|
ความคิดเห็นที่ 24 |
ยังงงอยู่ดีแหละครับป้า หกขาสองหางสี่ปีก(งงชื่อซ้ำหนักเข้าไปอีก)
ในจังหวะลูกเบี้ยวแหว่ง ทำให้กระเดื่องกดไปตามผิวแหว่งของลูกเบี้ยวด้วยแรงของสปริง ทำให้กระเดื่องกดวาล์วเปิด แต่ในจังหวะลูกเบี้ยวเต็ม ผิวของลูกเบี้ยวจะกดส่งแรงกลับไปยังกระเดื่อง ทำให้ยก วาล์วกลับมาปิด ตรงนี้แหละครับที่ผมไม่เห็นว่าจะเกิดการทำงานของสปริงซ้ำอีก ยิ่งถ้าดู ตามคลิปใน คห.12 จะเห็นภาพชัดเจน แต่...ผมเพิ่งตั้งข้อสังเกตุได้ใหม่ มันอาจจะมีความลับที่ชิมวาล์ว ด้านปิด ตาม รูปใน คห.1 มันอาจจะอาศัยฟิล์มของน้ำมันเครื่องในถ้วย ชิม การตั้งระยะปิดวาล์วอาจจะตั้งให้ชิดพอดี แต่ในขณะเครื่องยนต์ทำงานอาจจะอาศัยฟิล์มน้ำมันเป็นตัวยก วาล์วให้แนบบ่าวาล์วสนิทพอดี และอาศัยความยืดหยุ่นจากฟิล์มน้ำมันในการรักษาแรงกดของวาล์วและบ่าวาล์ว ซึ่งถ้าแรงกดมากไปน้ำมันก็จะไหลออก และไหลเข้ามาใหม่ *ไม่รู้ว่าผมจะมั่วเข้าเป้ารึเปล่า แต่ถึงผมมีตังก็ไม่กล้ารื้อเล่นอยู่ดี แหะๆ อยากให้ช่างดูคาติอยู่แถวนี้จัง..
**ปล.แก้ไข ผมเปลี่ยนใจละไม่ใช่ไม่ใช่ฟิล์มน้ำมันในถ้วยชิมหรอกเพราะมันไม่ใช่ถ้วย แต่เป็นการอาศัยฟิล์มน้ำมันทุกผิวสัมผัสของ ลูกเบี้ยว,กระเดื่อง เป็นตัวยกวาล์วให้แนบบ่าวาล์ว จากการออกแบบระยะอุปกรณ์มาพอดี..
แก้ไขเมื่อ 12 พ.ค. 53 19:27:07
จากคุณ |
:
กาละมังบิน
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ค. 53 18:58:32
|
|
|
|
|