 |
ตอบในทางกฎหมายค้ำประกัน ทำอะไรไม่ได้เลยครับ
ตอบในทางปฏิบัติของกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ ตามหาตัวให้เจอแล้วไปยกทรัพย์สินเขามาเพื่อใช้หนี้แทนครับ ยกมาให้ได้เท่าจำนวนหนี้รถ (ถ้ายังมีเหลือนะ)
ตอบในฐานะทนายนะครับ
ทีนี้ไฟแนนซ์ก็จะมาตามเอากับคุณ ก็บอกเขาไปครับว่าไม่มี
เขาก็จะฟ้องศาล
เวลาศาลส่งหมายนัดมาต้องไปตามนัดนะครับ
ไปถึงก็แถลงว่าไม่มีเงินใช้หนี้ มีเงินเดือนเท่านั้นเท่านี้ ต่อรองขอลดหนี้กับศาลเลยครับ จะขอผ่อนใช้เดือนเท่าไหร่ก็ว่าไปครับ ศาลท่านจะพิจารณาให้ตามฐานนุรูปครับ
ถ้าคุณไม่ใช้หนี้ให้ตามนั้น ก็จะถูกยึดทรัพย์ครับ
ขอเอาที่เขาลงไว้ในเวปแห่งนึงมาให้อ่านแทนนะครับ เพราะขี้เกียจพิมพ์ใหม่ครับ
การถูกยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน
การถูกฟ้องศาล... เรื่องร้ายจะกลายเป็นดี * เป็นการยืดเวลาเพื่อให้ลูกหนี้ได้ตั้งตัว ตั้งสติ * ลูกหนี้มีโอกาสต่อรองลดหนี้กับเจ้าหนี้ในศาลได้ * การบังคับคดีมีความเป็นธรรมมากกว่าการถูกทวงหนี้
การถูกยึดทรัพย์ เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป
1. ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต
2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้
หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน
การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากศาลตัดสินแล้ว เราควรติดต่อทนายโจทก์ว่าจะจ่ายอย่างไร จะผ่อนชำระหรือจ่ายงวดเดียวก็แล้วแต่จะตกลงกัน แต่หากลูกหนี้เพิกเฉยไม่ติดต่อ ไม่ยอมจ่ายเงิน หรือตกลงเรื่องการจ่ายเงินไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน และหากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2, 3, 4 ... จะทำเรื่องขออายัดซ้ำ้ไม่ได้ ต้องรอคิว ให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกินสิบปี หากเกินสิบปีก็จะหมดอายุความ .........................................................
เกณฑ์การอายัดเงินเดือนของกรมบังคับคดี หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 % *** ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- อายัดไม่ได้
*** ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10000 บาท เช่น - ลูกหนี้เงินเดือน 9,500 บาท ไม่ถูกอายัด - ลูกหนี้เงินเดือน 12,000 บาท ถูกอายัด 2,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,000 บาท - ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,500 บาท
***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่ กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้
*** การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่ง หรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้
2. เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %
3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 %
4. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง *** การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าจะสืบทราบหรือไม่และร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร่
5. บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้
6. เงิน กบข --- อายัดไม่ได้
7. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้
8. เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน
9.หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือ ถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
10. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้
11. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท ---หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์---กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล ใบหุ้นฯลฯ ของผู้ถูกอายัด .........................................................
การถูกอายัดเงินเดือน กรมบังคับคดีจะอายัด 30% จากเงินเดือนเต็ม ก่อนหักภาษี และประกันสังคม เช่น 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท จะเหลือเงินไว้ใช้ จ่ายภาษี ประกันสังคม ฯลฯ 10500 บาท .........................................................
จากคุณ |
:
สมัญตาชีวบุตร (omega_13)
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ส.ค. 55 15:39:24
|
|
|
|
 |