Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
รู้จักวัสดุในจักรยานของคุณ_คาร์บอน ไฟเบอร์,ไททาเนียมและอลูมิเนียม(4) ติดต่อทีมงาน

จักรยานสมัยใหม่และอุปกรณ์จักรยาน  สร้างขึ้นโดยกรรมวิธี  ใช้วัสดุที่ทำให้บริสุทธิ์ชั้นสูง   พร้อมกับชื่อวัสดุต่างๆ ที่เราจดจำและเรียกกัน  เป็นที่มาของรถที่ทำจากวัสดุบางชนิดในราคาที่สูงลิ่ว    

แต่เราไม่สนใจแหล่งกำเนิดและวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังวัสดุเหล่านั้น      บางครั้ง เข้าใจผิด   ในหน้าต่อไปนี้นักเขียนนิตยสาร Velo News  Buyer’s guide _2011  Lennard  Zinn  ตรวจสอบวัสดุต่างๆ  ที่ทำให้เราขับเคลื่อนไปบนล้อ

ตอนที่ 4: คาร์บอน ไฟเบอร์ :CARBON FIBER, ไททาเนียม :TITANIUM  อลูมิเนียม : ALUMINIUM
 
คาร์บอน ไฟเบอร์

คิดถึงการประกอบกระสวยอวกาศที่น่าทึ่ง  เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้,   ตอนนี้มีการนำคาร์บอน ไฟเบอร์ นำมาใช้ในการประกอบจักรยานทุกคัน  .เริ่มตั้งแต่เฟรมไปจนถึงส่วนประกอบของหมวก  และพื้นรองเท้า   .  

คาร์บอนไฟเบอร์  ประกอบด้วยคาร์บอน , ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง  ที่ก่อรูปเป็นถ่านหิน  กราไฟต์และเพชร  และเป็นส่วนประกอบทางเคมีของอินทรีย์สารและอยู่ในสิ่งมีชีวิตบนโลก.  คาร์บอน เป็นสารประกอบที่มีอยู่มากที่สุดเป็นลำดับ 4 ในเอกภพ และเป็นสารที่มีมากเป็นลำดับ 2 ในร่างกายมนุษย์

เพิ่มเติม (Carbon-fiber นั้นมีพื้นฐานมาจากพลาสติกธรรมดา เพราะมันคือ Polyacrylonitrile (โพลิอะคลิโลไนไทรล์) เรียกย่อๆ ว่า PAN   PAN   ก็คือต้นกำเนิดที่ใช้ในการผลิตผ้า เรยอง นั่นแหละ โดยเราจะเอาโมเลกุลที่ไม่มีความแข็งแรงเหล่านี้ มาเปลี่ยนแปลงการเรียงลำดับโครงสร้างทางเคมีกันใหม่ ซึ่งการผลิตเส้นใย carbon จาก PAN นั้นมี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. Oxidation   คือ  ขั้นตอนที่เอาเส้นใย   PAN มาเผาที่ความร้อนสูงถึง 3,000 องศาเซลเซียส จนเส้นใย PAN เปลี่ยนจากสีขาวกลายเป็นสีดำ โดยจะต้องเผาให้ทั่วจนถึงส่วนที่ลึกที่สุดของเส้นใย PAN   เมื่อจบขั้นตอนนี้จะได้ผ้า ‘Nomex’ หรือเสื้อกันไฟได้ แต่หากเราต้องการ carbon-fiber มันยังไม่พอ
2. Carbonisation  คือ การแยกธาตุทุกชนิดที่ไม่ใช่  carbon ออกจากเส้นใย PAN โดยวิธีแยกก็คือ นำไปเผาที่ความร้อน 10,000-30,000 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศไนโตรเจนด้วยความดันสูงมาก ไม่ใช่ที่บรรยากาศโลก หรือ สุญญากาศ โดยยิ่งเผาที่ความร้อนสูงเท่าไร carbon-fiber ก็จะยิ่งมีความแข็งแรงมากเท่านั้น
            3. Surface Treatment  คือการเคลือบผิวหน้าของเส้นใย ให้สามารถรวมตัวกันเป็นเส้นใยที่ใหญ่ขึ้นเพื่อนำไปใช้งาน โดยการเคลือบจะใช้สารประกอบโพลิเมอร์  ซึ่งสามารถยึดเกาะโครงสร้างเล็กๆ ให้สามารถคงรูปอยู่ได้ และทำให้เส้นใยมีความแข็งแรง    หากเคลือบไม่ดีเวลานำเส้นใยไปใช้อาจจะมีโพรงอากาศเกิดขึ้น และทำให้มันไม่แข็งแรง พูดง่ายๆ ก็คือเปราะ
            4. Surface Coating คือการเอา อีพ็อกซี่  มาเคลือบผิวเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีการหลุดรุ่ย เพราะ carbon-fiber ที่เรานำมาใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปผืนผ้า  ที่จะต้องนำมาตัดและขึ้นรูปกับแม่พิมพ์แล้วทำการหล่อเพื่อนำไปใช้งานอีกที โดยหากเราเคลือบไม่ดี เส้นใย carbon จะหักเป็นเศษเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และหากคุณสูดมันเข้าไปจะเป็นต้นเหตุของมะเร็งขั้วปอดได้ –ข้อมูลเพิ่มเติม จาก http://www.lancer-club.net/forum/index.php?topic=39851.0)

 
 

จากคุณ : Stuff_shirt
เขียนเมื่อ : 11 มิ.ย. 55 07:01:17




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com