"Sir Pig SkyWalker" ผู้อาสากอบกู้มหานคร เพื่อกรุงเทพก้าวหน้า
|
 |
ท่านที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ อยากให้ทุกคนสบายใจได้ครับ เรามีผู้อาสามาจัดการกับปัญหานี้แล้ว ผมจะขอเรียบเรียงเหตุการณ์ให้อ่านกันดังนี้นะครับ
11 พฤศจิกายน 2553 กทม.ทุ่ม 1.6 หมื่น ล.สร้างอุโมงค์ยักษ์แก้น้ำท่วม
วันนี้ (11 พ.ย.) ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ราชประสงค์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงข่าวระบบอุโมงค์ยักษ์ ภายใต้ภารกิจกรุงเทพฯ ก้าวหน้าแก้เรื่องใหญ่อย่างยั่งยืน ว่า สาเหตุ ที่น้ำท่วม กทม.มาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ พื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯอยู่ระดับต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ เกิดน้ำท่วมขังโดยธรรมชาติ อีกทั้งยังตั้งอยู่ในพื้นที่เส้นทางน้ำไหลของน้ำตามธรรมชาติที่น้ำเหนือไหล ลงสู่แม่น้ำเพื่อลงสู่อ่าวไทย จึงทำให้ปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งแนวทางหลักที่ กทม.ใช้ป้องกันน้ำท่วม คือ แนวคันกั้นน้ำฝั่งตะวันออกแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความยาว 72 กิโลเมตร และแนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาความยาว 77 กิโลเมตร ที่กำลังก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้น ในวันนี้ตนเองขอประกาศแผนการก่อสร้างระบบอุโมงค์ยักษ์ เพื่อบูรณาการการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของ กทม.ให้ยั่งยืนต่อไป โดยระบบอุโมงค์ยักษ์ ประกอบไปด้วย 1.อุโมงค์ยักษ์ พระรามเก้า-รามคำแหง ระยะทาง 5 กิโลเมตร จากคลองลาดพร้าว เชื่อมกับคลองแสนแสบ ลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเปิดอุโมงค์นี้ในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ 2.อุโมงค์ยักษ์ รัชดาภิเษก-สุทธิสาร ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร จากบริเวณ ถ.รัชดาภิเษก ตัดกับ ถ.สุทธิสาร ลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งล่าสุด ได้ผ่านการเห็นชอบให้ประกวดราคาก่อสร้าง และกำหนดก่อสร้างให้แล้วเสร็จใน 4 ปี โดยเมื่อเสร็จแล้วจะช่วยระบายน้ำในเขตพื้นที่ห้วยขวาง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต และบางซื่อ อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตรเช่นเดียวกับอุโมงค์หนึ่ง แต่ระยะทางจะยาวกว่า 3.อุโมงค์ยักษ์ ดอนเมือง ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร จากใกล้ๆ สนามบินดอนเมือง ลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอุโมงค์นี้จะเป็นอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดินที่จะยาวที่สุด และใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 แห่งที่ตนเองได้ประกาศวันนี้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 6 เมตร และจะมีประสิทธิภาพในการระบายน้ำมากกว่า 15 เท่า เมื่อเทียบกับอุโมงค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ ที่สร้างขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน ในย่านสุขุมวิท โดยพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์แบบ ‘Big Impact’ จากอุโมงค์ยักษ์แห่งนี้ จะครอบคลุมมากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้ก็รวมไปถึงพื้นที่ย่านจตุจักร หลักสี่ บางเขน ดอนเมือง และบางส่วนของพื้นที่เขตสายไหม และ 4.อุโมงค์ยักษ์สวนหลวง ร.9 ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร จากสวนหลวง ร.9 ลงแม่น้ำเจ้าพระยา อุโมงค์นี้จะทำให้พื้นที่กว่า 85 ตารางกิโลเมตร ได้รับประโยชน์ทันทีเมื่อสร้างเสร็จ ซึ่งได้แก่ พื้นที่ย่านประเวศ พระโขนง บางนา และ สวนหลวง โดยทั้ง 4 อุโมงค์ยักษ์เมื่อรวมกับอุโมงค์ระบายน้ำในพื้นที่ กทม.ทั้งหมดจากเดิม 14 กิโลเมตรเป็น 50 กิโลเมตร
“ระบบ 4 อุโมงค์ยักษ์ จะทำให้กรุงเทพฯ มีศักยภาพในการระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล อุโมงค์ยักษ์ 4 แห่งนี้มีศักยภาพได้เท่ากับการระบายน้ำออกจากสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 4 สระ ภายในเวลาเพียงไม่ถึง 1 วินาที หรือเพิ่มขึ้นจาก 95 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในปัจจุบัน เป็น 240 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เรียกได้ว่า มากกว่า 2 เท่าใน 5 ปีข้างหน้า ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือ จะเป็นอุโมงค์ที่ใหญ่ยักษ์จริงๆ เส้นผ่าศูนย์กลางอุโมงค์อย่างน้อย 5 เมตร เรียกว่า ใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของอุโมงค์ที่มีอยู่ขณะนี้ประมาณสามเท่า เพราะอุโมงค์ปัจจุบันจะมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.8 เมตร อุโมงค์ยักษ์ของเราใหญ่ขนาดที่เอารถสิบล้อเข้าไปวิ่งได้สบาย ทั้งยังเป็นทางด่วนใต้ดินให้น้ำปริมาณมหาศาลไหลลงใต้เมืองแทนที่จะเอ่อท้วม เมือง” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวอีกว่า ทั้ง นี้ อุโมงค์ยักษ์ 1 คือ อุโมงค์ยักษ์ พระรามเก้า-รามคำแหง จะเปิดในเดือนมกราคม 2554 อุโมงค์ยักษ์รัชดาภิเษก-สุทธิสารจะเริ่มก่อสร้างในปีหน้า และการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ ดอนเมือง และอุโมงค์ยักษ์ สวนหลวง ร.9 จะเริ่มในปี 2555 อุโมงค์ทั้งหมดคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในอีกไม่เกิน 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 16,000 ล้านบาท โดยจะเป็นการของบอุดหนุนจากรัฐบาลส่วนหนึ่ง ซึ่งงบดังกล่าวเท่ากับงบประมาณใน 5 ปีที่ผ่านมา ที่ กทม.นำมาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซึ่งไม่ได้ใช้วิธีการที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา เช่น การซื้อปั๊มน้ำ กระสอบทราย แต่อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำจะเป็นวิธีการที่ยั่งยืนและพื้นที่หลักที่ประสบ ปัญหาน้ำท่วมทุกปีจะได้รับประโยชน์ทั้งสิ้นแต่ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับหมู่ บ้านเอกชน ผู้สื่อข่าวถามด้วยว่า มีนักวิชาการบอกว่า ในอีก 7 ปีข้างหน้า จะต้องมีการย้ายเมืองหลวง ดังนั้น เมื่อสร้างอุโมงค์เสร็จแล้วจะต้องมีการย้ายอีกหรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า การย้ายเมืองหลวงก็ต้องมีการพิจารณา ในหลวงประทับที่ไหนอย่างเป็นทางการ สภาอยู่ที่ไหน รัฐบาลอยูที่ไหน นั้นเป็นเมืองหลวงครับ ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ดร.พิจิตต รัตตกุล เสนอให้ กทม.สร้างแนวคันกั้นน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก 50 ซม.ที่แต่เดิมสูง 2.50 เมตร ในระยะทาง 77 กิโลเมตร และสร้างการระบายน้ำฝั่งตะวันออกคลอง 12-14 ผู้ว่าฯ มีแนวทางต่อเรื่องนี้อย่างไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า เรื่องนี้มันยังไม่เร่งด่วน แต่ว่าพื้นที่ที่พูดถึงนั้นไม่ได้อยู่ใน กทม. ต่อข้อถามที่ว่า ตั้งเป้าสร้างอุโมงค์ 5 ปีจะกลับมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกหรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า “เป็นหน้าที่และเป็นความสุขของผมที่จะดุแลทุกข์สุขของพี่น้องชาวกรุงเทพมหา นครเท่าที่ผมจะสามารถทำได้ ดังนั้นผมไม่สนใจว่าผลที่จะเกิดขึ้นหมายถึงอะไร หมายถึงว่า ผมจะได้รับความนิยมพอที่จะกลับมาเป็นผู้ว่าฯอีกครั้งหรือไม่ ผมไม่สนใจครับ ผมอยากทำงานอย่างเดียว ผมจะเดินหน้าทำงานอย่างเดียว”
จากคุณ |
:
yamaha111
|
เขียนเมื่อ |
:
23 มี.ค. 54 14:15:56
|
|
|
|