถรุ่นเก่าๆ และรถ ฮาร์เลย์ เดวิดสัน

     OHC  (โอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) หรือ SOHC (ซิงเกิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) ก็คือ แคมชาร์ฟ อยู่เหนือลูกสูบ คืออยู่ที่ฝาสูบ ขับวาล์วโดยตรง ( direct drive) หรือใช ้กระเดื่อง กดวาล์ว แต่รถจักรยานยนต์ส่วนมากจะใช้กระเดื่องกดวาล์วเป็นส่วนใหญ่ ระบบนี้พบได้ทั่วไป ในรถเล็ก เช่น ฮอนด้า ดรีม ฮอนด้า โซนิก เป็นต้น

    DOHC  (ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) คือมีแคมชาร์ฟ จะมี 2 แท่ง อยู่ที่ฝาสูบ อาจจะขับวาล์วโดยตรง หรือใช้กระเดื่องกดวาล์ว(ในรถรุ่นเก่า) ระบบนี้จะทำให้สามารถ ใช้วาล์วได้มากกว่าระบบอื่น

     ส่วนจำนวนวาล์วนั้น ก็จะมีตั้งแต่ 2 วาล์ว(ไอดี 1 ไอเสีย 1) 3 วาล์ว(ไอดี 2 ไอเสีย 1) 4 วาล์ว(ไอดี 2 ไอเสีย 2) 5 วาล์ว(ไอดี 3 ไอเสีย 2) หรืออาจจะมีถึง 8 วาล์ว(ไอดี 4 ไอเสีย 4) ในรถฮอนด้า เอ็นอาร์ 750 แต่ลูกสูบจะเป็นแบบวงรี จึงทำให้มีพื้นที่ในการบรรจุวาล์วมาก
ในรถ จักรยานยนต์ 2 จังหวะนั้น ระบบที่นิยมในปัจจุบันคือ รีดวาล์ว หคือแคร้งเครสรีดวาล์ว มีลักษณะเป็นแผ่นลิ้นบางๆ ติดตั้งอยู่ที่ช่องทางไหลของไอดี และจะเปิดทางให้ไอดี ผ่าน เข้าสู่เครื่องยนต์ในจังหวะดูด และรีดวาล์วจะปิดช่องทางไอดีไม่ให้ไหล ย้อนกลับด้วยแรงอัด ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลง


ขนาดความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.)
แสดง ให้เห็นถึงขนาดของเครื่องยนต์ โดยสามารถวัดขนาดของ ซี.ซี. ได้จากการคำนวณ ปริมาตรลูกสูบในช่วงเคลื่อนที่ในกระบอกสูบ คือ จากศูนย์ตายบนถึงศูนย์ตายล่าง สำหรับ เครื่องยนต์ 2 สูบ ขึ้นไป ให้รวมจำนวน ซี.ซี. ทั้งหมดเข้าด้วยกัน


ระบบจุดระเบิด

เป็น อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดประกายไฟแรงสูงที่เขี้ยวหัวเทียน เพื่อจุดระเบิดไอดี สำหรับรถผู้หญิงและรถสกูตเตอร์นั้น มักจะใช้ระบบจุดระเบิดแบบ C.D.I.


ระบบน้ำมันหล่อลื่น

มี 2 ระบบคือ
ระบบ น้ำหมันหล่อลื่นแบบใช้ปั๊ม (รถ 4 จังหวะ) ซึ่งจะใช้น้ำมันเครื่อง เป็นตัวหล่อลื่นเครื่องยนต์ทั้งระบบ ตั้งแต่เพลาราวริ้น กระบอกสูบ ชุดข้อเหวี่ยง จนไปถึงชุดเกียร์และคลัทช์(กรณีเป็นแบบคลัทช์เปียก)
ระบบ หล่อลื่นแบบแยกส่วน หรือใช้ออโตลูป (รถ 2 จังหวะ) คือจะแยกส่วนการหล่อลื่นกัน โดยชุดเกียร์และคลัทช์นั้น จะใช้น้ำมันเกียร์หล่อลื่น ส่วนการหล่อลื่นกระบอกสูบและข้อเหวี่ยงนั้น จะใช้น้ำมันออโตลูปเป็นตัวหล่อลื่น โดยจะรวมมากับไอดีและจะถูกเผาไหม้ไปพร้อมกับไอดี


ระบบคลัทช์

มี ทั้งคลัทช์เปียกหลายแผ่นซ้อนกัน (แช่ในน้ำมันเครื่อง) ซึ่งรถใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ระบบนี้ และคลัทช์แห้งหลายแผ่นซ้อนกัน ซึ่งจะไม่มีน้ำมันเครื่องมาเกี่ยวข้องเลย นิยมใช้ในรถแข่ง เนื่องจากเสียงการทำงานดังมาก และสึกหรอเร็ว แต่ให้ประสิทธิภาพการจับตัวของแผ่นคลัทช์ดีกว่าคลัทช์เปียก


ระบบสตาร์ท

มี 2 แบบ คือ ระบบสตาร์ทไฟฟ้า คือใช้มอเตอร์เป็นตัวสตาร์ท เช่นในรถครอบครัว และระบบสตาร์ทเท้า ใช้เท้าเหยียบคันสตาร์ท


แรงม้าสูงสุด

คือ แรงที่เครื่องยนต์สามารถฉุดลากรถให้วิ่งไปได้ในระยะทางและในระยะเวลาหนึ่งๆ โดยที่ “ 1 แรงม้า จะเท่ากับ งานที่เกิดจากการเคลื่อนวัตถุหนัก 75 กก. ไปได้ระยะทาง 1 เมตร ภายใน 1 นาที ” ใช้เปรียบเทียบแสดงค่าหน่วนวัดเป็นแรงม้า ซึ่งในขณะที่ เครื่องยนต์ทำงานเต็มที่ แรงม้าที่ได้ก็คือแรงม้าสูงสุด ซึ่งจะเกิดขึ้นในรอบเครื่องยนต์ที่ต่าง กันไป เช่น แรงม้าสูงสุดของรถสปอร์ต 150 ซี.ซี. คันหนึ่งเท่ากับ 35 PS ที่ 10500 รอบ/นาที แต่ถ้าเป็นรถที่เน้นการใช้งานในรอบต่ำๆ เช่นรถ ชอปเปอร์ หรือ ครูสเซอร์ แรงม้าก็จะมาที่รอบต่ำกว่า เช่น 25 PS ที่ 4500 รอบ/นาที เป็นต้น ซึ่งจะขับขี่ได้ง่ายกว่า รถสปอร์ต แต่ความแรงก็จะน้อยกว่าเช่นกัน และหน่วยของแรงม้านั้น มีหลายหน่วยที่ใช้วัด เช่น PS PS(DIN) HP หรือ กิโลวัตต์ ซึ่งวิธีวัดก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละระบบ


แรงบิดสูงสุด

แรง บิด(torque) ก็คือแรงฉุดลากของเครื่องยนต์ หรือกำลังของเครื่องนั่นเอง ไม่ใช่ความเร็ว ซึ่งจะส่งผลไปถึงอัตราเร่งนั่นเอง โดยเป็นแรงบิดของเพลาข้อเหวี่ยง คือ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานเพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนในอัตรา…รอบ/นาที และจะเกิดแรงบิดขึ้น ซึ่งในขณะเครื่องยนต์ทำงานเต็มที่นั้น แรงบิดที่ได้ก็คือ แรงบิดสูงสุด ซึ่งจะเกิดในรอบ เครื่องยนต์ที่ต่างกัน เช่นเดียวกับแรงม้าสูงสุด เช่น 2.75 กก.-ม.(กิโลกรัม-เมตร)/6500 รอบ/นาที ซึ่งหมายถึง เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไป 6500 รอบ/นาที เกิดแรงบิดขึ้น 2.75 กก.-ม. (1 กก.-ม. หมายถึงงานซึ่งเกิดจากการหมุนวัตถุที่มีรัศมี 1 เมตรไปได้โดยใช้แรง 1 กก.) ซึ่งในรถที่มีแรงบิดมาในรอบต่ำๆ เช่น 5000 รอบ ก็จะทำให้การขับขี่ไม่ต้องใช้คันเร่งมาก เช่นในรถชอปเปอร์ ส่วนรถสปอร์ตนั้น แรงบิดมาที่รอบค่อนข้างสูง เช่น 8000 รอบ/นาที ขึ้นไป โดยจะอยู่ในรอบใกล้เคียงกับแรงม้าสูงสุด

แก้ไขเมื่อ 05 มี.ค. 53 16:37:30

 
 

จากคุณ : parama01
เขียนเมื่อ : 5 มี.ค. 53 12:50:28





[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ]       
 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com