ความคิดเห็นที่ 2 |
|
น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas Engine Oil) ปัจจุบันเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas Engine) เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคมบ้านเรา เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เครื่องยนต์ก๊าซเป็นที่นิยมกันมากขึ้นก็เนื่องมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งเบนซินและดีเซล ทำให้เราต้องปรับตัวหาพลังงานทางเลือกหใหม่มาใช้ทดแทน และหนึ่งในนั้นเองก็คือ "ก๊าซ" "ก๊าซ" ที่เรานำมานิยมใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้นก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น 1. ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG-Compressed Natural Gas) โดยมีการนำมาใช้กับทั้งในส่วนภาคอุตสาหกรรมและภาคคมนาคม ขนส่ง โดยใช้กับรถยนต์เรียกว่า NGV (Natural Gas for Vehicle) หรือที่บ้านเราเรียกรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดนี้กันติดปากว่า NGV (Natural Gas Vehicle) นั่นเอง ก๊าซประเภทนี้จะมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นมีเทน 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG-Liquided Petroleum Gas) เป็นก๊าซอีกประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และคมนาคม ขนส่ง ด้วยเหตุผลที่สะดวกกว่า การติดตั้งง่าย ราคาค่าติดตั้งไม่แพง สามารถจุได้ปริมาณมากกว่า CNG และมีสถานีบริการมากกว่า ทำให้ปัจจุบัน LPG เป็นที่นิยมกันค่อนข้างมากกว่า CNG แม้ราคาค่าก๊าซคิดต่อหน่วยจะสูงกว่าก็ตาม 3. ก๊าซชีวภาพ Bio Gas และ Land-Fill Gas เป็นพลังงานทางเลือกอีกทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสามารถผลิตได้จากผลผลิตทางการเกษตรหรือผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมบางอย่างอยู่แล้ว เพื่อเป็นการกำจัดกากของเสียและเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า Bio Gas จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้นและมีส่วนช่วยลดต้นทุน รวมไปจนสามารถเพิ่มรายได้ให้กับโรงงาน และเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย และเนื่องจาก "ก๊าซ" ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์มีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำมันเบนซินและดีเซล น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงจึงมีความแตกต่างจากน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลด้วย ส่วนก๊าซที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเองก็มีอีกหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas Engine Oil) จึงมีหลายประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของก๊าซที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้น ๆ เราจึงจำเป็นต้องเลือกน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ก๊าซให้ถูกและเหมาะสมกับก๊าซชนิดนั้น ๆ ด้วย เพื่อประสิทธิภาพการหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์ของเรา ก่อนจะมาดูเรื่องน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ก๊าซ เรามาดูเครื่องยนต์ก๊าซก่อนดีกว่าว่ามีอะไรที่แตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลบ้าง สำหรับสิ่งที่เครื่องยนต์ก๊าซแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ก็ได้แก่ 1. ประเภทเชื้อเพลิง น้ำมันเบนซินกับน้ำมันดีเซล มีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งสามารถเติมสารเพิ่มคุณภาพได้ ส่วนก๊าซ (ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) มีสถานะเป็นก๊าซไม่สามารถเติมสารเพิ่มคุณภาพเหมือนกับน้ำมันที่เป็นของเหลวได้ อีกทั้งยังมีสภาพแห้งดังนั้นเรื่องการหล่อลื่นโดยตัวมันเองจึงด้อยกว่าน้ำมัน 2. อุณหภูมิก๊าซไอเสีย เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงจะมีอุณหภูมิของก๊าซไอเสียสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลมาก ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลจะมีอุณหภูมิของก๊าซไอเสียอยู่ที่ประมาณ 600 C เครื่องยนต์เบนซินประมาณ 700 C ส่วนเครื่องยนต์ก๊าซจะสูงกว่า 800 C เลยทีเดียว ซึ่งสิ่งที่แตกต่างเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ก๊าซ เช่น 1. ปัญหาวาล์วและบ่าวาล์วสึก เนื่องจากปริมาณเถ้าน้อยเกินไป และเกิดการสะสมของเขม่า ขี้เถ้าถ้าปริมาณเถ้ามากเกินไปทำให้วาล์วแตกชำรุด 2. เกิดการสะสมของขี้เถ้า ทำให้เกิดการชิงจุดระเบิด หรือ auto-ignition เป็นเหตุให้เครื่องน็อค หรืออาจทำให้ฝาสูบทะลุ เนื่องจากปริมาณเถ้ามากเกินไป 3. น้ำมันเครื่องที่ใช้อายุสั้น เนื่องจากอุณหภูมิที่สูง เกิดออกซิเดชั่น และไนเตรชั่นสูง 4. เกิดการสึกหรอของเครื่องยนต์สูง 5. สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและสารหล่อลื่น ดังนั้นสิ่งที่เครื่องยนต์ก๊าซต้องการจากน้ำมันหล่อลื่นก็จะแตกต่างไปจากเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลด้วย โดยคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ก๊าซจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1. น้ำมันหล่อลื่นที่มีค่าขี้เถ้า (Ash %) และค่าความเป็นด่าง (TBN) เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อป้องกันการสึกหรอของบ่าวาล์วและการสะสมของขี้เถ้า 2. น้ำมันหล่อลื่นที่มีความต้านทานต่อปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และไนเตรชั่นสูง เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน 3. มีความเสถียรและทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ 4. มีคุณสมบัติชะล้างเขม่า (Dispersant) 5. มีสารป้องกันการสึกหรอ (Anti-wear) การจำแนกน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas Engine Oil) จะแยกตามปริมาณเถ้าซัลเฟต (Sulphate Ash %) หรือค่าความเป็นด่าง (TBN) ทั้งนี้เพราะว่าส่วนประกอบและคุณสมบัติของก๊าซแต่ละตัวไม่เหมือนกัน เช่น ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) จะประกอบด้วย มีเทน (Methane) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นก๊าซที่สะอาด มีความเป็นกรดค่อนข้างต่ำ จึงควรที่จะใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีค่าเถ้าต่ำ (Low ash) เพื่อลดปัญหาหารสะสมของเถ้า เป็นต้น ซึ่งสามารถแยกกลุ่มประเภทของน้ำมันเครื่องยนต์ก๊าซได้ ดังนี้ Ashless (ไม่มีเถ้า) ปริมาณเถ้าซัลเฟต (Sulphate Ash %) < 0.1 ค่าความเป็นด่าง TBN 2.5 Low Ash (เถ้าน้อย) ปริมาณเถ้าซัลเฟต (Sulphate Ash %) 0.1-0.5 ค่าความเป็นด่าง TBN 3-5 Medium Ash (เถ้าปานกลาง) ปริมาณเถ้าซัลเฟต (Sulphate Ash %) 0.6-0.8ค่าความเป็นด่าง TBN6-8 High Ash (เถ้าสูง)ปริมาณเถ้าซัลเฟต (Sulphate Ash %) > 0.8 ค่าความเป็นด่าง TBN > 8 โดยน้ำมันเครื่องยนต์ก๊าซแต่ละประเภท จะเหมาะสมกับเครื่องยนต์ก๊าซแต่ละประเภท และชนิดของก๊าซที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแตกต่างกันออกไป ดังนี้ Ashless - เหมาะกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ Low Ash - เหมาะกับเครื่องยนต์ก๊าซ 4 จังหวะ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) หรือ LPG หรือ ก๊าซชีวภาพที่มีความเป็นกรดน้อย (Sweet Biogas or Landfill gas) Medium Ash - เหมาะกับเครื่องยนต์ก๊าซ 4 จังหวะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือ ก๊าซชีวภาพที่มีความเป็นกรดสูงขึ้นมา (Medium to Severe Biogas or Landfill gas) High Ash - เหมาะกับเครื่องยนต์ก๊าซ 4 จังหวะที่ใช้ก๊าซชีวภาพเปรี้ยวหรือความเป็นกรดสูง (Severe Biogas or Landfill gas) หรือเครื่องยนต์ 2 ระบบ (Duel Fuel)
จากคุณ |
:
Torq
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ก.ค. 53 09:09:05
A:10.20.29.72 X:203.149.16.33 TicketID:241578
|
|
|
|