Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
เครื่องยนต์6จังหวะและ8จังหวะที่มีหลายคนสงสัย{แตกประเด็นจาก V11110668} ติดต่อทีมงาน

แตกประเด็นมาอธิบายการทำงานของเครื่องยนต์6จังหวะและ8จังหวะให้เข้าใจกันนะครับ.......
ต้องขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เครื่องยนต์ที่ทำงานได้สมบูรณ์ที่สุดนั้น คือเครื่องยนต์4จังหวะ เนื่องจากองค์ประกอบมันครบดูด-อัด-ระเบิด-คาย.....
(ในที่นี้เราจะไม่พูดถึงเครื่องยนต์ระบบอื่นเช่น2จังหวะหรือโรตารี่-หรือซูเปอร์ชาร์จ)

เครื่องยนต์แบบ4จังหวะนั้น หากเอามาติดตั้งใส่ในยานยนต์ ก็จะเป็นเครื่องยนต์ที่มีบิดและแรงม้า-รวมทั้งการประหยัดแบบสมเหตุสมผลได้ดีอยู่แล้ว....

แต่เมื่อเราเปรียบเทียบอัตราการกินน้ำมันระหว่าง2จังหวะและ4จังหวะดู-เราก็เห็นความแตกต่างในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเห็นได้ชัด......นี่คือเหตุหลักที่ทำให้มนุษย์เราโลภมาก อยากได้ความประหยัดที่มีมากกว่าเครื่องยนต์4จังหวะ.....

นั่นคือการทำเครื่องยนต์ให้เป็น6จังหวะหรือ8จังหวะ ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเหตุผลมารองรับที่แตกต่างกันไป.....คือ หากเอาเครื่องยนต์แบบ 6 จังหวะไปติดตั้งในยานยนต์....อัตราการเร่งของมันจะสู้แบบ4จังหวะไม่ได้อย่างแน่นอน.....ตรงนี้อาจจะเป็นผลเสียทางด้านความปลอดภัยของรถคันที่ใช้เครื่อง6จังหวะจะต้องพบ(เร่งแซงไม่ทันกับจังหวะรถสวนทาง)..นั่นประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่งก็คือ หลังจากบวกลบกลมหนี้จากการจุดระเบิดที่หายไป2รอบงานแล้ว.....บั้นท้ายปลายทาง รถแบบ6จังหวะอาจจะกินน้ำมันพอๆกับรถแบบ4จังหวะ(ซึ่งจะให้ความปลอดภัยสูงว่า-ด้วยอัตราเร่ง)....สรุปแล้วเครื่องยนต์6จังหวะยังไม่เหมาะที่จะเอามาติดตั้งในยานยนต์ทุกรูปแบบ

(แต่เราสามารถทำให้รถแบบ4จังหวะประหยัดเชื้อเพลิงได้ประมาณ20/30% ตามที่ผมได้เคยทำและเขียนให้อ่านกันใน-ขี่รถลุยลาวในอดีต-กันไปแล้ว)

สรุปแล้วเครื่องยนต์6และ8จังหวะ ยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับยานยนต์ให้สัมฤทธิ์ผลได้ครบองค์ประกอบอย่างที่ผมได้อธิบายไปแล้ว.....

แต่เมื่อหันมาดูความต้องการใช้เครื่องกลในมุมมองอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการที่ต้องใช้อัตราเร่งดูบ้าง.เราก็จะพบว่า.....เครื่องมือทางการเกษตรน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในการนำเอาเครื่องยนต์แบบ6จังหวะ/8จังหวะมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.....เช่น การสูบน้ำเข้าเรือกสวนไร่นา หรือการปั่นไฟหรือการตีอ็อกซิเจนฯลฯ.....เหล่านี้คือคำตอบที่ผมได้บอกไปแล้วว่า เราสามารถนำไปใช้ได้..เพราะเครื่องยนต์มันติดตั้งอยู่กับที่ ตั้งรอบเครื่องไว้เท่าไหร่ก็เท่านั้น.....ตรงนี้เป็นเหตผลถึงข้อดีและข้อด้อยในเครื่องยนต์มากจังหวะดังกล่าว

หลักการทำงาน

สำหรับเครื่องยนต์4จังหวะนั้น เราทราบกันดีแล้วว่ามันมีจังหวะดูด-อัด-ระเบิด-คาย.....กลไกสร้างจังหวะต่างๆนั้นจะถูกอำนวยโดยเพลาราวลิ้นอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว

แต่เมื่อเรามาพัฒนาให้เป็นเครื่องยนต์6 จังหวะ มันก็จะต้องเป็นจังหวะดูด-อัด-ระเบิด-คาย-ขาก-ถุ้ย)......เพิ่มขึ้นมาอีก2จังหวะ......ก่อนที่จะไปย้อนกลับสู่จังหวะดูด-อัดฯ...ตามกลวัตรของมัน

ทำยังไงเราถึงจะเพิ่มรอบการทำงานให้ได้อีก2รอบโดยหน่วงจังหวะของการระเบิดไว้ได้ตามวัตถุประสงค์........ตรงนี้มีคำตอบอยู่2ข้อย่อย

ข้อ1....เพิ่มอัตราทดของเฟืองราวลิ้นตัวบนให้ใหญ่ขึ้น(สมมุตว่า เฟืองตัวล่าง12ฟัน......ตัวบน24ฟัน-ซึ่งก็เป็นมตรฐาน2:1)....

...เมื่อเราต้องการให้ข้อเหวี่ยงหมุนมากกว่าเดิมอีก1รอบ เราก็ต้องมาเพิ่มเฟืองตัวบนให้เป็น36ฟัน....เท่ากับ1:3....

กรณีนี้เราจะได้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 3 รอบ(ลูกสูบขึ้น/ลง6ครั้ง)...และเพลาราวลิ้นหมุนเพียง1รอบ.......เริ่มจะเข้าเค้าแล้วใช่ไหมครับ

เมื่อพิจารณากันให้ดีคุณก็จะเห็นว่าตอนนี้เพลาราวลิ้นหมุนช้าลงกว่าข้อเหวี่ยงด้วยอัตราทดใหม่ที่เราใส่ลงเป็น 3:1

ตอนนี้จังหวะของการดูด-อัด-ระเบิด-คาย-จะเพี้ยนไปหมด.....ยังไงเครื่องยนต์ก็ไม่ติด-ถีบให้ชั่วอายุก็ไม่ติด......

ตรงนี้ก็มาที่ข้อย่อย2.......เราต้องลบตำแหน่งลูกเบี้ยวเดิมออกให้หมด.....เริ่มต้นจากจังหวะดูดนี่แหละง่ายดี......วิธีทำก็คือหมุนเครื่องยนต์ให้ลูกสูบขึ้นมาอยู่ตำแหน่งสูงสุด.....ถือเอาตำแหน่งนี้เป็นจังหวะดูด......ใช้สีแมจิกบากลงไปที่เพลาราวลิ้นที่เราเจียร์ทิ้งลูกเบี้ยวทิ้งไปแล้วนั้น......

ถอดลูกเบี้ยวออกมาใหม่....แล้วไปโรงกลึง......จ้างให้เขาเชื่อมพอกลูกเบี้ยวให้เป็นจังหวะดูด...แล้วเจียร์ล้างให้เรียบ.......

เอากลับมาประกอบเข้าไปใหม่......ลองสตาร์ทดู......เครื่องยนต์จะติดให้1ครั้ง.....แล้วดับลง.....สาเหตุเพราะลูกเบี้ยวไอเสียมันไม่เปิด(มันคล้อยหลังไป2รอบงาน)........เอาสีแมจิกบากไว้ตรงตำแหน่งลูกเบี้ยวขึ้นสูงสุดอีกครั้ง

ไปโรงกลึง...ทำเหมือนเดิม.....เอากลับมาประกอบใหม่.......สตาร์ทเครื่องยนต์อีกครั้ง.......มันจะติดให้1รอบงานแล้วดับลง-สาเหตุเพราะเมื่อเครื่องหมุนมาอีกรอบหนึ่ง....มันกลายเป็นจังหวะอัด(จังหวะดูดมันหายไป1รอบงาน)

วิธีสุดท้ายก็คือ......เอาสีแมจิกบากแต้มเป็นทางยาวหลังลูกเบี้ยวไอเสียที่เราเพิ่งทำมาใหม่....ให้ยาวไปตามแนวของมัน(ความยาวของการแต้มครั้งนี้จะต้องให้พร้อมกับการหมุนเพลาข้อเหวี่ยงด้วย.......อ่านให้เข้าใจนะครับ)

เนื่องจากข้อเหวี่ยงตัวล่างมันถูกเพิ่มขึ้นมาอีก1รอบจากการเปลี่ยนอัตราทดของเฟืองราวลิ้นตัวบน......เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำเพลาราวลิ้นไอเสียให้เปิดตลอดการหมุนของข้อเหวี่ยงตัวล่าง(คือยังไม่ให้มันแซงคิวจังหวะดูดก่อนเวลาที่เราเป็นผู้กำหนด)

เมื่อเราหมุนลูกสูบขึ้นและลงไปครบ1รอบแล้ว.....ตรงนี้คือจุดสิ้นสุดบทบาทของลูกเบี้ยวไอเสีย.....ให้ช่างเชื่อมลูกเบี้ยวมาถึงตรงนี้.....แล้วจึงปล่อยให้กระเดิ่องปิดวาว์วไอเสีย....สำหรับการเริ่มต้นในจังหวะดูต่อไป

ขยายภาพให้เห็นอีกนิดหนึ่งว่า.......ตัวลูกเบี้ยวไอเสียจะต้องยาวคล่อมจังหวะคาย+ขาก+ถุ้ย)......ไป3รอบงาน-กลวัตร6จังหวะของมันถึงจะเกิดได้ครับ
พอเข้าใจไหม......อาจจะยากไปหน่อยสำหรับผู้อ่านที่ไม่ใช่ช่าง เพราะในขณะที่คุณอ่านนี้จะต้องหลับตามองเห็นชิ้นส่วนที่ผมอธิบายถึงไปด้วย-ตรงนี้คือการอธิบายเชิงปฎิบัติการ.....ไม่งั้นผมจะเสียคน(ประเภทที่ว่าเขียนมั่วๆไปในลักษณะที่เกิดอาการคลุมเคลือ.....แต่เขียนแบบนี้จะชัดเจนดี.ขออภัยท่านที่ไม่ใช่ช่างและอ่านไม่เข้าใจครับ.....มันจะกลายเป็นเรื่องเถียงไม่ตรงประเด็นไปเหมือนที่ผ่านมา)

ส่วน8จังหวะนั้นก็ทำงานในแบบเดียวกัน.......แต่ผมใช้เฟืองราวลิ้นทดแบบซ้อนกัน2ชุดโดยอาศัยน็อตตัวกลางเสื้อสูบ(ที่มีลูกกลิ้งกันโซ่ตกร่องนั่นแหละ)เป็นตัวยึดเฟืองทดรอบ.....เมื่อมองจากภายนอกจะไม่มีใครรู้เลยว่าเครื่องยนต์ตัวนี้ลูกสูบวิ่งขึ้น-ลง8ครั้งต่อการจุดระเบิด1ครั้ง......

เรื่องที่เขียนกันให้อ่านกันนี้ผมเขียนด้วยความฉุกเฉิน จากสาเหตุที่อธิบายไปแล้ว.....ไว้ผมขายรถที่มีอยู่เต็มบ้านออกไปให้โล่งสักนิดแล้วจะเข้าไปรื้อเอาชิ้นส่วนที่กล่าวออกมาถ่ายรูปให้เห็นกันแบบไม่ปิดบัง

ตอนนี้ ผมประกอบรถที่บอกว่าทางซูซูกิให้ความอนุเคราะห์ขายรถแต่งโชว์มาได้5-6คันแล้ว......ตอนนี้ยังรอชิ้นส่วนบางอย่างที่ขาดตลาดอยู่...เสร็จเมื่อไหร่แล้วน้าหยอยจะให้เพื่อนพ้องน้องหลานซื้อทางหลังไมค์ในราคาถูกกว่ารถออกห้างประมาณ25-30%.....จดชื่อทะเบียนเป็นของผู้ซื้อเองเลยเด้อ

แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 54 12:51:58

จากคุณ : เคี้ยงโมโต
เขียนเมื่อ : 25 ก.ย. 54 11:45:57




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com