|
ความคิดเห็นที่ 54 |
|
ผมว่าจขกท. ชี้แจงชัดเจนแล้วนะครับ จาก #1 และ #2 ใครไม่เข้าใจกลับขึ้นไปอ่านใหม่ --------------------------------------------------------------------------- ขอนิยามความหมายของคำว่า "ไดชาร์จทำงานหนัก" ก่อน ยังไงถึงจะเรียกว่าไดชาร์จทำงานหนักขึ้น หนักขึ้นก็คือ ไดชาร์จทำงานเต็มกำลังต่อเนื่องนานๆ (เพื่อที่จะประจุกระแสไฟให้เต็มแบต) ปกติไดชาร์จจะทำงานเป็นเสมือนเครื่องกำเนิดแรงดัน (โวลต์) คงที่ โดยจะรักษาแรงดันไว้ที่ 13.8 - 14.4 โวลต์ (ค่าแรงดันนี้แล้วรุ่นของไดชาร์จ --- ดูที่ฉลากแปะ tood ไดฯไว้) (**1) ไม่ว่าจะมีโหลดหรือน้อยหรือมาก ไดชาร์จก็จะพยายามจ่ายกระแสออกมาควบคุมให้แรงดันคงที่ (ก็เค้าเป็นเครื่องกำเนิดแรงดันคงที่นี่นา) ในทางทฤษฎีของเครื่องกำเนิดแรงดันคงที่ ก็คือ จะต้องสามารถจ่ายกระแสได้ไม่จำกัด เพื่อคุมให้แรงดันคงที่ ไม่ว่าโหลดจะโหลดกระแสน้อยหรือมากเพียงใด แต่ในโลกความจริงที่โหดร้าย หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ไดชาร์จแต่ละตัวจะมีความสามารถจ่ายกระแสสูงสุดได้ที่ค่าๆ หนึ่ง เท่านั้น เช่น 45 แอมป์,60 แอมป์, 90 แอมป์, ... ฯลฯ (ดูได้ที่ฉลากแปะ tood ไดฯไว้ เช่นกัน) (**2) หากไดชาร์จถูกดึงกระแสมากกว่า ค่ากระแสสูงสุดของไดชาร์จ จะเกิดอะไรขึ้น? ผลก็คือ แรงดันที่พากเพียรรักษาไว้ ก็จะตกลงมา จะเหลือเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับโหลดที่ดึง หากแบตโดนใช้งานจนหมดเกลี้ยงเลย จนรถแชะๆ สตาร์ตไม่ติด (**แบตที่ถือว่าไฟหมดแล้วโดยสิ้นเชิง คือแบตที่มีแรงดันต่ำกว่า 11.8 โวลต์ --- วัดโดยการทิ้งแบตให้พักตัวอย่างน้อย 4 ชั่วโมง , เช่นเดียวกับถ่านชาร์จพวกนิกเกิลแคดเมียม (NiCd) หรือ นิกเกิลเมตัลไฮไดรด์ (NiMH) จะถือว่าแบตหมดเมื่อมีแรงดันต่ำกว่า 1.1 โวลต์) หากแบตโดนใช้งานจนหมดเกลี้ยงเลย (โวลต์<11.8) และเป็นแบตที่ไม่เสีย :-) มันก็จะตะกละตะกรามสูบพลังงานจากไดชาร์จ ให้ทำงานเต็มที่ ตามความสามารถสูงสุดที่มันจ่ายได้ (**2) และการดึงกระแสนี้จะลดลงตามค่าแรงดันของแบตที่เริมไต่ขึ้น จนกว่าแบตจะเต็ม ซึ่งก็ขึ้นอยู่ความจุของแบตหากความจุน้อย (แอมป์น้อย) แบตก็จะเต็มเร็ว (ไดฯ ทำงานหนักแป๊ปเดียว) หากแบตแอมป์สูง (ไดฯ ทำงานหนัก นานนนนน....) ที่นี้ก็อยู่ที่คุณภาพของไดชาร์จละครับ ว่าจะทนรับสภาพที่ว่านั้นได้นานแค่ไหน (...อยู่ที่คุณภาพของตัวเรียงกระแสไฟ (ไดโอด), ตัวควบคุมแรงดัน (เรกูเลเตอร์) , ขดลวดทองแดง (คอยล์) ปั่นไฟ, โครงสร้างของตัวถังหรือแผ่นระบายความร้อนของไดฯ, พัดลมระบายความร้อนของได, ตำแหน่งที่ติดตั้งในห้องเครื่องว่าเอื้อในการระบายความร้อนดีไหม, มีอะไรขวางทางลมหรือเปล่า) ไดฯ รุ่นเดียวกัน แต่ติดตั้งในรถคนละคัน อาจจะมีความทนทานไม่เท่ากัน รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องกินมากขึ้น เนื่องจากเท้าจะหนักขึ้นเพื่อเหยียบชดเชยรอบเครื่องที่ตกลง เนื่องจากแรงฝืดของได ที่กินแรงเครื่องมากขึ้น เมื่อทำงานเต็มกำลัง (รถบางคันที่ลงเครื่องเสียงชุดใหญ่ พวกเน้นพลังเสียง (SPL) วิ่งๆ อยู่ตอนลูกเบสแรงๆ นี่ รถเหมือนโดนกระชากตามลูกเบสเลยล่ะ ) สรุปตาม จขกท (อีกที) - เพิ่มแบตโตขึ้น แต่ใช้ไฟเท่าเดิม -> ไดชาร์จทำงานเท่าเดิม - เพิ่มแบตโตขึ้น แต่ใช้ไฟโหดกว่าเดิม (โหลดเพียบ หรือ ดับเครื่องเปิดเพลงจนแบตเกือบหมดตลอด) -> ไดชาร์จทำงานหนักกว่าเดิม
จากคุณ |
:
... ก็แค่บัตรผ่าน
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ก.ย. 53 22:40:07
A:125.25.221.178 X: TicketID:102104
|
|
|
|
|