Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
พกสติ ... ติดตัวไว้ตอนขี่รถกันเถอะ ...  

พอดีวันก่อนเลิกงานแล้วไปทำบุญบริจาคโลงศพก่อนกลับบ้านมาครับ
ขากลับ พอถึงเส้นตลิ่งชันตัดเข้าราชพฤกษ์
สันดานบ้าบอ ดันเร่งเข้าโค้งอย่างเมามันส์
เหลือบมองไปเห็นน้ำบนพื้น -*-
ทำใจนิดๆ ว่า ลื่นแน่ ๆ
และแล้ว ล้อหน้าก็สบัดๆๆๆๆ .. ..
แต่ด้วยยังดีที่พก " สติ " มาด้วยห่อนึง
ก็เลยแก้อาการ จนควบคุมรถได้เหมือนเดิม

รถมอเตอรไซค์ที่ขี่ตามมา (ใครก็ไม่รู้ ไม่รู้จักกัน )
ขี่แซงแล้ว ยกนิ้วโป้งให้เลย ว่าเยี่ยมมากๆ (ที่มืงไม่คว่ำตายต่อหน้ากุ)

-*-

กลับมาถึงบ้านเลยนึกได้ " ขี่รถพกสติ " มันก็ดีเหมือนกันนะ




เลยมาเจอบทความนึง ยาวหน่อยครับ
แต่ได้ประโยชน์เหมือนกัน
วัยรุ่นเฟี้ยวเงาะคนไหนอ่านแล้วเบื่อ ก็ไม่ต้องอ่าน .. ครับ
แต่ผมอ่านแล้วได้ประโยชน์เหมือนกัน
ก็เลยเอามาฝาก



" ขอคําแนะนําเกี่ยวกับการฝึกสติขณะขับรถ เพื่อความปลอดภัย "
                อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนนั้น ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุ
ย่อมมาจากผู้ขับขี่รถยนต์ขาด " สติสัมปชัญญะ " คือในขนาดที่
ขับรถ ตามองถนนแต่ใจไปที่อื่น บางที่ทางข้างหน้าไม่มอง ตากับใจ
ไปจดจ่ออยู่ข้างทางก็มี หรือเอาจิตใจไปกับการคุยทางมือถือ จนลืม
ไปว่า ตัวเองกําลังขับรถอยู่นะ นี่คือสาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุ

                   คําว่า " สติสัมปชัญญะ " ท่านแปลว่า รู้ตัว รู้พร้อม
รู้ทุกอย่าง มีความระมัดระวังตลอดเวลาไม่เผลอ เพราะฉนั้นผู้ที่
ขาดสติสัมปชัญญะ ก็คือผู้ที่ไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองกําลังทําอะไรอยู่
เช่น ในเวลาที่เราขับรถจิตใจของเรารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่าเราขับ
รถอยู่ ความระมัดระวังไม่เผลอก็มีควบคู่กันไป อุบัติภัยก็ไม่มี
แต่ถ้าเมื่อใด เราขาดสติคือไม่รู้ตัวว่าตัวเองกําลังขับรถอยู่ เมื่อนั้น
อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้แน่นอน

             ในเรื่องของการฝึกจิตใจของตนเองให้มี " สติสัมปชัญญะ "
นั้น พระพุทธเจ้าของเราก็ทรงสอน และเป็นข้อธรรมที่มีความสําคัญ
มากข้อหนึ่ง ที่ผู้ปฎิบัติธรรมทั้งหลายจะละเลยไปไม่ได้ เพราะข้อธรรม
นี้จะทําให้ผู้ปฎิบัติ ได้บรรลุดวงตาเห็นธรรม และได้เข้าถึงพระอริยมรรค
ผลพระนิพพานได้อย่างแน่นอน และยังมีประโยชน์ต่อการดํารงชีพไม่ว่า
จะเป็นกิจการงานใดก็ตาม จะมีผลราบรื่นไม่มีอุปสรรค
             
              " วิธีฝึกจิตใจของตนเองให้มีสติสัมปชัญญะ " ก่อนอื่นขอให้
ทุกท่านได้รับทราบ ที่มาที่ไปของคําว่า " สติสัมปชัญญะ " เสียก่อนว่า
ข้อธรรมข้อนี้มาจาก พระธรรมคําสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในหมวด
ใด สติสัมปชัญญะนั้นเป็นข้อธรรมส่วนหนึ่งของ " มหาสติปัฎฐานสี่ "
อยูในหมวด " กายานุปัสสนา " ในหมวดนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนแนะ
วิธีปฎิบัติไว้อยู่  6 วิธีต้องฝึกเรียงตามลําดับ จากต้นไปถึงปลาย มีดังนี้

1.ให้เริ่มฝึกสติด้วยการกําหนดรู้ ลมหายใจเข้าออก
    เรียกว่า " อานาปานบรรพ "
2.ให้เริ่มฝึกสติด้วยการรู้สึกตัวว่าตัวเองกําลังทําอะไรอยู่
    เรียกว่า " สัมปชัญญะบรรพ "
3.ให้เริ่มฝึกสติด้วยการรู้การเคลื่อนไหวของตนเอง
    เรียกว่า " อิริยาบถบรรพ "
4.ให้ฝึกจิตหัดคิดพิจารณาให้เห็นความจริงว่า ร่างกาย
    มีความสกปรก เรียกว่า " ปฎิกูลบรรพ "
5.ให้ฝึกจิตหัดคิดพิจารณาให้เห็นความจริงว่า ร่างกาย
    ประกอบไปด้วย ดิน นํ้า ลม ไฟ เรียกว่า " ธาตุบรรพ "
6.ให้ฝึกจิตหัดคิดพิจารณาให้เห็นความจริงว่า ร่างกาย
    เมื่อตายแล้วเป็นอย่างไร เรียกว่า " นวสีวติกาบรรพ "

              ต้องขออภัย ที่คําแนะนําในครั้งนี้มีความยืดยาว
แต่เป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน จะทําให้ท่านได้รับรู้ว่า ธรรมข้อนี้
พระท่าน สอนไว้อย่างไรและมีอะไรบ้าง แต่ในที่นี้จะนําเอาข้อ
ธรรมเพียงสามข้อต้น มาแนะนําเท่านั้น เพราะคําถามที่ถามมา
ต้องการนํามาใช้กับการขับรถ ไม่เพียงแต่ขับรถอย่างเดียว จะ
ทํากิจการงานใดก็ตาม ย่อมมีผลมากที่คุณอาจคาดไม่ถึง
   
              วิธีฝึก " สติสัมปชัญญะ "นั้น พระท่านสอนให้ปฎิบัติ
พร้อมกันเลย ทั้งสามข้อคือ อานาปา - สติสัมปชัญญะ - อิริยาบถ
วิธีฝึกตามที่โบราณาจารย์ท่านสอนไว้ และได้ทําได้ผลมาแล้วคือ
ต้องรวบรวม "กําลังใจ" ของตนเองให้ได้เสียก่อนว่า เราจะตั้งใจ
ปฎิบัติ ไม่ท้อถอย ไม่อ่อนแอ เพราะเราจะทําได้หรือไม่ได้ ก็อยู่ที่
จิตใจของเรา ใจของเราขาดสติก็ต้องสร้างให้มีสติซึ่งทําได้

         โบราณาจารย์ท่านแนะนําดังนี้ เมื่อเรารวบรวมกําลังใจของ
เราได้ดีแล้ว ก็ให้เริ่มฝึกสติสัมปชัญญะให้มีกับลมหายใจเสียก่อน
โดยไม่เลือกกาลเวลาหรือสถานที่ ไม่ว่าเรากําลังทําอะไรอยู่ก็ตาม
แม้ในขณะที่ขับรถ ไม่ต้องกลัวว่าเมื่อฝึกกําหนดลมหายใจในขณะ
ขับรถจะทําให้ขาดสติ อันนั้นเป็นการเข้าใจผิด เมื่อท่านลองนําไป
ปฎิบัติจริงๆ ท่านจะรู้เองว่าไม่จริง กลับจะยิ่งมีสติมากขึ้น

              คนเรานั้นย่อมมีสติกันทุกคน แต่เป็นสติช่วงสั้นๆ วิธีฝึก
สร้างให้มีสตินานๆหรือให้ได้ตลอดเวลา พระท่านสอนให้ทําแบบนี้
ให้เอาจิตของตนเองไปกําหนดที่ปลายจมูก แล้วให้เอาสติเข้าควบคุม
ให้รู้ว่า ในเวลานี้ลมหายใจเข้า หรือลมหายใจออก เข้าก็ให้รู้ว่าเข้า
ออกก็รู้ว่าออก ให้ฝึกกําหนดนับรอบ คือเมื่อเริ่มหายใจเข้าและหาย
ใจออกให้นับหนี่ง เมื่อเริ่มหายใจเข้าใหม่และออกให้นับสอง ทําแแบบ
นี้ไปเรื่อยๆ โดยให้สติรู้ว่าลมเข้าหรือออก และให้มีสติรู้ว่าเรากําหนดรู้
ลมเข้าลมออกเป็นรอบที่เท่าไหร่ นับไปใหม่ๆให้ถึง 10 รอบก็พอ ท่าน
ที่ฝึกใหม่ ที่มีสติน้อยเพียงแค่สิบรอบก็อาจจะไม่ถึง คือพอในขณะที่เรา
มีสติกําหนดรู้ลมหายใจเข้าออก พอถึงช่วง 3 หรือรอบที่ 4 หรือช่วงไหน
ก็ตาม จะพบว่าจิตใจของเราก็จะขาดสติในจุดนี้ จิตจะออกไปคิดเรื่องอื่น
แทน ถ้าพบว่าเป็นอย่างนี้ ให้เริ่มกําหนดสตินับ 1 ใหม่ อย่าเคร่งเครียด
ให้กําหนดลมหายใจเบาๆ อย่าบังคับลม การฝึกแบบนี้ต้องทํา ทุกอิริยาบถ
ไม่ว่าจะทําอะไรอยู่ก็ตาม ให้กําหนดลมไปเรื่อยๆ อย่าไปกลัวว่า จะไม่ทํา
ให้งานที่ทําอยู่เสียหรือ ขอยืนยันว่าไม่เสีย คนที่ทําจริง จิตจะทรงสติสัมปชัญญะ
ได้ไม่เกิน 1 เดือน ถึงเวลานั้น ท่านจะพบความเป็นจริงได้ด้วยตัวท่านเอง
ว่าการปฎิบัติที่พระท่านแนะนํานี้ จะมีผลจริงตามที่พระท่านแนะนําหรือไม่
 
             เมื่อจิตของเราทรงสติสัมปชัญญะในลมหายใจ จนเป็นอารมณ์เดียว
จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตอ่อนแอ จิตระแวง จิตกลัว ก็จะหายไป ไม่สามารถจะแทรก
ขึ้นมาก่อกวนในจิตใจของเราได้ เพราะจิตของเราได้ทรงสติสัมปชัญญะใน
กองลม อะไรจะเข้ามา ไม่ว่าจะทางตาหรือทางหูก็ดี มันจะรู้ไปหมด ทันไปหมด
เราจะทําอะไรก็ตาม แม้ในขณะขับรถอยู่ เมื่อจิตใจของเราไม่วอกแวก ไม่คิด
ฟุ้งซ่าน ไม่หงุดหงิด การขับรถก็จะดี ราบรื่น รอบคอบ.

หยดนํ้า [ 14 มี.ค. 2544 ]

จาก http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002419.htm


..

PEACE OUT!

 
 

จากคุณ : เด็กนรกฯ
เขียนเมื่อ : 11 มี.ค. 53 13:30:32




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com